• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Monthly Archives: January 2014

เสาเข็มเจาะ (ตรวจความสมบูรณ์เสาเข็ม)

Posted on January 3, 2014 by piledriver

บทคัดย่อ 

การตรวจความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะทางอ้อมโดยวิธี โซนิก อินเทก ‘ กริที เทสท์ (Sonic Integrity Test) หรือที่รู้จักกันในชื่ออื่นว่า Seismic Test หรือ Echo Test นั้น ได้รับความนิยมทั่วโลก เพราะสามารถตรวจได้รวดเร็วและราคาไม่แพง แต่มีข้อจำกัดที่ต้องดำเนินการโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่รอบรู้ท ั้งงานเสาเข็มและชั้นดินจึงจะ วิเคราะห์และแปลคลื่นสัญญาณออกมาได้ถูกต้องน่าเชื่อถือ ซึ่งในหลายประเทศได้ป้องกันความผิดพลาดโดยการจัดทำข้อกำหนดมาตร ฐานการตรวจสอบ และการวิเคราะห์ไว้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่มีการใช้เสาเข็มเจาะกันมากประเทศหนึ ่งในโลก แต่ยังไม่มีสถาบันทางวิศวกรรมกำหนดหรือควบคุมการตรวจสอบ ให้การรับรองหรือกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบและวิเคราะห์การตร วจสอบโดยวิธีนี้ไว้ทำให้ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ไม่เพียงพอเสนอตัวเข้ามาทำการ ตรวจสอบ และพบว่ารายงานสรุปการตรวจสอบในหลายกรณีโดยผู้มีประสบการณ์ไม่เ พียงพอให้ผล ไม่สอดคล้องกับสภาพจริง (Features) ของตัวเสาเข็ม บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อแนะนำ วิธีการวิเคราะห์และการแปลสัญญาณจากแหล่งต่างๆตลอดจนจากประสบการณ์บางส่วนของผู้เขียนเอง เพื่อให้ผู้ที่อาจเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโดยวิธีนี้นำไปใช้พิจ ารณาประกอบการ วิเคราะห์และสรุปผลตามควรแก่กรณี 

1.บทนำ 
การตรวจสอบความสมบูรณ์ (Integrity) ของเสาเข็มโดยใช้วิธีLow – Strain Sonic Integrity Testing (LST) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบทางอ้อม (Indirect Testing) ได้รับความนิยมแพร่หลายระบบหนึ่งเนื่องจากตรวจได้รวดเร็วและราค าประหยัด แต่การวิเคราะห์ผลต้องอาศัยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ทั้ง เรื่องเสาเข็มและ สภาวะของชั้นดินที่อาจมีอิทธิพลต่อคลื่นสัญญาณสะท้อนกลับที่ตรว จจับได้โดย Sensor ที่หัวเสาเข็ม ซึ่งอาจมีสาเหตุทั้งที่เกิดจากสภาพโครงสร้างของเสาเข็มเอง(Structural Conditions) หรือจากสภาพชั้นดิน (Geotechnical Condition) รอบเสาเข็มอยู่ก็ได้ หากการวิเคราะห์กระทำอย่างง่ายๆ โดยผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์ที่จำกัดแล้ว การแปลสัญญาณอาจผิดพลาดไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจากเสาเข็มเจาะมีราคาต้นละหลายหมื่นถึงหลายแสนบาท ผู้เกี่ยวข้องจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการว่าจ้างผู้ตรวจสอบโ ดยไม่ควรพิจารณาเฉพาะราคาเท่านั้น ในหลายประเทศมีการป้องกันโดยกำหนดมาตรฐานการทดสอบไว้ เช่น AS 2159-1955 Section 8.5[3] , อเมริกามี ASTM D 5882[1] , จีนมี JGJ / T93-95[4] , ฝรั่งเศล มี Norme Francaise NFP94-160-2[7] , สหราชอาณาจักร มี ICE Specification for Piling [5] ,เยอรมัน มี German Society for Geotechiques E.V. Dynamic Pile Integrity Tests – Draft[6] เป็นต้น บทความนี้จึงรวบรวมข้อแนะนำจากแหล่งต่างๆ ร่วมกับประสบการณ์ของผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเสาเข็ มโดยวิธีนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยจะกล่าวถึงตัวแปรต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อคลื่นสัญญาณที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมใน การสรุปผลการตรวจความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะ ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของตัวเข็ม 

2.คำจำกัดความต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Sonic Integrity Test 
Pile Integrity ; คือ การประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของรูปร่างเสาเข็ม , ความต่อเนื่องของตัวเสาเข็มและคุณภาพของคอนกรีตที่ใช้หล่อตัวเส าเข็ม โดยใช้คลื่นสั่นสะเทือน (Stress Wave) วิ่งผ่านคอนกรีตสู่ด้านล่างและจับคลื่นที่สะท้อนกลับมาที่หัวเส าเข็มโดยอุปกรณ์ตรวจจับ (Sensor) ที่ติดตั้งไว้ที่หัวเสาเข็ม การสะท้อนกลับของคลื่นสัญญาณที่จับได้อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยน แปลงของชั้นดินได้เช่นกัน 

Impedance , (Z) ; คือ พฤติกรรมการตอบสนองของเสาเข็มต่อการเคลื่อนที่ของคลื่นสั่นสะเท ือน (Stress Wave) ที่เกิดจากการกระตุ้นทางกลให้กระจายผ่านในวัสดุเสาเข็มเป็นสำคั ญ หากคุณสมบัติของวัสดุเสาเข็มมีการเปลี่ยนแปลงค่าอิมพีแด๊นจะเปล ี่ยนแปลงไปด้วย และจะมีผลต่อการกระจายหรือการสะท้อนกลับของคลื่นในเสาเข็มที่หน ้าตัดและคุณสมบัติของ คอนกรีตสม่ำเสมอตลอดทั้งต้นจะมีค่าอินพีแด๊นที่คงที่ไม่เปลี่ยน แปลง ค่าImpedance , (z) สำหรับ Low Strain Integrity Test จะหาได้ตามสมการที่ (1) 

Pile Defect ; หมายถึง เสาเข็มที่ก่อสร้างแล้วมีโครงสร้างไม่เป็นตามที่กำหนดไว้ หากเกิดขึ้นอย่างเด่นชัด (Major Defect)แล้วอาจกระทบต่อการรับน้ำหนักทั้งระยะสั้นและยาวได้ ในเสาเข็มเจาะอาจยอมให้มีความไม่สมบูรณ์ส่วนน้อย (Minor Defect)เกิดได้โดยจะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงในการรับน้ำหนักที่ออกแบ บไว้ Turner , [10] 

3.หลักการในการตรวจสอบ 
การทดสอบกระทำโดยใช้ฆ้อนขนาดเล็ก เคาะคอนกรีตที่หัวเสาเข็มและ จับคลื่นสะท้อนกลับโดย Sensor ที่หัวเสาเข็ม ตามรูปที่ 1 แรงจากค้อนขนาดเล็กที่เคาะ จะก่อให้เกิดคลื่นสั่นสะเทือน (Compressive shock wave)เคลื่อนลงสู่ปลายด้านล่างและ สะท้อนกลับขึ้นสู่หัวเสาเข็มทั้งหมด หรือแต่เพียงบางส่วนซึ่ง จะขึ้นอยู่กับค่า Impedance ว่าเกิดมีการเปลี่ยนแปลง ที่ปลายเสาเข็มหรือจาก ตำแหน่งใดๆ ในตัวเสาเข็มหรือไม่ หรือจากสภาพของตัวเสาเข็มเอง การที่คลื่น Stress wave เคลื่อนที่ผ่านไปตามวัสดุตัวเสาเข็ม ด้วยอัตราความเร็ว c , ใช้เวลาเข้ากับ t (คิดจากเวลาที่เริ่มเคาะถึงเวลาที่คลื่น สะท้อนกลับถึงหัวเสาเข็ม) ทำให้สามารถหาระยะทางที่คลื่น Stress waveเดินทางได้จากสมการ t = 2L/c หรือ L = c.t /2 โดย L คือระยะทางจากหัวเสาเข็มถึง ระดับที่คลื่นสะท้อนกลับ ถ้าประเมินค่า c ได้ใกล้เคียงและบันทึกเวลา t ไว้ได้ถูกต้องก็จะคำนวณหาความยาวของ เสาเข็มหรือระดับที่คลื่นสะท้อนกลับได้ ซึ่งสามารถนำมาเทียบกับข้อมูลที่ก่อสร้างไว้ หากการเปรียบเทียบได้ความยาวตรงกันจะ ทำให้หาระดับที่คลื่นสะท้อนกลับที่จุดใดๆได้ถูกต้องด้วย แต่หากการเปรียบเทียบขัดแย้งกันมากจะต้อง ทำการตรวจสอบหาสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อแตกต่างนี้ โดยอาจจะเป็นผลกระทบจากสภาพของเสาเข็ม (Feature) หรือจากเรื่องอื่นๆ เช่นสภาวะชั้นดิน เป็นต้น 

4.การเคลื่อนที่ของคลื่นสัญญาณในตัวเสาเข็ม 
Low Strain Integrity Test (LST) คือ การตรวจสอบที่ใช้การวิเคราะห์คลื่นสะท้อนกลับขึ้นสู่หัวเสาเข็ม เป็นหลัก โดยทั่งไปคลื่นจะสะท้อนกลับจากระดับที่เกิดมีการเปลี่ยนแปลง เช่น คุณสมบัติของวัสดุ ขนาดของหน้าตัด หรือจากระบบของการยึดเกาะกันของเสาเข็มกับดินโดยรอบ (Pile – Soil System) เสาเข็มแม้จะฝังในชั้นดินที่มีคุณสมบัติสม่ำเสมอเป็นชนิดเดียวก ัน (Uniform Homogeneous Soils) แต่การเดินทางของคลื่นลงสู่เบื่องล่างก็ยังมีปัจจัยหรืออิทธิพล เกี่ยวข้องได้อีก คือ (ก) คุณสมบัติของวัสดุเสาเข็มเอง (ข) ความอ่อนหรือแข็ง (Stiffness) ของชั้นดิน (ค) ความไม่สม่ำเสมอของรูปทรงภายนอกหรือคุณสมบัติภายในของเสาเข็ม เป็นต้น เสาเข็มที่มีอิมพีแด๊นสม่ำเสมอไม่เปลี่ยนแปลงแต่ถ้ามีความยาวมา กๆ แล้วคลื่นสัญญาณมักไม่มีการสะท้อนกลับมาที่หัวเสาเข็มแต่จะซึมซ ับหายเข้าไปในชั้นดิน ส่วนเสาเข็มที่ฝังในชั้นดินที่มีคุณสมบัติไม่สม่ำเสมอ (None Homogeneous Soils) นั้น อิทธิพลของชั้นดินจะมีผลต่อ Stress waveได้ เช่น ชั้นดินเปลี่ยนดินเหนียวอ่อน เป็นดินเหนียวแข็งจะทำให้คลื่นเกิดสะท้อนกลับแต่เพียวบางส่วนหร ือทั้งหมด ในลักษณะคล้ายกับอิมพีแด๊นของเสาเข็มเกิดการเปลี่ยนแปลง 

การเปลี่ยนแปลงของอิมพีแด๊นจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทั้งของเสาเข ็มและของชั้นดิน ดังนั้นแม้ว่าจะพบการเปลี่ยนแปลงของอิมพีแด๊น แต่ก็ยังสรุปโดยทันทีไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีสาเหตุตายตั วมาจากข้อหนึ่งหัวข้อใด เช่น (ก) ขนาดเสาเข็ม (ข) คุณภาพวัสดุเสาเข็ม หรือ (ค) เปลี่ยนแปลงของชั้นดิน แต่ต้องนำมาข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาพิจารณาประกอบอย่างละเอียดก่อนทำการตัดส ินใจสรุป 

5.การแยกหมวดหมู่ของคลื่นสัญญาณทดสอบที่ตรวจจับได้ 
เนื่องจากอิมพีแด๊นอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้จากสาเหตุหลายป ระการดังนั้นเพื่อให้การวิเคราะห์และแปลความหมายทำได้ง่ายและถูกต้อง มากขึ้นTurner , [10] จึงได้เสนอการจัดหมวดหมู่ของคลื่นสัญญาณสะท้อนกลับที่ตรวจจับได ้ที่หัวเสาเข็มไว้เป็น 3 ประเภท คือ 

5.1 Type O Signal : เป็นคลื่นสัญญาณที่ไม่สามารถตรวจจับคลื่น ที่สะท้อนกลับมาจากปลายเสาเข็มได้ เนื่องจากคลื่นสัญญาณถูกซึมซับ (Damping Effect) โดยชั้นดินรอบ ๆ เสาเข็มจนเจือจางมากทำให้ไม่สามารถสังเกต เห็นได้จากอุปกรณ์ตรวจจับ ดังนั้นคลื่นสัญญาณที่ตรวจจับได้นี้จะบอกเป็น นัยว่าในระดับความลึก ประสิทธิผลที่คลื่นสามารถผ่านลงไปได้นั้น ไม่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าอิมพีแด๊น ของตัวเสาเข็มมากพอ ที่จะสามารถตรวจจับได้จากการทดสอบ แสดงว่าเสาเข็มไม่มีปัญหา และคลื่นสัญญาณชนิดนี้ตาม รูปที่ 2 

5.2 Type 1 Signal : แสดงคลื่นสัญญาณสะท้อนกลับให้เห็น อย่างชัดเจนหนึ่งตำแหน่ง แสดงว่าเสาเข็มต้นที่ทดสอบนี้ค่าอิมพีแด๊น มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนอยู่หนึ่งตำแหน่งซึ่ง อาจเป็นที่ตำแหน่งปลายเสาเข็มหรือ ระดับความลึกอื่นในตัวเสาเข็ม แล้วแต่กรณีโดยไม่ปรากฏว่ามีคลื่นสะท้อนอื่น ๆ ที่สำคัญให้เห็นในสัญญาณทดสอบอีก (คลื่นสะท้อนอื่น ๆ ที่สำคัญ หมายถึง คลื่นสะท้อนที่มีระดับความเข้มประมาณ 50% ของคลื่นสะท้อนจากปลายเสาเข็ม) สัญญาณ Type 1 Signal ตามรูปที่ 3 นี้ คล้ายกับสัญญาณปกติตามทฤษฎี และสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก ในกรณีที่อิมพีแด๊นเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างมากหรือคอนกรีตตัวเสาเข็ม ขาดความต่อเนื่องคลื่นสัญญาณจะ เกิดการสะท้อนกลับซ้ำที่ตำแหน่งเดิม โดยจะแสดงให้เห็นจากคลื่นสัญญาณสะท้อนซ้ำๆเกิดขึ้นเป็นระยะทางเท่าๆกัน ตามรูปที่ 4 แสดงว่าเสาเข็มเกิดปัญหา 

5.3 Type 2 Signal : เป็นสัญญาณที่ประกอบด้วยคลื่นสะท้อนกลับ ที่สำคัญมากกว่าหนึ่งตำแหน่งและ มีการทับซ้อนกันของคลื่นที่สะท้อนกลับมาจาก ตำแหน่งที่ต่างกันในตัวเสาเข็ม จนทำให้การแปลความหมายคลื่นสัญญาณเป็นไป ด้วยความยุ่งยากมากกว่า Type 0 และ Type 1 การแปลคลื่นสัญญาณแบบนี้จะยุ่งยาก คือ การที่สามารถเห็นคลื่นสัญญาณที่สะท้อนกลับ จากตำแหน่งปลายเสาเข็มตามความยาว ที่คาดหมายไว้ได้อย่างชัดเจนและยังมีคลื่นสะท้อนกลับ จากตำแหน่งอื่นในเสาเข็มที่อิมพีแด๊น เกิดมีการเปลี่ยนแปลงมาให้เห็นด้วย ตามรูปที่ 5 ในบางกรณี คลื่นสัญญาณ Type 2 นี้อาจมีคลื่นสะท้อนหลายตำแหน่งแต่คลื่นดังกล่าว ไม่แสดงความชัดเจนใดๆ ให้เห็นเลยก็ได้ คลื่นสัญญาณในลักษณะ Type 2 นี้จะมีสารพัดรูปแบบจนการอธิบายคลื่นสัญญาณ จะกระทำแบบปกติโดยผู้ไม่ชำนาญไม่ได้ Turner [10] ได้แสดงความเห็นไว้ว่าคลื่นสะท้อนกลับ จากปลายเสาเข็มในคลื่นสัญญาณแบบ Type 2 นี้ จะสามารถจำแนกออกได้จากประสบการณ์ และวิจารณญาณของวิศวกรผู้ตรวจสอบ ที่เชี่ยวชาญเท่านั้นในขณะที่ Amir , [2] 
กล่าวว่าให้ระวังผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ประเภทใช้วาทะศิลป์ (Artistical Approach) ใช้วิธีการแบบหมอดูลายมือ (Palm Readers) คือ จะดูแต่รูปสัญญาณโดยไม่สนใจข้อมูลอื่นพิจารณาประกอบ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้จะชอบคลื่น สัญญาณที่ดูย่งยากเนื่องจากจะแปลอย่างไรก็ได้ (the more ambiguous the reflectogram , the better.) และ Sliwinski and Fleming , [5] ก็ได้กล่าวไว้ว่างานตรวจสอบโดยวิธีนี้เป็นงานของผู้ที่มีประสบก ารณ์เท่านั้น ไม่ใช่งานที่เหมาะสมกับมือสมัครเล่น (Experience and skill are necessary in the execution and interpretation of all such tests and that it is not a suitable activity for unskilled amateurs.) 

6.ขั้นตอนการวิเคราะห์และแปลความหมายของคลื่นสัญญาณ 
การจะวิเคราะห์และแปลความหมายคลื่นสัญญาณที่ตรวจจับได้ที่ตรวจเ สาเข็ม (Reflectogram) ให้ได้ผลที่น่าเชื่อถือและมีความถูกต้องนั้น โดยทั่วไปจะต้องดำเนินการเป็นสองขั้นตอน คือ 

– ขั้นตอนแรก ให้คำนวนหาระดับหาความลึกที่อิมพีแด๊นมีการเปลี่ยนแปลงจากคลื่น สัญญาณ โดยการวิเคราะห์รูปแบบที่เปลี่ยนแปลงให้เห็นถึงรูปลักษณ์ของเสา เข็ม เช่น เป็นการเพิ่มหรือลดอิมพีแด๊นของตัวเสาเองใช่หรือไม่ (หากใช่ก็แสดงเป็นนัยว่า Structural Impedance Change) ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาจากคลื่นสัญญาณทดสอบ (Acoustic Interpretation)อย่างเดียวก่อน 

– ขั้นตอนที่สอง เป็นการแยกแปลความหมายของรูปลักษณะหรือสภาพของเสาเข็ม (Features) แต่ละรูปแบบจากข้อมูลของการก่อสร้างเสาเข็ม ซึ่งต้องพิจารณาข้อมูลต่างๆ ทุกชนิดที่เกี่ยวข้องประกอบ เช่น ชั้นดินในหน่วยงาน , ระเบียนการก่อสร้างเสาเข็มโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของระบบเสาเข ็ม (เจาะแห้งหรือเจาะเปียก , ความยาวปลอกเหล็กชั่วคราว , ปริมาณคอนกรีตที่ใช้และปัญหาในระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น) 

หลังจากนั้นจึงตั้งสมมุติฐานตามลักษณะคลื่นสัญญาณว่าการเปลี่ยน แปลงของอิมพีแด๊นเกิดจากอะไร มาจากสาเหตุเดียวหรือจากหลายๆ สาเหตุรวมกัน การแปลความหมายของส่วนข้องต้นจะสามารถเห็นความแตกตางระหว่างการ รู้อะไรจากผลการวิเคราะห์ และอะไรคือการสรุปที่ต้องใช้ข้อมูลมากกว่าที่คลื่นสัญญาณทดสอบ จะให้ได้ซึ่งรวมถึงการใช้ขอบเขตวิจารณญาณและประสบการณ์ของผู้แป ลสัญญาณด้วย และต้องพึงระลึกเสมอว่าการตรวจสอบด้วยวิธี Low Strain Sonic Integrity Test นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการวิเคราะห์สภาพของเสาเข็ม (Pile Features) ไม่ใช่เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือของวิศวกรผู้เช ี่ยวชาญว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจึงต้องให้ข้อมูลแก่วิศวกรผู้เชี่ยวชาญให้ มากที่สุดเท่าที่มีอยู่ เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ทำได้ถูกต้องมากที่สุด 

7.การแปลสัญญาณโดยใช้ Beta Method 
ได้มีผู้ตรวจสอบบางรายนำ Beta – method ที่ใช้ในงานทดสอบDynamic Load Test ที่แนะนำโดย Rausche and Goble [8]มาใช้ในการตรวจสอบโดย LST ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องเพราะ LSTไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดแรงจากค้อนขนาดเล็กที่หัวเสาเข็ม และเครื่องมือไม่สามารถแยกแยะเองได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของอิมพีแ ด๊นเกิดจากโครงสร้างเปลี่ยนแปลง (Structural Change) , ชั้นดินเปลี่ยนแปลง (Geotechnical Change) หรือจากวิธีการก่อสร้าง (Construction Method) กันแน่เปรียบเช่นการ X – Ray หรือ Ultra Sound ในทางการแพทย์ที่เครื่องระบุไม่ได้ว่าคนไข้เป็นอะไรต้องการให้แ พทย์ผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ฟิล์มร่วมกับประวัติคนไข้ฉันใด การตรวจเสาเข็มวิศวกรผู้เชี่ยวชาญก็ต้องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณร่ วมกับข้อมูลอื่นของเสาเข็มฉันนั้น โดยธรรมชาติของเสาเข็มเจาะในชั้นดินอ่อนกรุงเทพฯ15 เมตร บนต้องใช้ปลอกเหล็กชั่วคราวจนทำให้เสาเข็มส่วนบนมีขนาดใหญ่กว่า ปกติเสมอ (รูปที่ 6) หากตรวจโดยระบบ b อาจคิดว่าเสาเข็มมีปัญหาแต่แท้จริง แล้วเสาเข็มมีสภาพสมบูรณ์ตามธรรมชาติของงานเพียงแต่ช่วง 15 เมตร บนมีขนาดใหญ่กว่าแบบซึ่งเห็นได้จากรูปที่ 7 ที่ถ่ายจากงานขุดห้องใต้ดิน 4 ชั้นทำให้มองเห็นหัวเสาเข็มที่อยู่สูงกว่าปลายปลอกเหล็กชั่วคราวเล็ กน้อยว่า มีขนาดใหญ่กว่าเสาเข็มที่ระดับต่ำกว่าปลายปลอกเหล็ก

8.บทสรุป 
การตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะโดยวิธี โซนิกอินเทก’ กรีที เทสติ้ง เป็นวิธีที่เหมาะสม , ทำให้รวดเร็วและราคาประหยัดแต่ต้องทำการวิเคราะห์และแลคลื่นสัญญาณโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญผู ้ที่รู้เรื่องงานเสาเข็มเจาะ และชั้นดินด้วยเท่านั้นจึงจะแปลได้ถูกต้อง 

Posted in Uncategorized | Tags: blow count, reinforced concrete, การก่อสร้าง, ตรวจรับงาน, ราคาเสาเข็ม, สมอ., สร้างบ้าน | 1 Comment |

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver