• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Monthly Archives: November 2014

เสาเข็ม เสริม ฐานรากอาคารทรุดตัว

Posted on November 17, 2014 by piledriver

การแก้ไขฐานรากอาคารทรุดตัวนั้นสามารถแก้ไขโดยการเสริมเสาเข็มเข้าไปช่วยรับน้ำหนักแทนเสาเข็มเดิมที่รับน้ำหนักบรรทุกไม่ได้ การจะกำหนดให้เสาเข็มที่เสริมเข้าไปนั้นรับน้ำหนักอย่างไรขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์สาเหตุการทรุดตัวและลักษณะการทรุดตัวโดยมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในลักษณะต่างๆ ดังนี้

                1)  กรณีเสาเข็มเดิมของอาคารเป็นเสาเข็มสั้นหรือปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อน มีฐานรากบางฐานในอาคารเกิดการทรุดตัวมากจนอาคารเสียหาย ควรแก้ไขด้วยการทำเสาเข็มเสริมเสาเข็มใหม่เฉพาะฐานรากที่เกิดการทรุดตัวเท่านั้นเพื่อหยุดยั้งการทรุดตัว  เสาเข็มที่เสริมเข้าไปใหม่ควรมีความยาวใกล้เคียงกับเสาเข็มเดิม  และไม่ควรใส่ปลายเสาเข็มหยั่งลงในชั้นดินต่างชนิดกับเสาเข็มเดิม มิฉะนั้นฐานรากที่ไม่ได้เสริมเสาเข็มจะทรุดตัวมากกว่าในภายหลัง

                2)  กรณีเสาเข็มเดิมของอาคารเป็นเสาเข็มสั้นหรือปลายเสาเข็มยังอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อน มีฐานรากจำนวนมากในอาคารเกิดการทรุดตัวควรเสริมฐานรากทุกฐานด้วยเสาเข็มใหม่ที่มีความยาวมากกว่าเสาเข็มเดิม และปลายเสาเข็มควรอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็งหรือทรายแน่น และไม่ควรที่จะนำเสาเข็มเดิมกลับมาใช้งานอีก ดังนั้นภายหลังจากทำเสาเข็มเสริมและถ่ายน้ำหนักลงเสาเข็มที่เสริมเป็นที่เรียบร้อยแล้วควรตัดเสาเข็มเดิมให้ขาดจากฐานรากด้วย

                3)  กรณีเสาเข็มบกพร่องแตกหักหรือเสาเข็มเยื้องศูนย์กรณีที่เสาเข็มทรุดตัวบางฐาน ควรแก้ด้วยการเสริมที่มีความยาวหรืออยู่ในชั้นดินเดียวกับเสาเข็มเดิม แต่ถ้ากรณีมีการทรุดตัวหลายฐานในอาคาร ควรเสริมเสาเข็มใหม่ให้ปลายเสาเข็มใหม่อยู่ในชั้นดินทรายแน่น

                  4)  กรณีปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน การแก้ไขอาคารทรุดตัวจากสาเหตุปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกันต้องวิเคราะห์ด้วยว่าเสาเข็มเดิมของอาคารส่วนใหญ่อยู่ในชั้นดินชนิดไหน เช่น  ถ้าปลายเสาเข็มเดิมส่วนมากปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นทรายมีบางฐานอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็ง เสาเข็มที่อยู่ในชั้นดินเหนียวแข็งจะมีการทรุดตัวมากกว่าทำให้อาคารแตกร้าว ก็ควรแก้ไขฐานรากที่      ปลายเสาเข็มเดิมอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็ง โดยแก้ไขให้ปลายเสาเข็มที่เสริมใหม่อยู่ในชั้นดินทราย

                5)  กรณีเกิดการเคลื่อนตัวของดินทำให้เสาเข็มเดิมเกิดการเสียหายอาคารเกิดการทรุดตัว กรณีนี้จะต้องปรับปรุงและต้องให้ดินเดิมมีความเสถียรภาพก่อนถึงจะทำการแก้ไขฐานรากของอาคารโดยที่เสาเข็มที่เสริมใหม่ปลายเสาเข็มควรใกล้เคียงปลายเสาเข็มอาคารเดิม หรืออยู่ชั้นดินเดียวกับอาคารเดิม

 

                   ลำดับขั้นตอนในการแก้ไขอาคารทรุดตัว

                การแก้ไขอาคารทรุดตัวควรมีลำดับขั้นตอนดังนี้

                1)  คำนวณน้ำหนักลงแต่ละฐานราก (Column Load) ที่จะทำการเสริมเสาเข็ม

                2)  เลือกชนิดของเสาเข็ม สำหรับขนาดและความยาวของเสาเข็มควรพิจารณาจากข้อมูลดิน และควรนำข้อมูลที่เกี่ยวกับเสาเข็มเดิมมาพิจารณาประกอบ 

                3)  คำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มที่เสริมจากข้อมูลดินตามชนิดขนาดและระดับความลึกของปลายเสาเข็มที่เลือกใช้

                4)  กำหนดจำนวนเสาเข็มที่จะเสริมในแต่ละฐานรากจำนวนเสาเข็มที่เสริมจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่กดลงฐานราก (Column Load) และผลวิเคราะห์สาเหตุการทรุดตัว หากผลวิเคราะห์สรุปว่าเสาเข็มเดิมยังคงใช้งานได้อาจให้เสาเข็มใหม่รับน้ำหนักส่วนเกินจากเสาเข็มเดิมเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้เสาเข็มที่ใช้เสริมจะมีจำนวนไม่มากและขณะทำการแก้ไขจะยังคงมีความปลอดภัยอยู่ระดับหนึ่งเนื่องจากเสาเข็มเดิมยังคงแบกรับน้ำหนักของอาคารอยู่ แต่หากวิเคราะห์ แล้วพบว่าเสาเข็มเดิมมีความบกพร่อง เช่น แตกหักหรือขาดจากกัน จะต้องแก้ไขด้วยการเสริมเสาเข็มให้มีจำนวนมากเพียงพอเพื่อที่จะสามารถรับน้ำหนักแทนเสาเข็มเดิมได้ทั้งหมดในกรณีที่เสาเข็มเดิมมีความบกพร่องขณะทำการแก้ไขควรมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะการติดตั้งเสาเข็มอาจส่งผลกระทบกระเทือนจนทำให้ฐานรากทรุดตัวเพิ่มขึ้นโครงสร้างจะแตกร้าวมากกว่าเดิมและอาจถึงขั้นวิบัติได้

                5)  ตำแหน่งที่จะเสริมเสาเข็มควรเป็นตำแหน่งที่ทำให้สามารถถ่ายน้ำหนักลงเสาเข็มที่เสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตำแหน่งที่เหมาะสมสมควรอยู่ใกล้เสาชิดขอบฐานรากหรือเสาเข็มเดิมมากที่สุด และเป็นตำแหน่งที่จะไม่ทำให้ฐานรากเกิดการพลิกตัวหรือบิดตัวไปจากเดิมสำหรับเสาเข็มที่เสริมใหม่ที่อยู่ใกล้กับเสาเข็มเดิมนั้นควรให้มีระยะห่างระหว่างผิวเสาเข็มที่เสริมกับผิวเสาเข็มเดิมไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็มที่มีขนาดใหญ่กว่า

                6)  ทำการถ่ายน้ำหนักลงเสาเข็มใหม่ที่เสริม เมื่อติดตั้งเสาเข็มเสริมตามตำแหน่งที่กำหนดไว้จนครบแล้วควรทำการถ่ายน้ำหนักจากอาคารลงเสาเข็มใหม่ที่เสริม มิฉะนั้นเสาเข็มใหม่ที่เสริมจะไม่ได้รับน้ำหนักบรรทุกใด ๆ เลย เว้นเสียแต่ว่าจะปล่อยให้อาคารทรุดจมลงจนกดหัวเสาเข็มที่เสริมจึงจะทำให้เสาเข็มใหม่ที่เสริมเริ่มแบกรับน้ำหนัก ถ้าปล่อยให้ทรุดตัวลักษณะนี้อาคารจะแตกร้าวเพิ่มขึ้นอาจไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงปลอดภัยของอาคารโดยเฉพาะกับอาคารที่ทรุดตัวอย่างรวดเร็วมีความเสี่ยงต่อการทรุดจมแบบฉับพลัน

                เมื่อทำการเสริมเสาเข็มและถ่ายน้ำหนักลงเสาเข็มที่เสริมใหม่ครบทุกฐานแล้วอาคารควรหยุดการทรุดตัวหรือชะลอการทรุดตัวลง ฐานรากทั้งหมดของอาคารควรมีอัตราการทรุดตัวที่ใกล้เคียงกันและเป็นอัตราการทรุดตัวที่มีค่าลดน้อยลงตามลำดับ เมื่อน้ำหนักบรรทุกไม่เปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวเหล่านี้จะทราบได้จากการสำรวจการทรุดตัว ซึ่งควรสำรวจตั้งแต่ก่อนทำการแก้ไข ระหว่างทำการแก้ไข และเมื่อแก้ไขแล้วเสร็จเพื่อพิจารณาว่าการแก้ไขนั้นได้ผลดีมากน้อยเพียงใด

                 ขั้นตอนการเสริมฐานรากอาคารและยกอาคาร

                หลังจากทำการวิเคราะห์-คำนวณ ได้แนวทางการแก้ไขอาคารทรุดแล้ว ต้องทำการเสริมฐานรากโดยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้

                1)  ศึกษาแบบแปลนรายละเอียดการแก้ไขอาคารทรุด

                2)  เตรียมเสาเข็มสำหรับที่ใช้เสริมฐานรากโดยความยาวเสาเข็มที่ใช้เสริมฐานรากความยาวประมาณ 1.00 เมตร

                3)  ขุดดินบริเวณตำแหน่งฐานรากที่จะทำการเสริมเพื่อกำหนดตำแหน่งของเสาเข็มใหม่ให้ใกล้เคียงตำแหน่งเดิมมากที่สุดดังรูปที่ 2.32

                4)  กดเสาเข็มลงดินด้วยแม่แรงไฮดรอลิกโดยใช้น้ำหนักของอาคารเป็น Reaction Load แล้วจดบันทึกค่าการรับน้ำหนักของเสาเข็มใหม่ดังรูปที่ 2.33

                5)  เมื่อทำการกดเสาเข็มจนได้ความยาวหรือการรับน้ำหนักได้ตามรายการคำนวณแล้วทำ Cross Beam และ Main Beam เพื่อถ่ายน้ำหนักของอาคารลงสู่เสาเข็มใหม่

                6)  Preloading ให้เสาเข็มที่ทำการเสริมใหม่รับน้ำหนักของอาคาร และมีการยกปรับระดับอาคาร ถ้าอาคารทรุดเอียงมากดังรูปที่ 2.37

                7)  เทคอนกรีตหุ้ม Cross Beam และ Main Beam

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: blow count, reinforced concrete, การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ค่าตอกเสาเข็ม, ตอกเสาเข็ม, รถตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver