• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Monthly Archives: April 2014

ตอกเสาเอก (เสาเข็มต้นแรก)

Posted on April 27, 2014 by piledriver

ภาพจาก: การดำเนินงานของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

ภาพจาก: การดำเนินงานของยู-ด้า ปั้นจั่น (ฝ่ายปั้นจั่นรถ)

ตอกเสาเอก (เสาฤกษ์)

ในอดีตบ้านเรือนล้วนแต่เป็นบ้านที่ปลูกสร้างด้วยไม้ เพราะไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาถูก ดังนั้นเสาของตัวบ้านจึงเป็นเสาไม้ พิธีฤกษ์ลงเสาเอกแต่ก่อนก็คือ ฤกษ์เวลาที่เรานำเสา(ไม้)หลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่เตรียมเอาไว้ จับให้เสาตั้งตรงแล้วเอาไม้ค้ำยันค้ำไว้จากนั้นก็นำดินมากลบหลุมทั้งหมด
แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความปลียนแปลงไป ประกอบกับเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนมีความหลากหลาย แตกต่างกันออกไป อีกทั้งอาคารบ้านเรือนไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ส่วนใหญ่ล้วนมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตที่เสริมเหล็ก รากฐานของตัวอาคารต่างๆ จึงต้องมีความเหมาะสมแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้เป็นอย่างดี การปลูกสร้างอาคารทั่วไปจึงต้องมีการตอกเสาเข็มคอนกรึต ต้องมีการเทฐานราก ทำตอม่อ แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พื้นดินได้ ดังนั้นพิธียกเสาเอก กรณีเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม ส่วนใหญ่จะยึดถือเวลาที่ทำการตอกเสาเข็มต้นแรก เวลาที่ทำการตอกเสาเข็มต้นที่กำหนดให้เป็นเสาเอก (น่าจะเรียกว่า “ฤกษ์” เข็มเอก) การได้มาด้วย(เวลา)ฤกษ์พิธีการนั้นล้วนก็ต้องการความเป็นสิริมงคล ความรุ่งเรือง และความสบายใจให้กับตนและครอบครัว
การกำหนดฤกษ์พิธีการก็มักเกี่ยวข้องกับทิศ เดือน วัน เวลา เช่น ถ้ายกเสาเอกในเดือนอ้าย ยี่ สาม เสาเอก อยู่ทิศอีสาน, ยกเสาเอกในเดือน 4 – 5 – 6 เสาเอก อยู่ทิศอาคเนย์, ยกเสาเอกในเดือน 7 – 8 – 9 เสาเอก อยู่ทิศหรดี, ยกเสาเอกในเดือน 10 – 11 – 12 เสาเอก อยู่ทิศพายัพ
ความสำคัญของฤกษ์พิธีการมักจะถูกกำหนดเป็นเวลาที่แน่นอน เช่น เวลาตอกเสาฤกษ์ คือเวลา 9.09 น. ดังนั้นการเตรียมการต่างๆหน้างาน ที่ไม่มีความพร้อมก็อาจทำให้เกิดปัญหาขลุกขลัก สร้างความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้การตอกเสาเข็ม(เสาเอก) ไม่ตรงกันกับเวลาฤกษ์พิธีการที่ได้กำหนดไว้

Posted in Uncategorized | Tags: Add new tag, ก่อสร้าง, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

การต่อเติม กับการทรุดตัว ของอาคาร

Posted on April 12, 2014 by piledriver

การต่อเติมอย่างไรทำให้ทรุดตัวของตัวอาคาร
(จากบทความ อ.โกศล วิจิตรทฤษฏี และ อ.สำเริง ฤิทธพริ้ง)

ต่อเติมอย่างไรให้ทรุด” เป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่คงจะสงสัยว่าทำไมแทนที่การต่อเติมอาคารทั่วไปจะต้อง พยายามทำให้อาคารไม่ทรุดไม่ใช่หรือ จริงๆ แล้ว ความเข้าใจของคนทั่วไปรวมถึงช่าง ผู้รับเหมา สถาปนิกหรือวิศวกรบางรายที่ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องการต่อเติมดีพอ คือ “ทำอย่างไรก็ได้ให้การต่อเติมอาคารนั้นไม่ทรุด” ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นความเข้าใจที่ผิด

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจถึงเรื่องการก่อสร้างอาคารก่อน การก่อสร้างอาคารใหม่หลายๆ หลังนั้นจะเริ่มต้นจากการตอกเสาเข็ม ทำฐานราก ก่อนจะทำโครงสร้างทั้งเสาและคาน จากนั้นจึงขึ้นเป็นอาคาร เหตุใดถึงต้องลงเข็มล่ะ ก็เนื่องจากว่าสภาพพื้นที่ที่จะก่อสร้างอาคารนั้นๆ มีการทรุดตัวตลอดเวลาซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีการทรุดตัวของพื้นดินที่แตกต่าง กันไปตามสภาพดินของพื้นที่นั้นๆ การลงเข็มจึงเป็นการทำให้อาคารนั้นๆ มีการทรุดตัวที่ช้ากว่าสภาพพื้นที่บริเวณนั้นและทำให้การทรุดตัวของอาคาร เป็นไปโดยพร้อมๆ กันทั้งอาคาร ไม่ทรุดตัวเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น การลงเข็มไม่ใช่การทำให้อาคารไม่ทรุดตัว แต่ ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่จะคิดเพียงว่าถ้าลงเข็มมากๆ อาคารที่ก่อสร้างนั้นจะไม่ทรุด ขอย้ำว่า อาคารที่ก่อสร้างทุกหลังนั้นมีการทรุดตัวเพียงแต่การทรุดตัวในแต่ละปีนั้น เป็นเพียงไม่กี่มิลลิเมตรจึงทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าอาคารนั้นไม่ทรุดตัว การต่อเติมอาคารแต่ละหลังนั้น เกิดจากความต้องการของเจ้าของอาคารที่จะขยายพื้นที่ใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ หรืออาคารพาณิชย์ต่างๆ แสดงว่าอาคารส่วนที่จะต่อเติมนั้นต้องเกิดขึ้นหลังจากอาคารที่อยู่อาศัยนั้น สร้างแล้วเสร็จเป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งการต่อเติมอาคารแต่ละหลังนั้นต้องคำนึง ถึงโครงสร้างของอาคารเดิมว่ามีลักษณะอย่างไร สามารถต่อเติมตามความต้องการได้หรือไม่ ดังนั้นหากเป็นไปได้ ก่อนที่จะต่อเติม อาคารควรจะตรวจสอบหรือหาแบบโครงสร้างของอาคารเดิมมาเพื่อ พิจารณาในการออกแบบโครงสร้างส่วนต่อเติมให้สัมพันธ์กับโครงสร้างอาคารเดิม และไม่เป็นการทำการโครงสร้างของกันและกันด้วยเมื่อเราได้แบบโครงสร้างอาคาร เดิมมาแล้ว ในหลายๆ ครั้งที่ช่าง ผู้รับเหมา สถาปนิกหรือวิศวกรบางรายมีความเข้าใจเรื่องการต่อเติมไม่ดีพอ พยายามที่จะออกแบบโครงสร้าง ฐานราก เสาเข็มให้เหมือนกับโครงสร้างอาคารเดิมโดยเข้าใจว่าเมื่อออกแบบโครงสร้าง ฐานราก เสาเข็ม เหมือนกับอาคารเดิมจะทำให้การทรุดตัวของส่วนต่อเติมเท่ากับอาคารเดิมแล้วการ ทรุดตัวของอาคารทั้ง 2 ส่วนจะเป็นไปพร้อมๆ กัน ไม่เกิดปัญหาการแตกร้าวของอาคาร หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินว่า ถ้ากลัวอาคารทรุดตัวแตกร้าว ก็ลงเข็มเยอะๆ สิ หรือ ลงเข็มให้เท่ากับอาคารเก่าจะทำให้อาคารส่วนต่อเติมไม่ทรุดตัว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์ เพราะหลังจากก่อสร้างไปไม่กี่ปี (บางหลังต่อเติมไปไม่ถึงปี) ก็เกิดการทรุดตัวแตกร้าวระหว่างโครงสร้างทั้ง 2 ส่วน บางหลังก็เกิดอย่างรุนแรง ซึ่งหลังจากนี้การซ่อมแซมแก้ไขทำได้ยากและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จบสิ้นกลาย เป็นปัญหาเรื้อรัง ค่าใช้จ่ายบานปลายจนสุดท้ายก็ต้องทนอยู่กับโครงสร้างที่มีปัญหาอย่างไม่มี ทางเลือก ทีนี้ มาดูกันว่า “การต่อเติมอย่างไรให้ทรุดนั้น” หมายความว่าอย่างไร

การต่อเติมนั้น ยิ่งทรุดตัวมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะเมื่ออาคารทรุดตัวมากๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งการทรุดตัวจะลดน้อยลง เมื่อคิดเช่นนั้นการต่อเติมของเราก็จะตั้งอยู่บนพื้นฐาน “ยิ่งทรุดตัวมากยิ่งดี” ทำให้เราต้องออกแบบโครงสร้างอาคารส่วนต่อเติมให้แยกขาดจากอาคารเดิมเพื่อไม่ ให้เกิดผลกระทบกับโครงสร้างของอาคารเดิมและอาคารส่วนต่อเติม ให้อาคารทั้ง 2 ส่วนมีการทรุดตัวที่อิสระจากกัน หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า ถ้างั้นในส่วนของรอยต่อระหว่างโครงสร้างอาคารเดิมและอาคารส่วนต่อเติมเราจะ ทำอย่างไรตรงนั้นเมื่อเราแยกโครงสร้างของทั้ง 2 ส่วนจากกัน บริเวณรอยต่อก็จะเป็นร่องบ้าง เป็นรอยแยกบ้าง เมื่อรู้เช่นนั้น เราก็ทำการแก้ปัญหาบริเวณรอยต่อนั้นเสียด้วยการออกแบบซึ่งทำได้หลายๆ วิธี เช่น บริเวณรอยต่อพื้นก็ทำเป็นเหมือนร่องน้ำสามารถโรยกรวดหรือหินสีสวยๆ เพื่อตกแต่ง หรือออกแบบทำเป็นขึ้นบันไดเล็กน่ารักๆน็้ ก็ได้ บริเวณผนังที่เป็นรอยต่อก็สามารถออกแบบเป็นผนังตกแต่ง เช่นให้ไม้ฝาต่างๆ มากตี หรือตีกรอบวงกบหรือตู้สวยๆ ก็ได้ ด้านบนหรือเพดานก็ออกแบบฝ้าเพดานให้มีระดับหลดหลั่น ดร็อปฝ้า และยังมีวิธีการออกแบบอีกหลายๆ อย่างให้ดูดีดูเก๋ แล้วแต่ว่าต้องการจะให้ห้องนั้นเป็นลักษณะไหน ส่วนปัญหาเรื่องการรั่วซึมต่างๆ ก็สามารถใช้ผลิต ภัณฑ์กันรั่วซึมที่มีอยู่ตามท้องตลาด เช่น พวกอะคลีริค ยาแนวก่อนที่จะปิดผิวรอยต่อตามที่เราได้ออกแบบไว้แต่บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องทำให้มันยุ่งยากขนาดนั้นด้วย ดีไม่ดียังสิ้นเปลืองงบประมาณไปกับการตกแต่งพวกนี้อีกแถมเมื่ออาคารเกิดการ ทรุดตัว การตกแต่งพวกนี้ก็เสียหายต้องซ่อมแซมอยู่ดี ลองคิดดูง่ายๆ นะครับ ความเสียหายกับงานตกแต่งพวกนี้ เวลาซ่อมแซม เราจะเสียค่าซ่อมแซมเฉพาะบริเวณที่ตกแต่งซึ่งค่าใช้จ่ายไม่เท่าไหร่ หรือบางทีหากออกแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เราก็สามารถที่จะซ่อมแซมเองได้ไม่ยากและไม่ต้องเรียกช่างมาให้เสียเวลาและ ค่าใช้จ่าย แต่หากเราต่อเติมโดยโครงสร้างอาคารเดิมและอาคารส่วนต่อเติมติดกันเมื่อเกิด การทรุดตัว ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถควบคุมได้ว่าจะเสียหายแค่บริเวณรอยต่อ บางแห่งลามไปถึงโครงสร้างของอาคารเดิม เมื่อจะทำการซ่อมแซมก็ทำได้ยาก มีค่าใช้จ่ายที่สูง บางทีต้องทุบผนังแล้วก่อใหม่ หากเกิดรุนแรงมากอาจถึงขั้นต้องทุบโครงสร้างส่วนต่อเติมทิ้ง บางทีอาจมีผลต่อโครงสร้างของอาคารเดิมได้ ซึ่งหากต้องทำการซ่อมแซมก็ไม่สามารถประเมินได้เลยว่าความใช้จ่ายจะเป็น เท่าไร และปัญหาจะหยุดแค่นี้หรือไม่ ทำให้เราอยู่โดยไม่สบายใจ เกิดความกังวลว่าโครงสร้างอาคารจะมีปัญหาหรือไม่

จำไว้นะครับว่า การก่อสร้างบางอย่างเราเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็จริงแต่มันทำให้ปัญหาลดน้อยลง แต่หากเรามัวแต่คิดเพียงว่าไม่จำเป็น สิ้นเปลือง ก็จะเข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” ซึ่งคงจะไม่คุ้มกันหรอกกับอาคารหรือบ้านที่เราต้องอยู่อาศัยไปทั้งชีวิต

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, คอนกรีต, ค่าตอกเสาเข็ม, งานหลังคา, งานเหล็ก, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน | Leave a comment |

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver