• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Monthly Archives: February 2010

ขอสินเชื่อ กู้เงิน จากสถาบันการเงิน

Posted on February 24, 2010 by piledriver

การขอสินเชื่อหรือการกู้เงินนั้น เราต้องวางแผนและคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ เพราะหากขาดการวางแผนที่ดีนั้น ก็จะเป็นการสร้างปัญหาและเป็นภาระทางการเงินที่เราต้องทนแบกรับไว้ ถ้าเรามีความจำเป็นต้องกู้ เราจะกู้เท่าไร ระยะเวลากู้นานแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยแบบไหนที่เหมาะกับเรา ผ่อนเท่าไร สถาบันการเงินที่เราจะกู้เราต้องเลือกสถาบันการเงินที่เราสะดวก มีเงื่อนไขที่ดีและให้ประโยชน์แก่เรามากที่สุด

เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการกู้ระหว่างสถาบันการเงินต่างๆ

1) เงินกู้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating rate loan) หมายถึงเงินกู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว คืออัตราดอกเบี้ยที่กำหนด
ณ ปัจจุบัน ตามประกาศนั้น ปีต่อมาอาจปรับเปลี่ยนขึ้นหรือลงได้ตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งการปรับใหม่นี้ ในบางปีอาจจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย หรือในบางปีอาจไม่มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยก็ได้ ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่สูงขี้น อาจส่งผลกระทบต่อผู้กู้กได้เพราะเงินงวดที่ชำระในแต่ละเดือนได้อาจต้องมีการปรับให้สูงขึ้น

2) เงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate loan) มีหลายแบบดังนี้
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้ หมายถึงเงินกู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือตายตัวตามประกาศของสถาบันการเงิน
ณ ขณะกู้ จะไม่มีการปรับเปลี่ยนขึ้นหรือลงตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งเงิน เงินงวดที่ชำระในแต่ละเดือนก็จะคงที่ตลอดระยะเวลากู้นานตามแต่ผู้กู้จะเลือก

– อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วงแรกจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว หมายถึงเงินกู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ระยะสั้นประมาณ 1-5 ปี หลังจากนั้น จะปรับเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งอาจจะสูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่เดิมก็ได้ ทั้งนี้ จะเป็นไปตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน ณ ขณะนั้น

– อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันใดในช่วงแรกจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว หมายถึงเงินกู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ระยะสั้นประมาณ 1-5 ปี แต่ในระหว่างนี้ อาจกำหนดคงที่แบบขั้นบันได เช่น คงที่ 3 ปี ปีแรกเท่ากับ 3.25% ปีที่สอง 4.25% ปีที่สาม 5.25% เป็นต้น หลังจากนั้น จะปรับเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งอาจจะสูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่เดิมก็ได้ ทั้งนี้ จะเป็นไปตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน ณ ขณะนั้น

3) เงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งและปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา (Rollover Mortgage Loan) หมายถึงเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่ง เช่น 3 ปี หรือ 5 ปี และปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา 3 หรือ 5 ปี ตลอดระยะเวลากู้นาน 25-30 ปี ตัวอย่างเช่น สินเชื่อเคหะรวมใจ ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
ปล่อยกู้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แต่ละช่วงจะคงที่โดยอิงกับต้นทุนพันธบัตรที่บวก 2.5% เช่น หากต้นทุนพันธบัตร 5% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเท่ากับ 7.5% เป็นต้น เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยจริงตามประกาศ
เมื่อคุณทราบประเภทเงินกู้แบบต่างๆที่สถาบันการเงินเสนอให้บริการแล้ว ต่อมาคุณจะต้องพิจารณา เปรียบเทียบ “อัตราดอกเบี้ยจริงตามประกาศ” ว่าที่ไหนให้เท่าใด สูงต่ำกว่ากันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไป หากเป็นเงินกู้ประเภทเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด ก็จะเป็นประโยชน์กับคุณมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ จะทำให้เงินงวดรายเดือนที่ผ่อนชำระต่ำตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การกู้เงินมิใช่การกู้ระยะสั้นเพียง 2-3 ปี เท่านั้น หากเป็นการกู้นานถึง 20-30 ปี ดังนั้น คุณจะต้องดูแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย หรือนโยบายสินเชื่อของสถาบันการเงินในระยะยาวด้วย นอกจากนั้น ยังต้องพิจารณาดูเงื่อนไขการกู้ การให้บริการ และค่าใช้จ่ายการกู้อื่นๆ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการกู้

ในการกู้เงิน นอกจากจะต้องดูเรื่องอัตราดอกเบี้ยแล้ว คุณจะต้องดูค่าใช้จ่ายต่างๆด้วย ได้แก่
– ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน โดยปกติ สถาบันการเงินจะมีการคิดค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินจะคิดไม่เท่ากัน

– ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ในปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะคิดค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ หรือ อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น ค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์สินเชื่อ ค่าธรรมเนียมการจัดการสินเชื่อ เป็นต้น แต่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไม่คิดค่าธรรมเนียมนี้

– ค่าธรรมเนียมจดจำนองกับกรมที่ดิน ในการกู้เงิน หลังจากได้รับเงินกู้แล้ว จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองกับกรมที่ดิน
ซึ่งผู้กู้มีภาระต้องจ่ายค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 ของวงเงินกู้ ตามกฎหมาย

– ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด (prepayment penalty) สถาบันการเงินส่วนใหญ่ จะคิดค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด โดยเฉพาะหากมีการชำระหนี้ทั้งหมด เพื่อปิดบัญชีและไถ่ถอนจำนองออกไปภายในระยะเวลา 3 ปีแรกของการกู้เงิน ทั้งนี้ แต่ละแห่งจะคิดมากน้อยแตกต่างกัน

เงื่อนไขการให้สินเชื่ออื่นๆ ได้แก่

– วงเงินกู้ โดยทั่วไป สถาบันการเงินจะให้กู้ประมาณร้อยละ 80 ของมูลค่าประเมิน หรือราคาซื้อขายบ้าน (สุดแล้วแต่ค่าใดจะต่ำกว่า)
อย่างไรก็ตาม การกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยบางประเภท เช่น เงินกู้สวัสดิการแก่พนักงานบริษัท ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ อาจจะมีการให้กู้สูงถึงร้อยละ 90 หรือ 100%

– ระยะเวลากู้ ในอดีตการกู้เงิน มักจะกำหนดระยะเวลากู้ได้นานประมาณ 15 – 20 ปี อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ธนาคารอาคารสงเคราะห์และสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะให้กู้ได้นานถึง 30 ปี ทั้งนี้ ยิ่งกู้นาน เงินงวดที่ผ่อนชำระรายเดือนก็จะยิ่งลดลง อย่างไรก็ตาม
สถาบันการเงินส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้ระยะเวลากู้เมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้ว ไม่เกิน 70 ปี เช่น หากอายุ 55 ปี จะกู้ได้สูงสุด 15 ปี เป็นต้น

– เงินงวดชำระหนี้ ปกติ เงินงวดชำระหนี้ มักจะกำหนดจ่ายเป็นเงินรายเดือนที่แน่นอน หากผู้กู้ชำระหนี้รายเดือนสม่ำเสมอ
เงินกู้นั้นจะหมดเมื่อครบสัญญากู้ อย่างไรก็ตาม กรณีกู้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว สถาบันการเงินบางแห่งอาจคิดเงินงวดเผื่อไว้ โดยการคำนวณเงินงวดจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าตามประกาศ เช่น อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ 6.5% ต่อปี เวลาคิดคำนวณเงินงวด อาจจะคิดที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 1-2% โดยคิดที่อัตราดอกเบี้ย 7.5% หรือ 8.5% เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้กู้ กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในภายหลัง ผู้กู้จะได้ไม่ต้องชำระเงินงวดเพิ่มขึ้น เพราะคิดเผื่อไว้แล้ว แต่หากอัตราดอกเบี้ยในภายหลังไม่เพิ่มขึ้น หรือกลับลดลง เงินงวดที่คุณชำระเกินไว้ ก็จะไปตัดหนี้เงินต้นมากขึ้นกว่าปกติ และจะทำให้หนี้เงินกู้หมดเร็วขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา

– การตัดเงินต้น-ตัดดอกเบี้ยของเงินงวด โดยทั่วไป เงินงวดที่ชำระหนี้รายเดือน จะประกอบด้วยดอกเบี้ยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน และเงินต้นบางส่วน ทั้งนี้ เงินงวดในปีแรกๆของการชำระหนี้ จะเป็นการชำระดอกเบี้ยเป็นส่วนใหญ่ และจะเป็นการตัดเงินต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในปีหลังๆ เงินต้นจะถูกตัดมากขึ้นตามลำดับ ทำให้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนค่อยๆลดลงตามลำดับ จนกระทั่งเป็นศูนย์ในปีสุดท้ายของสัญญากู้ ในกรณีที่ผู้กู้ กู้เงินแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว สถาบันการเงินมักจะเปิดโอกาสให้ผู้กู้สามารถชำระเงินงวดเพิ่มสูงกว่าปรกติได้
ซึ่งเงินที่ชำระเกินนั้น ก็จะไปตัดหนี้เงินต้นลง ซึ่งจะส่งผลให้หนี้เงินกู้หมดเร็วขึ้นกว่าที่กำหนดในสัญญา อย่างไรก็ตาม กรณีกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ โดยทั่วไป สถาบันการเงินมักจะกำหนดให้ชำระเท่ากันทุกเดือน ไม่สามารถชำระมากกว่าได้ การให้บริการของสถาบันการเงิน ในการเลือกกู้กับสถาบันการเงินใด นอกจากปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขต่างๆแล้ว ผู้กู้อาจจะพิจารณาปัจจัยประกอบด้านอื่นๆด้วย เช่น…

1) ความสะดวกในการยื่นกู้ ได้แก่ ผู้กู้สามารถเดินทางยื่นกู้ยังสำนักงานธนาคารหรือที่อื่นๆ ได้อย่างสะดวก ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
2) ความรวดเร็วในการอนุมัติกู้ ได้แก่ ผู้กู้สามารถทราบผลการยื่นกู้ หรือได้รับเงินกู้ได้รวดเร็วตามที่ต้องการ เช่น ในสองสัปดาห์ หรือเร็วกว่านั้น
3) ความสะดวกในการชำระหนี้เงินกู้ เช่น ผู้กู้สามารถชำระหนี้ผ่านบัญชีของสาขาธนาคารต่างๆได้อย่างกว้างขวาง
4) การต้อนรับและให้บริการที่ดีของพนักงาน เช่น การต้อนรับและอำนวยความสะดวกต่างๆของพนักงาน ความมีอัธยาศัยไมตรีที่ดี และการให้บริการต่างๆอย่างเต็มใจ รวดเร็ว และประทับใจ
5) การให้ความรู้และคำปรึกษาแนะนำดี เช่น การให้ความรู้ความเข้าใจ และคำแนะเกี่ยวกับการขอสินเชื่อในด้านต่างๆอย่าง จริงใจ และเป็นมิตรไมตรี
6) ชื่อเสียง ภาพพจน์ และความมั่นคงของธนาคาร ได้แก่ การมีภาพพจน์ที่ดี ความมีชื่อเสียงมายาวนานในการให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย และความมั่นคงของธนาคาร

4. การยื่นกู้ หลังจากที่คุณพิจารณาเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขการให้กู้ และการให้บริการต่างๆแล้ว คุณก็จะสามารถเลือกกู้กับสถาบันการเงินที่คุณพอใจต่อไป ซึ่งในการนี้ จะมีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
การเตรียมหลักฐานประกอบคำขอกู้ ในการกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน หรืออาคารชุด สถาบันการเงินมักจะกำหนดให้ผู้ขอกู้ จะต้องนำหลักฐานต่างๆต่อไปนี้โดยครบถ้วน ได้แก่

1) หลักฐานประจำตัว ได้แก่
– ทะเบียนบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือราชการ
– ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า หรือใบมรณะบัตร
– สำเนาเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)

2) หลักฐานเกี่ยวกับรายได้ ได้แก่
ก. ผู้มีรายได้ประจำ
– ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง
– สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
ข. ผู้มีอาชีพอิสระ
– สำเนาทะเบียนการค้า หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
– บัญชีเงินฝาก พร้อม statement บัญชีเงินฝากกระแสรายวันย้อนหลัง 6 เดือน
– หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ
3) หลักฐานเกี่ยวกับหลักทรัพย์และการซื้อขาย
– สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด
– แผนที่แสดงทำเลที่ตั้งของที่ดินหลักประกัน
– สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
– ถ้าเป็นการซื้อห้องชุด ต้องมีสำเนาหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอาคารชุด
– รายละเอียดทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง
4) หลักฐานอื่นๆ กรณีขอกู้เพื่อการปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร ต้องมี
– แบบก่อสร้างอาคาร
– หนังสืออนุญาตปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร
– หนังสือสัญญาจ้างปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร
กรณีกู้เพื่อไถ่ถอนจำนอง ต้องมี
– สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม
– statement การผ่อนชำระค่างวด ใน 6 เดือนสุดท้าย

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, สร้างบ้าน | Leave a comment |

งานพื้น คอนกรีต

Posted on February 12, 2010 by piledriver

งานพื้น นับว่าเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของบ้าน โดยปกติแล้ว คอนกรีตอัดแรง นั้น กำหนด มาตรฐานของการรับน้ำหนักไว้ที่ 15 เมกาปาสกาล (150 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ดูกฎกระทรวงเพิ่มเติมได้ ดังนั้นเวลาเลือกพื้นสำเร็จรูปต้องดูตรงนี้ด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้ว ก็ มากกว่า 150kg/sq.cm. อยู่แล้ว

หลักการ ก็ไม่ง่ายไม่ยาก ดูตามตารางนี้ได้เลย

ควร ไม่ควร
1.ตรวจร่องรอยการแอ่นตัวของพื้น
ขณะที่ทำการเทคอนกรีตทับหน้า ด้วย
1.สกัดหลังคานเพื่อปรับระดับการวางแผ่นพื้น
2.ทำค้ำยันกึ่งกลาง หากพื้นสำเร็จมีความยาวแผ่นพื้นเกินกว่า 4.00 เมตร 2.เทคอนกรีตทับหน้าหนากว่าที่กำหนด
3.พื้นชั้นล่างควรผสมน้ำยากันซึม
เพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดิน
 
Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: Add new tag, concrete, floor, reinforced concrete, การก่อสร้าง, คอนกรีต | Leave a comment |

การขออนุญาตปลูกอาคารหรืออื่นๆล่วงล้ำแม่น้ำ

Posted on February 12, 2010 by piledriver

สิ่งปลูกสร้างใดบ้าง ที่เราสามารถทำการขออนุญาตปลูกสร้างล่วงล้ำแม่น้ำได้ และต้องเตรียมเอกสารใดบ้างใช้เป็นหลักฐานในการขออนุญาต ยู-ด้า ปั้นจั่น จึงขอให้ท่านที่มีพื่นที่ติดแม่น้ำ ลำคลอง ได้ศึกษา กฎหมายข้างล่างนี้ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนก่อนที่ปลูกสิ่งก่อสร้างใด ๆลงไป (กฏกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 )
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 117 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2535 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้

“ล่วงล้ำลำแม่น้ำ” หมายความว่า ล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำของแม่น้ำ ลำคลองบึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย หรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว

ข้อ 2 ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนด โดยระบุวัตถุประสงค์ในการใช้อาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ขออนุญาต พร้อมด้วยหลักฐานและเอกสาร ดังต่อไปนี้

(1) ทะเบียนบ้านและภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือภาพถ่ายบัตร ประจำตัวข้าราชการ หรือภาพถ่ายบัตรแสดงฐานะอย่างอื่นที่ออกโดยส่วนราชการ

(2) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง หรือเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินที่ติดต่อกับแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทยหรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว

(3) แบบแปลนและรายละเอียดของอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ขออนุญาตปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำ ต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้รับรอง เว้นแต่อาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ขออนุญาตปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำนั้นจะมีขนาดเล็ก และโครงสร้างทำด้วยไม้หรือวัสดุอื่นที่ไม่คงทนถาวร ไม่จำเป็นต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธารับรอง

(4) แผนผังแสดงบริเวณที่ขออนุญาตและบริเวณใกล้เคียง ที่จะปลูกสิ่งก่อสร้าง

(5) หนังสือของจังหวัดที่อาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ขออนุญาตปลูกสร้างล่วงล้ำลำแม่น้ำตั้งอยู่รับรองว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อแผนพัฒนาจังหวัด ผังเมือง และการรักษาสภาพแวดล้อมของจังหวัด

(6) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

(7) หลักฐานหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นคำขอพร้อมสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน นิติบุคคลที่ระบุชื่อผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล และหลักฐานเอกสารตามวรรคหนึ่ง (2) (3) (4) (5)และ (7)

ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานและเอกสารตาม (3) (4) (5) และ (6)

ข้อ 3 ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง หรือเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินที่ติดต่อกับแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทยหรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว

ข้อ 4 ลักษณะของอาคารและการล่วงล้ำที่พึงอนุญาตได้ มีดังต่อไปนี้

(1) ท่าเทียบเรือ

ก. ต้องมีโครงสร้างที่ไม่ทำให้ทิศทางการไหลของน้ำเปลี่ยนแปลง มีช่องโปร่งระหว่างเสาไม่น้อยกว่า 3 เมตรพื้นท่าเทียบเรือในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ข. ต้องไม่มีลักษณะเป็นแผ่นคอนกรีตปิดทับตลอด ให้มีช่องว่างเพื่อให้แสงแดดส่องผ่านถึงพื้นน้ำใต้ท่าได้ และไม่มีสิ่งก่อสร้างอื่นใดบนพื้นท่าเทียบเรือ นอกจากสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นอันเป็นส่วนประกอบของท่าเทียบเรือนั้น

ค. ปลายสุดของท่าเทียบเรือต้องไม่เกินแนวน้ำลึกหน้าท่าเมื่อน้ำลงต่ำสุด ลึกกว่าอัตรา กินน้ำลึกเต็มที่ของเรือที่เข้าเทียบท่าตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงขนาดเรือและลักษณะภูมิประเทศ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1 ใน 3 ของความกว้างของแม่น้ำ

ง. ต้องสร้างตามแนวเขตที่ดินที่ผู้ขออนุญาตมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองเป็นแนวตรงยื่นจากฝั่ง

จ. ท่าเทียบเรือที่ผ่านชายหาดต้องไม่ปิดกั้นการที่ประชาชนจะใช้สอย หรือเดินผ่านชายหาด

(2) สะพานปรับระดับและโป๊ะเทียบเรือ

ก. สะพานปรับระดับต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับโป๊ะเทียบเรือ มีราวลูกกรงที่แข็งแรงทั้งสองด้าน และความลาดชันของสะพานต้องไม่มากกว่า 1:2 เมื่อน้ำลงต่ำสุด

ข. โป๊ะเทียบเรือต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน และมีความปลอดภัย มีอัตราการลอยตัวสูง โดยเมื่อรับน้ำหนักสูงสุดแล้ว

ค. พื้นของโป๊ะเทียบเรือต้องอยู่สูงจากระดับน้ำไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และมีราวลูกกรงที่แข็งแรงทุกด้าน ยกเว้นด้านที่เรือเทียบและส่วนที่ต่อกับสะพานปรับระดับ

(3) สะพานข้ามแม่น้ำหรือสะพานข้ามคลอง

ก. ต้องมีโครงสร้างที่ไม่ทำให้ทิศทางการไหลของน้ำเปลี่ยนแปลง

ข. ต้องมีความสูงและความกว้างของช่องลอดใต้สะพานตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(4) ท่อหรือสายเคเบิล

ก. การวางท่อหรือสายเคเบิลผ่านชายหาดของทะเลหรือชายตลิ่ง ต้องฝังท่อหรือสายเคเบิลใต้พื้นดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร โดยมิให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อหรือสายเคเบิลพ้นขึ้นมาเหนือพื้นดิน

ข. การปักเสาไฟฟ้าพาดสายเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือเพื่อการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและการปักเสาวางท่อน้ำประปาหรือเพื่อการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันให้ปักเสาให้ชิดแนวขอบฝั่งมากที่สุด เพื่อมิให้กีดขวางทางเดินเรือ

(5) เขื่อนกันน้ำเซาะ

ก. ต้องมีรูปแบบที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่องน้ำ ตลิ่ง และบริเวณข้างเคียง

ข. ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงและอยู่ในแนวฝั่งเดิมมากที่สุด หากมีส่วนที่ยื่นเข้าไปในน้ำให้มีเฉพาะส่วนที่จำเป็น

ค. ความลาดชันของเขื่อนกันน้ำเซาะไม่เกิน 1:3 โดยแนวสันเขื่อนด้านบนต้องอยู่ที่แนวกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดิน สำหรับบริเวณลำน้ำที่แคบหรืออาจเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ เขื่อนต้องมีลักษณะตั้งตรงและไม่มีความลาดชันยื่นออกมา

(6) คานเรือ

แนวรางรองรับเรือต้องยาวยื่นจากฝั่งเพียงพอที่จะชักลากเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่คานเรือนั้นจะสามารถรับซ่อมทำได้ในเวลาน้ำลงต่ำสุด

(7) โรงสูบน้ำ

ก. โรงที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ต้องอยู่บนฝั่งหรืออยู่ใกล้ฝั่งมากที่สุด

ข. การต่อท่อสูบน้ำ เมื่อต่อเชื่อมกับเครื่องสูบน้ำแล้วต้องวางขนานกับแนวเสาของโรงสูบน้ำจนถึงพื้นดิน แล้วจึงวางนอนไปตามแนวพื้นดินใต้น้ำ และปลายท่อต้องอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำลงต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1 เมตร

ข้อ 5 เจ้าท่าอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ไม่มีลักษณะตามข้อกำหนดในข้อ 4 เป็นการเฉพาะรายได้ และเมื่อเจ้าท่าได้อนุญาตแล้ว ให้ประกาศลักษณะของอาคารหรือลักษณะของการล่วงล้ำลำแม่น้ำนั้นในราชกิจจานุเบกษาและให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ในการอนุญาตต่อไปได้

ข้อ 6 อาคารและการล่วงล้ำลำแม่น้ำนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ 4 และข้อ 5 จะอนุญาตไม่ได้ เว้นแต่เป็นของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจและปลูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

ข้อ 7 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำมีดังต่อไปนี้

(1) ลักษณะหรือสภาพของอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำต้องไม่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือหรือทำให้ทางน้ำเปลี่ยนแปลงไป หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

(2) อาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำที่จะอนุญาตให้ปลูกสร้างได้ ต้องมีลักษณะของอาคารและการล่วงล้ำที่พึงอนุญาตได้ตามข้อ 4 และข้อ 5

(3) อาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำที่จะอนุญาตให้ปลูกสร้างได้ ต้องไม่อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีประกาศของกรมเจ้าท่าห้ามปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ ประกาศดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(4) การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ล่วงล้ำลำแม่น้ำ ให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นและสมควร เฉพาะตามวัตถุประสงค์ในการใช้อาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ล่วงล้ำลำแม่น้ำนั้น

(5) การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ล่วงล้ำลำแม่น้ำต้องไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

ข้อ 8 เมื่อเจ้าท่าได้รับคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำแล้ว ให้ เจ้าท่าตรวจสอบว่าผู้ขออนุญาตยื่นหลักฐานและเอกสารครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต

ในกรณีที่เจ้าท่าเห็นว่าอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นกรณีที่ไม่อาจอนุญาตได้ ให้เจ้าท่าแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต

ในกรณีที่เจ้าท่าเห็นว่าผู้ขออนุญาตยื่นหลักฐานและเอกสารไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง และเป็นกรณีที่อาจอนุญาตให้ปลูกสร้างได้ ให้เจ้าท่ามีอำนาจสั่งให้ผู้ขออนุญาตส่งหลักฐานและเอกสารให้ครบถ้วนหรือให้ถูกต้องภายในเวลาที่เจ้าท่ากำหนด

ให้เจ้าท่าตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับหลักฐานและเอกสารครบถ้วนและถูกต้องจากผู้ขออนุญาต

ข้อ 9 ให้เจ้าท่ากำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสมและจำเป็น เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลประโยชน์ของประชาชน

ข้อ 10 ผู้รับอนุญาตต้องเริ่มดำเนินการปลูกสร้างภายในสิบสองเดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ถ้าผู้รับอนุญาตไม่เริ่มดำเนินการปลูกสร้างภายในเวลาดังกล่าว ให้ใบอนุญาตเป็นอันสิ้นผล

ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่อาจเริ่มดำเนินการปลูกสร้างภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ผู้รับอนุญาตอาจยื่นคำขอขยายระยะเวลาเริ่มดำเนินการปลูกสร้าง ต่อเจ้าท่าตามแบบที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนดได้

เมื่อเจ้าท่าได้รับคำขอตามวรรคสองแล้ว ให้พิจารณาคำขอพร้อมเหตุผลในการขอขยายระยะเวลา เมื่อเห็นเป็นการสมควรให้เจ้าท่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละหกเดือนแต่ไม่เกินสองครั้ง

ข้อ 11 ผู้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ ผู้ใดประสงค์จะโอนสิทธิในการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ ให้ผู้นั้นหรือผู้รับโอนแจ้งให้เจ้าท่าทราบ โดยยื่นหลักฐานการโอนสิทธิและหลักฐานและเอกสารตามข้อ 2 (1) และ (2) ต่อเจ้าท่าด้วย

เมื่อเจ้าท่าได้รับแจ้ง และตรวจสอบหลักฐานเห็นว่าถูกต้องแล้ว ให้ออกหนังสือรับทราบการโอนสิทธิดังกล่าว และเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าตอบแทนให้ถือว่าผู้รับโอนสิทธิเป็นผู้รับอนุญาต

ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่ผู้รับอนุญาตตายด้วยโดยอนุโลม

ข้อ 12 การยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำและการแจ้งการโอนสิทธิในการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ ให้ยื่น ณ กรมเจ้าท่า หรือยื่นที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค หรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ซึ่งอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำที่ขออนุญาตปลูกสร้างตั้งอยู่ในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่านั้น ๆ ก็ได้

ข้อ 13 ผู้ใดปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต ถ้าได้เสียค่าปรับอย่างสูงตามกฎหมายและได้ยื่นคำขออนุญาตภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้เจ้าท่าพิจารณาอนุญาตได้โดยมิให้นำข้อ 6 และข้อ 7 (2) มาใช้บังคับ แต่ในกรณีที่อาคารหรือสิ่งอื่นใดดังกล่าวมีลักษณะหรือสภาพเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ หรืออาจทำให้ทางน้ำเปลี่ยนแปลงไป หรือเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เจ้าท่าจะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอน ปรับปรุง หรือแก้ไขอาคาร หรือสิ่งอื่นใดนั้นก่อนก็ได

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, สร้างบ้าน | Leave a comment |

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver