• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Monthly Archives: January 2013

การวางผัง ก่อนก่อสร้าง

Posted on January 6, 2013 by piledriver

การวางผัง คือ การกำหนดตำแหน่งของสิ่งก่อสร้างที่จะสร้าง สิ่งก่อสร้างจะอยู่ ซ้าย ขวา หน้า หลัง ของที่ดินที่เราจะสร้าง ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของบ้านหรือเจ้าของอาคาร และความเหมาะสมของสถานที่เป็นสำคัญ ปกติแล้วงานก่อสร้างต้องมีแบบก่อสร้างเพื่อให้ช่างหรือวิศวกรทำงานไปตามแบบ และหลักการก่อสร้าง หน้าที่ของช่างหรือวิศวกรที่ควบคุมงานก่อสร้างจะต้องอ่านแบบให้เข้าใจ หากแบบไม่ชัดเจนหรือขาดสิ่งใดไปก็ต้องรีบสอบถามวิศวกรผู้ออกแบบ เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินอย่างถูกต้อง

การวางผังควรตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดินกับโฉนดที่ดินว่าครบถ้วนตามแบบหรือไม่ ผังก่อสร้าง ตำแหน่ง ทิศทาง แนวฉากเทียบกับแนวที่จะใช้อ้างอิง (จะให้ตั้งฉากกับแนวถนน ซึ่งเป็นแนวที่ดินด้านหน้า หรือตั้งฉากกับแนวที่ดินด้านข้าง) และส่วนที่ยื่นขององค์ประกอบอาคารตามแบบ กับแนวเขตที่ดิน ให้ถูกต้องตามแบบก่อสร้าง

การวางผังสำหรับบ้านหรืออาคารที่พักอาศัย นิยมทำกัน 2 แบบ คือ การวางผังโดยใช้ กฏ 3 : 4 : 5 กับการวางผังโดยใช้กล้องทีโอไลท์

ขั้นตอนการตีผังมีขั้นตอนการทำดังนี้

1 การกำหนดระยะการวางผัง จะต้องดูแบบของฐานรากตัวริมของอาคารและชายคาหรือส่วนที่ยื่นออกจากตัวอาคารว่ามีระยะเท่าใด

2 เมื่อรู้ความกว้างของฐานรากและส่วนที่ยื่นออกนอกตัวอาคารแล้ว ก็ต้องพิจารณาความลึกของฐานรากเพื่อดูว่าต้องเผื่อระยะในการขุดดิน ซึ่งในการขุดดินนั้นเราต้องสังเกตว่าดินมีลักษณะเป็นอย่างไร ดินทราย ดินเหนียว ดินเหนียวแข็ง ดินแข็ง หรือเป็นหิน ดังนั้นเพื่อป้องกันดินพังในการขุดดินต้องมีความลาด (Slope) เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเป็นดินอ่อนหรือดินเหลวควรให้มีความลาด 45-60 องศา ส่วนดินแข็งควรให้มีความลาด 60-75 องศา และดินลูกรังหรือหินอาจไม่ต้องการความลาด

3 ต้องเผื่อระยะจากริมฐานรากถึงแนวดินขุดเพื่อสำหรับติดตั้งแบบหล่อ และค้ำยันแบบหล่อฐานรากอีกด้านละประมาณ 20-30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดฐานราก

4 เมื่อได้ระยะที่จะวางผังแล้ว สร้างแนวอาคารให้สอดคล้องตามแบบก่อสร้าง และพื้นที่โดยการกำหนดด้านเริ่มของผังอาคาร ใช้กล้อง Theodolites หรือ ใช้กฎ 3 : 4 : 5 สร้างมุมฉาก

5 จากนั้นตอกหลักผัง ต้องตอกให้สูงกว่าระดับพื้นดินเดิม ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไปสามารถทำงานได้สะดวก ต้องคำนึงถึงลักษณะดินว่าเป็นดินชนิดใดเพื่อกำหนดความยาวหลักผัง ซึ่งจะสามารถตอกหลักผังให้แน่นและมั่นคงไม่เกิดการเคลื่อนที่ในภายหลัง

6 เมื่อตอกหลักผังเสร็จแล้ว จะต้องตีผังนอนให้สูงกว่าระดับดินเดิม โดยดูจากแบบก่อสร้างเมื่อรู้ความสูงที่แน่นอนแล้วจึงค่อยตีผังนอน เป็นการเสร็จสิ้นการวางผังดังเห็นได้จากภาพที่ 4.5 แต่ถ้าให้แข็งแรงยิ่งขึ้นควรมีค้ำยันบ้าง

ระดับดินเดิม จะถูกกำหนดได้หลายวิธี อาจปรากฎในแบบก่อสร้างหรือรายการประกอบแบบก็ได้ ดังนี้

6.1 ให้ถือระดับดินที่ถมไว้เป็นระดับดินเดิม

6.2 เจ้าของ สถาปนิก หรือวิศวกร เป็นผู้กำหนดระดับดินเดิมได้

6.3 เปรียบเทียบกับระดับพื้นที่ข้างเคียงหรือถนนบริเวณที่จะก่อสร้างโดยอาจกำหนดให้สูงกว่าระดับที่เปรียบเทียบ 20-30 ซม.

6.4 ให้ใช้ระดับถนนใหญ่เป็นระดับมาตรฐานแล้วให้ระดับดินเดิมต่ำกว่า 10-20 ซม.

บทความโดย : รณวิทย์ หลินมา

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ภาพ เสาเข็มตอก

Posted on January 3, 2013 by piledriver

dsc083222

Posted in Uncategorized | Leave a comment |

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver