• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Tag Archives: คอนกรีต

ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี

Posted on November 9, 2020 by piledriver
ภาพงานยู - ด้าปั้นจั่น

ภาพงานยู – ด้าปั้นจั่น

IMG_25621001_143748

IMG_25621001_143719

 

 

ก่อนตอกเข็ม

 


1. เช็ควันที่ผลิต (ถ้ามี)
2. ตรวจดูตรามอก.
3. ให้ดูว่ามีเข็มหักระหว่างขนส่งขนย้ายหรือไม่

หลังหัก
1. ตัดปลายเสาเข็มให้ได้ระดับใกล้เคียงกันประมาณ 15-20 ซม. จากการดูดซึมข้อเสนอ 2
2. ถอนขนผ่าน 5 ซม. ควรปรับระดับด้วยทรายขาวก่อน
3. ถ้ามีเหล็กเสริมอย่าหล่อด้วยเหล็กที่แข็งเกินไป

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: Add new tag, การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, งานหลังคา, งานเหล็ก, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน

Posted on October 12, 2020 by piledriver

ปัญหาสร้างบ้าน ช่วงหน้าฝน

1. ปัญหาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ในการทำงาน เมื่อฝนตกจะทำให้สภาพพื้นที่มีความยากลำบากในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
ความยากลำบากในการขนส่ง อาจเกิดปัญหารถติดหล่มและเกิดความล่าช้าขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นต้องประเมินสภาพพื้นดินอยู่ตลอดเวลา ว่าสามารถรับน้ำหนักรถบรรทุกได้หรือไม่ หากฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่ที่พื้นดินค่อนข้างอ่อนตัว
เรื่องความสรกปกของถนน เมื่อรถขนส่งวัสดุวิ่งเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้างที่เปียกแฉะ ก็จะทำให้มีเศษดินติดล้อรถเป็นจำนวนมาก เราจะต้องเตรียมพื้นที่และน้ำสำหรับฉีดทำความสะอาดเศษดินเหล่านั้นออกให้หมด เพื่อไม่ให้พื้นผิวสัญจรหน้าสถานที่ก่อสร้างสรกปกจนถูกร้องเรียนเอาได้
การอุดตันของระบบการระบายน้ำ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากเศษดินหรือเศษวัสดุในระหว่างการก่อสร้างไหลไปอุดตัน เราควรต้องป้องกันไม่ให้เศษวัสดุไหลลงไปอุดตันอยู่ในระบบท่อระบายน้ำ เพราะมีเศษวัสดุลงไปอุดตันอยู่เป็นจำนวนมาก อาจเกิดปัญหาในการระบายน้ำ

2. ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน
ปัญหาเรื่องไฟฟ้าในบริเวณก่อสร้าง ควรเลือกพื้นที่ในการติดตั้งคัตเอาท์หรือแผงสวิทซ์ไฟ ให้อยู่ในบริเวณที่ฝนสาดไม่ถึง รวมทั้งไม่ควรวางสายไฟติดกับพื้นดิน ควรตั้งเสาขึ้นมาเพื่อรองรับสายไฟ เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าเมื่อมีฝนฟ้าคะนอง ไม่ควรทำงานในที่โล่งแจ้งเพราะอาจเสี่ยงอันตรายจากการเกิดฟ้าผ่าขึ้นได้

3. ปัญหาเรื่องการจัดเก็บวัสดุ
สำหรับปูนซีเมนต์ ห้ามโดนน้ำหรือความชื้นโดยเด็ดขาด ควรทำโรงเรือนชั่วคราว หรือยกพื้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตรและหาวัสดุอย่างเช่น แผ่นพลาสติก หรือผ้าใบคลุมเอาไว้ หากปูนซีเมนต์โดนความชื้นจับตัวเป็นก้อนแข็ง ก็ไม่ควรนำมาใช้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้คอนกรีตที่ผสมจากปูนซีเมนต์ที่จับตัวเป็นก้อนแข็งแล้วนั้นไม่แข็งแรงเท่าที่คสำหรับเหล็กเส้น หรือเหล็กรูปพรรณ ก็ควรทำโรงเรือนชั่วคราว หรือยกพื้นสูงเพื่อจัดเก็บเช่นเดียวกันกับปูนซีเมนต์ เพราะหากเหล็กถูกความชื้นก็จะเกิดสนิม แต่เมื่อเกิดสนิมขึ้นแล้วหากต้องการนำเหล็กไปใช้งานควรขัดเอาเนื้อสนิมออกให้หมดไม่เช่นนั้นก็อาจจะทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสเป็นสนิมเพิ่มมากขึ้น
สำหรับหิน และทราย ถึงแม้ว่าสามารถโดนน้ำฝนได้แต่ต้องระวังหินหรือทรายเปื้อนดิน เพราะหากหินหรือทรายเปื้อนดินก็ไม่ควรนำไปใช้ในการผสมคอนกรีตเช่นกัน ควรหาพลาสติกปูรองพื้นให้กับหินหรือทรายเหล่านั้นตั้งแต่ตอนที่เริ่มมีการขนส่งเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้าง

4. ปัญหาเรื่องการก่อสร้างใต้ดิน
การก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับงานขุดดิน อย่างเช่นการทำฐานราก การทำถังเก็บน้ำใต้ดิน การขุดดินต้องขุดดินเผื่อให้กว้างขึ้นอีกด้านละประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อรองรับดินที่อาจสไลด์ลงมาในหลุมขุด หากหลุมมีความลึกมากกว่า 2 เมตรควรทำคันกั้นดินเพื่อป้องกันดินถล่ม นอกจากนี้ควรทำบ่อซับน้ำเพื่อช่วยรองรับน้ำจากหลุมขุด แล้วใช้เครื่องสูบน้ำช่วยระบายน้ำออกเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง
สำหรับงานเดินระบบท่อในระดับดิน หากอยู่ระหว่างการดำเนินการ ควรหาพลาสติก หรือฝาครอบปลายท่อเพื่อป้องกันเศษดินไหลเข้าไปภายในท่อ

5. ปัญหาเรื่องงานทาสี
งานทาสีเป็นอีกงานหนึ่งที่ควรต้องเอาใจใส่กันเป็นพิเศษ เพราะถึงแม้ว่าหากเราจะสามารถหาวันที่มีอากาศดีๆ ได้ในฤดูฝนได้ แต่การทาสีผนังอาคารควรต้องตรวจสอบสภาพของผนังอาคารว่าเปียกหรือมีความชื้นสะสมอยู่ภายในเนื้อวัสดุหรือไม่ เพราะอาจเกิดปัญหาสีโป่งพองและลอกล่อนได้จากความชื้นที่อยู่ในเนื้อวัสดุระเหยตัวออกมา

สำหรับงานเคลือบสีไม้ หรือเคลือบสีเหล็กก็เช่นเดียวกัน หากเป็นไม้ก็ต้องดูให้แน่ใจว่าเนื้อไม้แห้งสนิท หรือหากเป็นเหล็กก็ต้องตรวจและขัดสนิมออกให้หมด ถึงจะสามารถเริ่มลงมือทาสีได้

6. ปัญหาเรื่องราคาค่าก่อสร้าง
ปัญหาเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างที่อาจเพิ่มขึ้นได้จากการขาดแคลนวัสดุ เนื่องจากการผลิตวัสดุอาจทำได้ยากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การผลิตอิฐมอญ ที่จะทำได้ลำบากขึ้นเนื่องจากฝนตก และในบางครั้งก็เป็นผลพวงมาจากความยากลำบากในการขนส่ง
ปัญหาเรื่องค่าแรงในการก่อสร้างที่อาจสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการทำงานที่มีความยากลำบากขึ้น ดังนั้นการวางแผนล่วงหน้าในการพูดคุยและตกลงทำสัญญากับผู้รับเหมาถึงเรื่องการทำงานในช่วงหน้าฝนก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมองล่วงหน้าเอาไว้ อาจขอปรึกษาจากสถาปนิกหรือวิศวกรในเรื่องระยะเวลาเพื่อประเมินระยะเวลาของงานที่อาจเกิดความล่าช้า เพื่อจะได้เตรียมงบประมาณสำรองเผื่อไว้

——————————————————————————–
http://www.baanlaesuan.com

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การสร้าง, ขั้นตอน, คอนกรีต, ค่าอิฐ, งาน, งานเหล็ก, ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน, พื้น, รถดินเสา, สร้างบ้าน, เครื่องตอกเสาเข็มไทย, เพิ่มแท็กใหม่ | Leave a comment |

ฐานราก เสาเข็ม

Posted on May 26, 2020 by piledriver

ขั้นตอนการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่งานฐานรากจนเสร็จสิ้น ล้วนต้องใช้ทักษะ ความรู้ความสามารถ เงินทุน การประสานของทุกฝ่าย จนได้เนื้องานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามข้อกำหนด มีดังนี้

งานเสาเข็มฐานราก
construction-step-that-standardized11

construction-step-that-standardized3

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปตัว I ขนาด 22 ยาว 18.00 เมตร (2 ท่อน)ต่อกันด้วยวิธีการเชื่อมด้วยไฟฟ้าโดยรอบ เพื่อให้ได้มาตรฐานความมั่นคงแข็งแรงในการสร้างบ้าน ป้องกันข้อผิดพลาดในระหว่างทำการตอกเสาเข็มและเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ในขณะทำการตอกเสาเข็ม บริเวณปลายเสาเข็มจะถูกแรงกระแทกจากน้ำหนักลูกตุ้มเหล็ก ทำให้เนื้อคอนกรีตเสาเข็มบริเวณดังกล่าวอาจจะเสียหาย

ข้อพึงปฏิบัติ
1. ควรตัดปลายเสาเข็มออกความยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตร เนื่องจากบริเวณปลายเสาเข็มได้รับความกระทบกระเทือนจากตุ้มเหล็กในขณะที่ทำการตอก จึงทำให้ปลายเสาเข็มบริเวณนั้นเสียกำลังในการรับน้ำหนัก

2. ทำการปรับระดับก้นหลุมด้วยทรายหยาบ และเทคอนกรีตหยาบรองพื้น(1 : 3 : 5) ความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อให้เทคอนกรีตฐานรากได้ระดับเสมอกัน และป้องกันมิให้น้ำปูนไหลออกจากแบบหล่อคอนกรีต
3. เมื่อตัดเสาเข็มแล้วควรโผล่ปลายเสาเข็มไว้ สูงกว่าระดับคอนกรีตหยาบรองพื้น ประมาณ 15 – 20 เซ็นติเมตร เพื่อให้เสาเข็มฝังเข้าไปในคอนกรีตฐานรากที่เท ทำให้ยึดเหนี่ยวกันมั่นคงยิ่งขึ้น
4. เหล็กเสริมควรมีระยะห่างจากแบบหล่อคอนกรีต หรือผิวคอนกรีตอย่างน้อย 5 เซนติเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้นจากใต้ดินกับเนื้อคอนกรีตที่เทหุ้มเหล็กเสริมไว้

พื้นอาคารทั่วไปใช้พื้นสำเร็จรูปชนิดท้องเรียบ รับน้ำหนักปลอดภัยได้ 200 กิโลกรัม / ตารางเมตร ซึ่งโดยปกติกฎหมายกำหนดไว้ 150 กิโลกรัม / ตารางเมตร ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้พื้นสำเร็จรูปชนิด 3 ขา ของบริษัทผู้ผลิตแผ่นพื้น PCM แทนการใช้แผ่นพื้นชนิดท้องเรียบ(แบบเดิม) ทั้งนี้เพราะจุดเด่นของแผ่นพื้นชนิด 3 ขา คือเมื่อติดตั้งแผ่นพื้นไม่ต้องทำการค้ำยันกลาง เนื่องจากแผ่นพื้นถูกออกแบบมาเป็นคานรับน้ำหนักในตัวอยู่แล้ว ทำให้แผ่นพื้นไม่แอ่นกลางขณะติดตั้งและเทคอนกรีตทับหน้า
construction-step-that-standardized22

construction-step-that-standardized31

ข้อพึงปฏิบัติ
1. พื้นสำเร็จรูปควรใช้ชนิด 3 ขา เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการแอ่นตัวของพื้น ขณะที่ทำการเทคอนกรีตทับหน้า
2. การค้ำยันถ้าความยาวแผ่นพื้นเกินกว่า 4.00 เมตร ควรมีค้ำยันชั่วคราวตามแนวกึ่งกลางของความยาวแผ่นพื้น
3. หลีกเลี่ยงการสกัดหลังคาน ค.ส.ล. เพื่อปรับระดับการวางแผ่นพื้น
4. การเทคอนกรีตทับหน้า(Topping) ให้ใช้ตระแกรงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ระยะห่าง 20 เซ็นติเมตร ความหนาคอนกรีตทับหน้า 4 เซ็นติเมตร หรือตะแกรง Wire Mesh ขนาด 4 มม. @ 20 เซนติเมตร ควรหลีกเลี่ยงการเทคอนกรีตทับหน้าหนากว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักของพื้นและโครงสร้างอาคาร
5. คอนกรีตพื้นชั้นล่างควรผสมน้ำยากันซึม เพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดินที่อาจส่งผลกระทบต่อวัสดุปูผิวพื้น เช่น กระเบื้อง ไม้ปาร์เกต์ เป็นต้น โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร

งานคอนกรีต

ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารมีความสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้บ้านที่สร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับ คอนกรีต ในงานโครงสร้างอาคาร โดยการเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานในงานโครงสร้าง เสา, คาน, และพื้น เพราะสามารถควบคุมคุณภาพและส่วนผสมของ ปูนซิเมนต์ หิน ทราย และน้ำ ตามมาตรฐานวิศวกรรม ทำให้ได้คุณภาพที่แน่นอน กว่าการใช้โม่ผสมเอง ไม่เกิดความเสียหายแก่คอนกรีตโครงสร้าง และทำให้บ้านมีอายุการใช้งานยาวนาน

นอกจากนี้ในส่วนของโครงสร้างคานชั้นหลังคานั้น วิศวกรของบริษัทฯ ได้กำหนดเป็นมาตรฐาน โดยให้คานโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเท่านั้น(ไม่ใช้เหล็กรูปพรรณ) ทั้งนี้เพื่อให้โครงสร้างของบ้านมั่นคงแข็งแรง มีความคงทนและมีอายุการใช้งานของอาคารที่ยาวนานขึ้น

ข้อพึงปฏิบัติ
1. การเทคอนกรีตโครงสร้างแต่ละประเภท ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องจนแล้วเสร็จในคราวเดียว ถ้าต้องมีการหยุดเทคอนกรีตให้หยุดเทคอนกรีตได้ตามตำแหน่งที่วิศวกรกำหนด เช่น เสา หยุดเทที่ระดับท้องคานที่เสารองรับและต้องเป็นแนวระดับ , คาน หยุดเทได้ที่กึ่งกลางคานและแนวที่หยุดต้อเป็นแนวดิ่ง ฯลฯ เป็นต้น
2. ขณะเทคอนกรีต ควรให้มีผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรอยู่ประจำระหว่างเทคอนกรีต เพื่อคอยควบคุมการเทคอนกรีตให้เป็นไปตามข้อกำหนด

ที่มา:http://www.planban.net/construction-management/66.html

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, คอนกรีต, งานเหล็ก, ตรวจรับงาน, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

เสาเข็มตอก กับ ลักษณะปัญหาที่เกิดกับ เสาเข็ม

Posted on January 2, 2020 by piledriver

2015-05-01-11-10-08_decoชนิดของเสาเข็ม (Types of Pile)  แบ่งชนิดของเสาเข็มตามระบบ CP 2004 : 1972 ที่แบ่งตามการเคลื่อนที่ของดินในระหว่างการติดตั้งเสาเข็ม มี 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. Very Large Displacement Pile เป็นชนิดของเสาเข็มที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของดินมากในระหว่างการติดตั้งเสาเข็ม เสาเข็มชนิดนี้ได้แก่
1.1 เสาเข็มหล่อในที่ (Driven and Cast n Place) โดยการตอกแบบลงไปในดินก่อนเทคอนกรีต
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 24-36 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 1,500 kn.
1.2 เสาเข็มตอก (Driven  precast concrete or Prestressed concrete pile) เป็นเสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 27 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 1,000 kn.
1.3 เสาเข็มไม้ (Timber Pile) เหมาะสมสำหรับสภาพดินที่อยู่ใต้ระดับน้ำใต้ดิน
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 20 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 600 kn.
2. Small Displacement Pile เป็นชนิดของเสาเข็มที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของดินเพียงเล็กน้อยในระหว่างการติดตั้ง เสาเข็มชนิดนี้ได้แก่
2.1 Rolled Steel Section Pile รูปหน้าตัดของเสาเข็มเป็น H-beam หรือ l-beam หรือ Pipe Pile
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 36 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 1,700 kn.
2.2 Screw Pile เหมาะสำหรับงานโครงสร้างชายทะเล เนื่องมาจากเป็นเสาเข็มที่รองรับได้ทั้ง Tension และ Compression
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 24 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 2,500 kn.
3. No Displacement Pile เป็นเสาเข็มชนิดที่ไม่เกิดการเคลื่อนตัวของดินในระหว่างการติดตั้งเสาเข็มชนิดนี้ได้แก่ เสาเข็มเจาะ (Bored and Cast in Place Pile)
– เสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process) เหมาะกับสภาพดินที่ไม่มีน้ำ ความลึกประมาณชั้นทรายชั้นแรกหรือประมาณ 21-24 เมตร
– เสาเข็มเจาะระบบเปียก (Wet Process) เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกมาก

สาเหตุทั่วไปของปัญหาที่เกิดกับเสาเข็ม
1. การออกแบบไม่ถูกต้อง
2. การขนส่ง
3. การตอกเสาเข็ม
4. การควบคุมคุณภาพการผลิตและอายุของเสาเข็มไม่ได้ตามที่กำหนด
5. ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเสียขณะตอกเสาเข็มยังไม่เสร็จ

ลักษณะของปัญหาที่เกิดกับเสาเข็มตอก

– เสาเข็มที่จะนำมาใช้งานจะต้องมีคุณภาพและวิธีการทำงานถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดในแบบรูปรายการและสัญญาจ้าง หรือตามมาตรฐาน วสท. อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าผู้ควบคุมงานจะปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดแล้วมักจะมีปัญหาในการทำงานที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น

1. เสาเข็มแตกร้าว, หัวเสาเข็มแตกหรือหัวเสาเข็มบิ่น, เสาเข็มหัก
เสาเข็มแตกร้าว
1. สาเหตุ  คุณภาพคอนกรีตของเสาเข็ม
การป้องกันและแก้ไข  ตรวจสอบคุณภาพและอายุของคอนกรีต

2. สาเหตุ ความเค้นตามแนวแกน (Tensile Stress) มากเกินไปเนื่องจากการตอกเข็มที่มีขนาดยาวผ่านชั้นดินอ่อนหรือกรณีตอกไปยังชั้นดินแข็งมาก ๆ หรือหิน
การป้องกันและแก้ไข ลดระยะยกของตุ้มลง เพิ่มไม้เนื้ออ่อนเป็นวัสดุรองรับ (Cushion Material) ระหว่างหมวกเหล็กกับเสาเข็มและควบคุม Tensile Stress

3. สาเหตุ ความเค้นตามแนวแกนรวมกับแรงตึง (Tensile Stress and Tension Stress) อันเนื่องมาจากการจำกัดการเคลื่อนไหวระหว่างปั้นจั่นกับเสาเข็มหรือช่องว่างระหว่างหมวกกับตัวเสาเข็มแน่นและคับมาก
การป้องกันและแก้ไข ปรับเสาเข็มให้สามารถเคลื่อนตัวได้ขณะทำการตอกเสาเข็ม

หัวเสาเข็มแตกหรือบิ่น
1. สาเหตุ แรงอัด (Over Compressive Stress) จากแรงกระแทกของปั้นจั่นที่มากเกินไปหรือวัสดุรองรับหัวเสาเข็ม (Pile Cushion) ไม่เพียงพอ
การป้องกันและแก้ไข
– ตรวจสอบ
– การใช้น้ำหนัก, ขนาดของตุ้มและปั้นจั่นให้เหมาะสมกับน้ำหนักเสาเข็ม
– ควบคุมระยะยก (ใช้ตุ้มขนาดใหญ่ยกเตี้ย ๆ ดีกว่าตุ้มเล็กยกสูง)
– เพิ่มวัสดุรองรับหัวเสาเข็ม (Pile Cushion) ให้หนาขึ้น

2. สาเหตุ แรงตัด (Bending Stress) อันเนื่องมาจากพื้นที่หน้าตัดหัวเข็มไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตั้งฉาก แรงกระแทกจากปั้นจั่นจะไปยังจุดใดจุดหนึ่งของหัวเสาเข็มแทนที่จะทั่วทั้งพื้นที่ของหัวเสาเข็ม
การป้องกันและแก้ไข  จัดระนาบให้ตั้งฉากกับหน้าปั้นจั่นที่กระแทกลงมาที่หัวเสาเข็มอย่างเต็มระนาบ ตรวจดูแนวดิ่งเสาเข็มและปั้นจั่น (Alignment) และจุดกระทบของลูกตุ้ม (Drop Hammer)

3. สาเหตุ เหล็กเสริมรับแรงอัด (Prestressing Steel) ไม่ไปสุดที่ปลายเสาเข็มทำให้เกิดแรงเค้น (Stress) มากเกินไปที่บริเวณหัวเสาเข็ม
การป้องกันและแก้ไข  ควบคุมการผลิต

4. สาเหตุ  มีเหล็กเสริมปลอกเกลียว (spiral reinforcement) ไม่พอ
การป้องกันและแก้ไข เพิ่มเหล็กเสริมปลอกเกลียว (spiral) ส่วนที่ยังขาดโดยเฉพาะส่วนหัวของเสาเข็ม

เสาเข็มหัก
ข้อสังเกต
– ค่า Blow Count ลดลงอย่างกระทันหันและอย่างมากในทันที และไม่สูงขึ้นอีก หรือสูงขึ้นช้ามากหรือเสาเข็มเอียงผิดปกติมาก
1. สาเหตุ  แรงอัด (Over Compressive Stress) จากแรงกระแทกของปั้นจั่นที่มากเกินไป หรือวัสดุรองหัวเสาเข็ม (Pile Cushion) ไม่เพียงพอ
การป้องกันและแก้ไข ควบคุมการตอก โดยการตรวจสอบระยะยกของลูกตุ้ม ตรวจสอบดิ่งของเสาเข็ม และค่า Blow Count ขณะตอก
2. สาเหตุ  แรงอัด (Over Compressive Stress) จากการสั่นไหวของเสาเข็ม (Wave up/Wave down) ในการตอกเสาเข็มขนาดยาวผ่านชั้นดินอ่อน
การป้องกันและแก้ไข
– ควบคุมการตอกเสาเข็มในเข็มท่อนแรกที่ผ่านชั้นดินอ่อนให้ควบคุมระยะตอก (ยกตุ้มเตี้ย ๆ)
– ตรวจวัดแรงเค้นตามแนวแกน (Tensile Stress)
3. สาเหตุ  รอยเชื่อม รอยต่อขณะทำการตอก
การป้องกันและแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพของการต่อเชื่อมตามมาตรฐาน AWS (American Welding Society)

4. สาเหตุ  เสาเข็มหักที่ปลาย เนื่องมาจากการตอก เสาเข็มไปยังชั้นดินแข็งมาก ๆ หรือชั้นหิน
การป้องกันและแก้ไข  ใส่ครอบปลายเข็ม (pile Shoe)  หรือปลายเสาเข็ม (Pile Tip) หรือเพิ่มเหล็กเสริมตามปลายเสาเข็ม

2. เสาเข็มเอียง
สาเหตุ
1. แรงดันด้านข้างของดินอ่อนจากการขุดเพื่อเปิดหน้าดิน
2. รอยเชื่อมต่อระหว่างเข็ม 2 ท่อนเปิดออก
3. ตอกเสาเข็มบนดินถมบริเวณลาดดินถม (Embankment) ที่เพิ่งถม เช่น งานสะพาน ทำให้เกิดการบีบอัดของดินในภายหลัง (Lateral Squeeze) ทำให้เข็มเอียง
การป้องกันและแก้ไข
1. ระมัดระวังในการก่อสร้างที่มีน้ำหนักบรรทุกสมทบบนผิวดิน (Surcharge) ที่มีผลต่อเสาเข็มที่ตอกไปแล้ว
2. ตรวจสอบหาความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Pile Integrity) เพื่อหาสภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
3. รอดินถมให้เกิดการทรุดตัวคงที่ (Settlement) จนถึง 90% ของการยุบตัว (Consolidation) ก่อนการตอกเสาเข็ม

3. เสาเข็มหนีศูนย์
วสท.กล่าวถึงในภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้างหมวด 1 -เสาเข็ม โดยกำหนดดังนี้
– ให้เสาเข็มตอกผุดจากตำแหน่งที่กำหนดไม่เกิน 5 ซม.
– ระยะมากที่สุดที่ปลายเสาเข็มจะผิดจากสันดิ่งจากหัวเสาเข็มต้องไม่เกิน 0.1 % ของความยาวของเสาเข็ม
สาเหตุ
1. เนื่องจาก Pile Alignment กับแนวของปั้นจั่นขณะทำการตอกไม่ตรงกัน
2. ความผิดพลาดเนื่องจาก  Survey จาก Grid line
3. แรงดันดินด้านข้างของดินเนื่องจากมีการเคลื่อนตัวของเสาเข็มที่ตอก
4. แรงดันดินข้างซึ่งรับดินจากดินถมช่วงเปิดหน้าดิน
ผลกระทบ
1. เกิดโมเมนต์ที่ฐานราก
2. เสาเข็มรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจนเกินน้ำหนักปลอดภัย
การป้องกันและแก้ไข
1. ควบคุมคุณภาพการตอกเสาเข็ม
2. หาจุดอ้างอิง (Reference) หมุดหลักที่ถูกต้อง
3. จัดทำผังทางเดินปั้นจั่นและควบคุมการเคลื่อนที่ของดินไปในทิศทางเดียวกัน
4. หลีกเลี่ยง Surcharge บริเวณที่ตอกเข็ม
4. เสาเข็มไม่ได้ Blow Count
ข้อสังเกต
– อาจพบได้ในพื้นที่ที่ชั้นดินมีลักษณะเปลี่ยนแปลงมาก
สาเหตุ
1. ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด (Criteria) ที่ต่างกันส่วนใหญ่ที่มาจาก Dynamic Formula จากปั้นจั่นและอุปกรณ์ในการตอก ทำให้ได้ค่าการป้องกัน (Over Conservative) เช่น การใช้ Hiley Formula
2. ความผิดปกติของชั้นดินที่ไม่มี Soil Boring
3. เสาเข็มหัก
การป้องกันและแก้ไข
1. ใช้สมการในการวิเคราะห์การสั่นไหวของเสาเข็ม (Wave Equation Analysis of Pile) ในการวิเคราะห์หาจำนวนโดยอาจเปรียบเทียบกับสูตร Dynamic Formula หลาย ๆ สูตร
2. เจาะสำรวจดินบริเวณนั้น
3. ทดสอบโดยการหาความสมบูรณ์เสาเข็ม

5. เสาเข็มไม่ได้ Tip
สาเหตุ
1. ไม่มีข้อมูลการสำรวจโครงสร้างดิน (Structure Subsurface Investigation)
2. ความผิดพลาดจากวิศวกรผู้ออกแบบ คุมงานที่ใช้ระดับชั้นทรายจากค่า Soil Boring เป็นเกณฑ์ในการหาระดับปลายเสาเข็ม (Tip Elevation) เข็มจะเสียหายเนื่องจากพยายามเข่นเสาเข็มให้ลงไปถึง Tip ที่ต้องการทำให้เกิด Overstress
การป้องกันและแก้ไข
1. เจาะสำรวจดินทำ Soil Boring
2. ออกแบบใหม่หรือวิเคราะห์โดยการใช้ค่า Blow Count ประกอบ หาก Blow Count ได้ก่อนถึง Tip ที่ต้องการให้หยุดแล้วใช้การทดสอบโดย Static หรือ Dynamic Load Test

6. เสาเข็มสั้นหรือยาวเกินไป
1.  สาเหตุ
1. ไม่มี Soil Boring
2. เสาเข็มยังไม่ได้ Blow Count
การป้องกันและแก้ไข
1. เจาะสำรวจดินทำ Soil Boring
2. ให้ต่อความยาวของเสาเข็มและหาน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มโดยใช้ Dynamic Load Test
ผลการเจาะสำรวจชั้นดิน – ชั้นดินที่ระดับความลึก 13.50 ม. เท่ากับ 47 Blows (Hard>32 Blows : over 40 T/m 2)

2. สาเหตุ
1. Over Compressive Stress จากการใช้ Dynamic Formula ในการคำนวณหาน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม
การป้องกันและแก้ไข
1. หากขัดแย้งกับ Soil Boring ให้ใช้การทดสอบโดย Static หรือ Dynamic Load Test

บทความ : www.postengineer.com

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ตรวจรับงาน, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สมอ. | Leave a comment |

ที่ดิน เมืองชลบุรี ไร่ละ 6ล้าน ทำเลดีถูกจริงถูกจัง

Posted on October 2, 2019 by piledriver

IMG_25620913_094746

 

ขายที่ดิน  ด่วน  ถูกมาก  ต่ำกว่าครึ่งของราคาซื้อขายกัน

 

ที่ดินใจกลางชลบุรี ทำเลดี ติดถนนบ้านสวน-หนองข้างคอก ต.บ้านสวนอ.เมืองชลบุรี  จำนวน

10ไร่ 63ตาราวา  ไร่ละ6ล้าน เท่านั้น

 

สนใจซื้อ สายตรงเลยค่ะโทร.081-8333141

 

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

เสาเข็มตอก ชลบุรี ระยองโทร.081-8333141

Posted on August 7, 2017 by piledriver

ภาพจาก การดำเนินงานของ ทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั้น

dsc08793-300x2252

dsc08794-300x2252

dsc08784-300x2252

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: Add new tag, blow count, reinforced concrete, การก่อสร้าง, คอนกรีต, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

เสาเข็ม งานก่อสร้าง

Posted on August 5, 2017 by piledriver

เสาเข็มเปนวัสดุที่ใชแพรหลายมากที่สุดในการรับน้ำหนักของอาคาร โดยเสาเข็มจะรับน้ำ หนักจากฐานรากกอน แลวจึงคอยถายใหดิน ซึ่งจะตางจากฐานรากแบบแผ ที่ดินรับน้ำหนักจากฐากรากโดย ตรง การออกแบบฐานโดยใชเสาเข็ม ก็เพราะดินที่อยูตื้นรับนํน้ำหนักไดนอย จึงตองใชเสาเข็มเปนตัวชวยถาย น้ำหนักขางบนลงไปยังดินชั้นลางที่แข็งกวา ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มขึ้นอยูกับตัวเสาเข็ม เอง (วัสดุที่ใชในการทําเสาเข็ม) และความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน รอบตัวเสาเข็ม (Skin friction) และปลายเสาเข็ม (End Bearing)

วัตถุประสงคในการนําเสาเข็มไปใชงานกอสราง

1. เพื่อถายนํ้าหนักผานนํ้า หรือชั้นดินออนไปยังชั้นดินแข็งที่เหมาะสม ไดแก เสาเข็มรับนํ้า หนักที่ปลาย (End – Bearing – Piles)

2. เพื่อถายน้ำหนักลึกลงไปในชั้นดินออนดวย แรงเสียดทาน (Skin Friction) ตลอดความ ยาวของเสาเข็ม ไดแก เสาเข็มเสียดทาน (Friction Piles)

3. เพื่ออัดใหดินประเภท Granular soils ใหแนนตัวเพื่อเพิ่ม Bearing Capacity ของมันได แก Compaction piles
กรอนหนีไป

4. เพื่อขยายความลึกของฐานรากใหผานบริเวณที่จะเกิด Scouring ปองกันไวเผื่อดินจะสึก

5. เพื่อเปนสมอรั้งโครงสรางตาง ๆ ที่รับแรงถอน (uplift) เนื่องจากแรงดันของนํ้าหรือ Overturning Moment ไดแก Tension piles หรือ Uplift piles
piles

6. เพื่อเปนสมอตานแรงฉุดในแนวนอนจากกําแพงกันดิน หรือแรงฉุดอื่น ๆ ไดแก Anchor

7. เพื่อปองกันเขื่อนเทียบเรือ จากการกระแทกของเรือ หรือวัตถุลอยนํ้าอื่น ๆ ไดแก Fender piles และ Dolphins

8. เพื่อตานทานแรงในแนวราบหรือแรงในแนวเอียงที่มีคามากตาง ๆ ไดแก Batter piles

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ค่าตอกเสาเข็ม, งานหลังคา, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, มาตรา 21, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สมอ., สร้างบ้าน | Leave a comment |

เสาเข็มตอก งานฐานราก

Posted on June 13, 2017 by piledriver

โครงสร้างฐานราก Footing Building
ฐานรากของบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นคง และแข็งแรงแก่ตัวบ้านเป็นอันดับแรก ถ้าจะเปรียบเทียบกับต้นไม้ใหญ่ก็เปรียบเสมือนรากแก้วของต้นไม้เลยทีเดียว ต้นไม้ที่มีรากแก้วใหญ่และหยั่งรากลึกลงไปใน ดิน ยิ่งมากเท่าไหร่ก็ย่อมก่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง แก่ต้นไม้นั้นมากขึ้นเท่านั้น บ้านก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีฐานรากที่ไม่แข็งแรงนั่นเองผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสนใจหรือให้ความสำคัญกับเสาเข็มชนิดใด ขนาดใด เป็นจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาคำนวณ และกำหนดลงไป ซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้างที่จะดำเนินขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ซื้อบ้านหรือ ผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มิได้มีพื้นความรู้ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะเป็นภาระ ที่จะต้องมากังวลหรือสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ความคิดเช่นนี้จะว่าถูกหรือผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่ในการออกแบบหรือควบคุมการปลูกสร้างบ้านแต่ละหลัง บางครั้งก็มิใช่ ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ประสบการณ์และความชำนาญของผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง แต่ละรายด้วย การที่ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านบ้างก็ย่อมจะเป็นการได้เปรียบอย่างน้อยก็เพื่อเป็นข้อคิดหรือข้อสังเกต เมื่อพบสิ่งที่ผิดสังเกตหรือข้อสงสัยจะได้สามารถสอบถามเพื่อขอคำชี้แจงได้ ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านสามารถป้องกันหรือแก้ ปัญหาต่าง ๆ ได้ตั้งแต่แรก เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิต และการใช้งาน ได้แก่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete pile)
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพาณิชย์ และบ้านพักอาศัยทั่วไป เป็นเสาเข็มคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว และโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทก ลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และประหยัดค่าใช้จ่าย เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง สามารถแบ่งแยกย่อย ออกไปได้อีก ตามรูปร่างลักษณะของตัวเสาเข็ม ที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่1. เสาเข็มรูปตัวไอ2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง4. เสาเข็มรูปตัวทีชนิดของเสาเข็ม ส่วนขนาดและความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวงหรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่า หรือต้องการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานรากของรั้วเสาเข็มเจาะ (bored pile)เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้งาน กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะเสาเข็มเจาะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (small diameter bored pile)เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตรขึ้นไป (ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซ็นติเมตร) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นระบบแห้ง (dry process) ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (large diameter bored pile)เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป (ส่วนใหญ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซ็นติเมตร) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก (wet process) ซึ่งแตกต่างจากระบบแห้ง คือ จะต้องเพิ่มขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite slurry ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ หลุมที่มีความลึกมาก ๆ ถึงชั้นทราย หรือหลุมที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะและยึดประสานผิวดินในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมาการใช้เสาเข็มเจาะจะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง
เพราะไม่มีการตอกกระแทกของปั้นจั่นดังเช่นที่ใช้กับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะ นั้นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ใช้กันทั่วไปมีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น อีกทั้งความลึกของเสาเข็มเจาะก็สามารถเจาะได้ลึกกว่าความยาวของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ฉะนั้นเสาเข็มเจาะจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารสูงซึ่งต้องรับน้ำหนักมาก และอาคารที่สร้างใกล้ชิดกันเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งจะเป็น อันตรายต่ออาคารข้างเคียง ในทางปฏิบัติแล้ว ขั้นตอนในการทำเสาเข็มเจาะจะมีรายละเอียดที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่กล่าวไว้มาก ที่กล่าวมาข้างต้นก็แค่เพียวต้องการให้มองเห็นภาพ และขั้นตอนของการทำเสาเข็มเจาะเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น การปลูกบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เพราะมีขั้นตอนที่ง่ายและราคาถูกว่าเสาเข็มเจาะเสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (prestressed concrete spun pile)เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาเชนิด นี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด
เสาเข็มสปัน มีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-100 เซนติเมตร มีความหนา ของเนื้อคอนกรึตอยู่นช่วง 6-14 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 6-18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้ โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจาก เสาเข็มสปัน มีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้มีความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำ และลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสาซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่อ อาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง สูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรง และการเกิด แผ่นดินไหวข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเสาเข็มที่ใช้และกรรมวิธีในการตอกข้อสังเกตในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป1. เสาเข็มที่ใช้ควรอยู่ในสภาพที่ดีไม่มีการแตกหักหรือชำรุดมาก่อน ถ้าเป็นไปได้ควรได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ประทับอยู่ และมีการระบุถึงวัน/เดือน/ปี ที่ทำการผลิตว่าผลิตออกมาเมื่อใด ถ้าเป็นไปได้เสาเข็มที่ใช้ควรจะมีอายุการผลิต 4 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะ เสาเข็มที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่คอนกรีต ที่ใช้ทำเสาเข็มยังบ่มตัวไม่เข้าที่ ความแข็งแกร่งยัง มีน้อยอาจเกิดการชำรุดหรือแตกหักระหว่างการตอกได้2. เสาเข็มที่มีขนาดยาวอาจใช้เสาเข็มขนาดสั้น 2 ท่อนมาเชื่อมต่อกันได้เพื่อความสะดวกในการตอกหรือความสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเหมือนกัน กรรมวิธีในการตอกคือจะทำการตอกเสาท่อนแรกลงไปใน ดินจนเกือบมิดก่อนแล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาท่อนที่สองขึ้นมาจรดกับเสาท่อนแรกในแนวตรง แล้วทำการเชื่อมเหล็กที่ขอบเสาตรงรอยต่อให้ติดกัน การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาทั้ง 2 ท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ3. การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับ การจะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปใน ดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (blow count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็ม จมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดิน ที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้าม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัด และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ
ที่มา :www.pr-thai.com

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, คอนกรีต, งานเหล็ก, ตอกเสาเข็ม, รถตอกเสาเข็ม, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

ปรับพื้นที่ ดิน ก่อสร้าง (ถมดิน)

Posted on June 1, 2016 by piledriver

dsc03479

ภาพจาก: การดำเนินงานของทีมงานยู-ด้า ปั้นจั่น

ปรับพื้นที่ดิน(ขุดดิน-ถมดิน ภายในบริเวณที่ก่อสร้าง)

การปรับหน้าดินให้มีความสูงเสมอพร้อมก่อนลงมือปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน เราอาจมีการปรับพื้นที่ดินภายใน
บริวณที่มีการก่อสร้างให้มีการขุดและถมดินควบคู่กันไป เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีก
อาทิ ดินที่จะได้จากการขุดบนเนิน ,ดินที่ได้จากการขุดเพื่อสร้างชั้นใต้ดิน ,สร้างสระว่ายน้ำ หรือขุดดินเพื่อสร้างบ่อเก็บน้ำใต้ดิน ซึ่งดินที่ได้เราก็นำมาถมในพื้นที่ที่จะก่อสร้างตัวอาคารได้

– การถมดิน ในการสร้างบ้าน ก็เพื่อปรับความสูงของดินในพื้นที่ก่อสร้างให้สูงขึ้น ซึ่งควรจะสูงกว่าระดับถนนตั้งแต่ห้าสิบเซนติเมตรขึ้นไป โดยอาจพิจารณาถึง ความสูงของระดับถนน ,ระดับการท่วมถึงของน้ำ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เพื่อความสวยงามด้านทัศนยีภาพ และเหมาะสมกับสถานที่ที่ทำการก่อสร้าง

– การขุดดิน กรณีขุดต่ำกว่า สองเมตรครึ่งขึ้นไป เราอาจใช้วิธีตอกเข็มไม้ยาวตลอดแนวการขุดเป็นพืดเพื่อกันดินถล่ม หรือขุดดินปรับเป็นแนวเอียง ถ้าเนื้อดินมีความเหนียวพอ ก็ไม่ต้องใช้เข็มไม้ตอก กรณีมีการขุดดินในระดับลึกห้าเมตรขึ้นไป จะต้องใช้แผ่นเหล็กตอกเป็นแนวกันดินถล่ม

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ปั้นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี

Posted on June 1, 2016 by piledriver

ภาพผลการดำเนินงาน ของ ทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

copy-of-dsc05139-225x300

งานปั้นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
dsc06350-300x225

ติดต่อโทร 081-8333141 , 081-9969040

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, คอนกรีต, ค่าตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, มอก., รถตอกเสาเข็ม, รับตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |
Next Page »

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver