ภาพจาก การดำเนินงานของ ทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น
ความรู้เรื่องเสาเข็มกับการตอกเสาเข็ม นี้ คนส่วนใหญ่สนใจมากเพราะยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ยู-ด้า ปั่นจั่น จึงนำเกร็ดความรู้นี้มาเสนอให้ลองศึกษาดู ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะให้ประโยชน์กับผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย
เสาเข็มอัดแรงเสริมคอนกรีต เป็นเสาเข็มที่มีความแข็งแรง และเป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้มาเป็นเสาเข็มเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับสิ่งปลูกสร้างอาทิ บ้าน อาคาร และโครงสร้าง ที่มีขนาดใหญ่
เสาเข็มที่ดีนั้น เบื้องต้น เราจะรู้ได้อย่างไร
เสาเข็มที่ดีนั้นต้องมีสภาพที่ดีไม่มีร่องรอยการร้าว แตก หักหรือชำรุด ทางที่ดีเราควรใช้เสาเข็มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( ส ม อ. ) โดยมี เครื่องหมายรับรองมาตร ฐานอุตสาหกรรม ( ม อ ก. ) และสังเกต วัน / เดือน / ปี ที่ทำการผลิตว่าผลิตเมื่อไร อายุของเสาเข็มได้หรือยัง ถ้าเป็นไปได้เสาเข็มที่ใช้ควรจะมีอายุการผลิตประมาณ 30 วัน เพราะหากเสาเข็มที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่นั้น คอนกรีต ที่ใช้ทำเสาเข็มยังบ่มตัวไม่เข้าที่ ความแข็งแกร่งยังไม่ได้ ก็อาจจะทำให้เกิดการชำรุดหรือแตกหักระหว่างขนส่ง หรือระหว่างการตอกเสาได้ บางกรณี หากมีความจำเป็นต้องนำเสาเข็มมาเชื่อมต่อกัน เสาเข็มที่เรานำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีขนาดของพื้นที่หน้าตัดเหมือนกัน ในการตอกคือ ต้องตอกเสาท่อนแรกลงไปใน ดินจนเกือบมิดก่อนแล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาท่อนที่สองขึ้นมาจรดกับเสาท่อนแรกในแนวตรง แล้วทำการ เชื่อมเหล็กที่ขอบเสาตรงรอยต่อให้ติดกัน การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างดี เชื่อม โดยรอบให้เสาทั้ง 2 ท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ
การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับนั้น เราจะรู้ได้อย่างไร การจะดูว่าการตอกเสาเข็มได้ลึกถึงระดับแล้ว เราก็ต้องดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดู จำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม ( blow count ) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้ จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจะจม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดิน ที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยัง ไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะ เป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้าม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่ มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ยังต้องคำนึงถึงชนิด ขนาด และอื่นๆ ของเสาเข็มเป็นสำคัญ