• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Tag Archives: ค่าตอกเสาเข็ม

เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว

Posted on October 12, 2020 by piledriver

ภาพการปกครองตัวของอาคาร

อาคารที่เกิดการปกครองตัว

อาคารที่พักอาศัยที่มีการต่อเติมแล้วเกิดการทำงานของตัวเองมักจะมีสาเหตุมาจากการใช้เสาสัญญาณที่มีขนาดสั้นหรือยาวน้อยกว่าเสาของตัวอาคารซึ่งหากพบการทำงานไม่ควรควรปรึกษาวิศวะหรือผู้ ที่มีความรู้เพื่อให้ผู้ตรวจสอบและควรให้การวินิจฉัยโดยด่วน

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ก่อสร้าง, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

จัดวางตำแหน่งเสาเข็มตอก

Posted on January 30, 2020 by piledriver

dsc07011

dsc06416

dsc07004

ภาพจากการดำเนินงานของ ทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

การจัดตำแหน่งของเสาเข้มที่จะตอก

การจัดตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก ต้องให้อยู่ในตำแหน่งที่วิศวกรกำ หนด ให้ผิดพลาดได้ไม่เกิน 5-10 ซม. ถ้าตอกผิดมากกว่านี้ จะเกิดแรงหนีศูนย์ขึ้น และเสาเข็มจะรับแรงโมเมนต์ดัด จะเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นชนิดเข้มกลุ่มให้ตอกจากภายในมาสู่ภายนอก หรือถ้าตอกเข็มใกล้อาคารข้างเคียง ให้ตอกจากใกล้อาคารข้างเคียงก่อน แล้วค่อยตอกไล่ออกมาภายนอก เพราะปริมาตรดินที่เข็มแทนที่นั้น จะไปดันเข็มเดิม หรือเข็มที่ตอก ก็มีความสำคัญมาก การตอกเข็มต้องใช้หมอนรองรับ เช่น อาจใช้กระสอบหรือไม้ เพื่อลดแรงกระแทกจากลูกตุ้ม เมื่อตอกได้ความต้านทานที่ต้องการแล้ว ให้หยุดตอก เพราะถ้าทำการตอกต่อไป หัวเสาเข็มอาจเสียหายได้ เช่น ควรหยุดเมื่อผลการตอกเสาเข็มดังนี้
เสาเข็มคอนกรีต 6 – 8 ครั้ง / การจม 1 นิ้วระหว่างตอกเข็ม ต้องคอยแก้ทิศทางของเสาเข็ม ถ้าผิวหน้าไม่เรียบ เข็มอาจเปลี่ยนทิศทางได้ ถ้าระหว่างตอกเสาเข็มเปลี่ยนทิศทาง หรือตอกจมผิดปกติ เสาเข็มอาจจะหัก เสาเข็มต้นนั้นใช้ไม่ได้
การตอกเสาเข็มบริเวณดินเหนียว หรือดินตะกอน (Silt) คือดินพวกที่นํ้าหนีได้ช้า เมื่อเสาเข็มแทนที่ดินทำ ให้แรงดันของนํ้าในดิน (pore water pressure) เพิ่มขึ้น ทำ ให้มีกำ ลังดันเสาเข็มให้ลอยขึ้นมา หรือเรียกว่า เสาเข็มจะรับนํ้าหนักบรรทุกได้มากกว่าปกติในช่วงแรกของการตอก ไม่มีผลเท่าไรนัก ถ้าเข็มนั้นเราออกแบบให้รับนํ้าหนักแบบเสียดทาน แต่ถ้าเป็นเสาเข็มชนิดรับนํ้าหนักที่ปลายจะทรุดตัวเร็วในช่วงแรก และจะเป็นข้อผิดพลาดมากถ้าเราตอกเข็ม เพื่อทำ เป็นหมุดหลักฐาน ของการสำ รวจค่าระดับ เว้นแต่ได้ตอกเสาเข็มต้นใกล้เคียง เสร็จเรียบร้อยแล้ว การตอกเข็มในดินเหนียวบางชนิด ดินจะถูกรบกวนมาก ทำ ให้ดินรับนํ้าหนักได้น้อยลงอาจทิ้งไว้หลังจากตอกเสาเข้มเสร็จแล้ว หนึ่งถึงสองเดือนหรืออาจมากกว่า จึงทำ การก่อสร้างได้

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ปลูกสร้างบ้าน – ฐานราก (เสาเข็ม)

Posted on July 25, 2019 by piledriver


dsc05122

ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
นัยว่า สุภาษิตคำพังเพยนี้ ยังคงใช้ได้ อยู่ทุกยุคสมัย ถ้าไม่เคยได้อยู่บ้าน ที่ถูกใจเรา มันก็เหมือนยังหา “บ้าน” ของเราไม่เจอ กับการที่จะมีบ้านของตัวเองสักหลัง มีหลายเรื่องทีเดียว ที่เราสมควรต้องพิจารณา
1. แบบบ้าน บ้านมีหลายแบบ หลายสไตล์ เจ้าของชอบแบบไหน ต้องเลือกให้ได้เสียก่อน ถ้า ยังเลือกแบบไม่ได้ เรื่องอื่นเป็นอันไม่ต้องพูดถึง ในส่วนนี้ คุณอาจจะต้องเกี่ยวข้องกับ วิศวกร และ สถาปนิก ในการออกแบบ
2. คนสร้างบ้าน ถ้าคุณเป็นช่าง ข้อนี้ก็ผ่านไป แต่ถ้าใครไม่ได้เป็นช่าง ข้อนี้นับว่าสำคัญทีเดียว เราจะพบเห็นหลายกรณีทีเดียว ที่เจ้าของบ้านทะเลาะกับช่างรับเหมา ถ้าได้ช่างดี นับว่า เป็นบุญ แสดงว่าชาติก่อน ทำบุญมาดี แต่ได้ช่างที่แย่ ก็ทำให้ปวดหัวได้เหมือนกัน เพราะบางบ้าน กว่าบ้านจะเสร็จ ต้องเปลี่ยนช่างไปเป็นโหล
3. ผ่านจากสองข้อด้านบน ก็จะเป็นการ ติดต่อกับหน่วยงานราชการ ที่เราต้องยื่นแบบเพื่อน ขออนุญาต สร้างบ้าน เมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว ก็ลงมือได้
4. เริ่ม งานฐานราก โดยปกติแล้วส่วนนี้จะทำก่อน โดยมี งานเสาเข็ม เป็นพระเอก โดยถ้าให้ลึกลงไปอีก เราก็จะแยกเสาเข็มได้เป็น 2 ชนิดคือ
4.1 เสาเข็มเจาะ
4.2 เสาเข็มตอก
โดยเราสามารถดูจากแบบบ้านของเรา ในข้อ 1 ว่า บ้านเราใช้แบบไหน สำหรับหน้าที่ของ เสาเข็ม คือ เป็นตัวกลาง การรับถ่ายน้ำหนัก จากโครงสร้างลงสู่ฐานราก โดยที่ต้องใช้การคำนวณโดยวิศวกร ว่า จะต้องใช้เสาเข็ม แบบไหน และการกระจายน้ำหนัก จะเป็นเช่นไร ในขั้นตอน การตอกเสาเข็มนี้ เราจะเห็นช่าง ทำงานกันหลายอย่างมาก โดยทั่วไปแล้ว จะมีลำดับในการทำงานคือ
dsc03530

1.วางหมุดเสาเข็ม ขั้นตอนนี้ ทำเพื่อ หาตำแหน่งของการตอก ซึ่งเราต้องทำการวางผังของอาคาร หรือ สิ่งก่อสร้างก่อนเป็นอันดับแรก เราจะเห็นช่าง ตอกไม้ วางผัง ตอกเฟรมกันวุ่นไปหมด ในตอนนี้

2.ตอก-เจาะ เสาเข็ม เมื่อหาตำแหน่ง ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว เราจะเห็นการทำงานของเครื่องตอกเสาเข็ม เช่น ปั้นจั่น รถตอกเสาเข็ม ช่วงนี้ อาจมีการสั่นสะเทือนไปยังบ้านข้าง ๆ ได้ บางราย บ้านข้างๆ ร้าว หรือ ทรุด ก็ต้องตามไปชดใช้ บางที ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลก็มี นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ดีเสียเลย ที่สร้างศัตรูตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าอยู่เสียแล้ว

3.ทดสอบการชำรุด ขั้นตอนนี้ หากคิดว่า ไม่จำเป็น ก็ให้ผ่านเลยไป แต่ถ้าไม่มั่นใจว่า บ้านที่เราต้องอยู่ไปตราบชั่วลูกชั่วหลาน จะอยู่ได้นานหรือไม่ ควรทดสอบว่า เสาเข็ม ที่ตอกลงไป มีการชำรุดหรือไม่ ทั้งนี้ต้องใช้ผู้ชำนาญเฉพาะด้าน มาทำการตรวจสอบ ซึ่งก็มีค่าใช้จ่าย

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ยู-ด้า ปั้นจั่น ตอกเสาเข็มชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา

Posted on February 15, 2019 by piledriver

งานตอกเสาเข็ม เราคือมืออาชีพ

-ประสบการณ์มากกว่า 20ปี

-มีผลงานมากมายเป็นประกัน

งานเล็ก งานใหญ่ งานตอกเสาเข็มต้นเดียวเราก็ไป วางใจมืออาชีพ ในราคาย่อมเยา

ยู – ด้า ปั้นจั่น

โทร.08-1833-3141, 08-1996-9040

ยู-ด้า ปั้นจั่น

 

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ตอกเสาเข็ม ราคาคิดกันอย่างไร

Posted on January 18, 2019 by piledriver

ภาพการดำเนินงาน ของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

dsc06320

ภาพการดำเนินงาน ของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น ฝ่ายปั้นจั่นสาน (ในช่วงฤดูฝน)

ภาพการดำเนินงาน ทีมงานยู-ด้า ปั้นจั่น (ช่วงฤดูฝน)

ภาพการดำเนินงาน ทีมงานยู-ด้า ปั้นจั่น ฝ่ายปั้นจั่นรถ (ช่วงฤดูฝน)

การคิดงาน ตอกเสาเข็ม

ใครที่อยากรู้ว่า เราสร้างบ้าน ต้อง ตอกเสาเข็ม ต้องเสียเงินเท่าไหร่ เขาคิดราคากันอย่างไร วันนี้ จะมาเล่าให้ฟัง ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา ในการคิดงาน ตอก เสาเข็ม มีดังนี้
1.ชนิดของเสาเข็ม เช่น
1.1 เสาเข็มเจาะ
1.2 เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา
1.3 เสาเข็ม คอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง
1.4 เสาเข็มไม้
2. มิติ ของเสาเข็ม (ขนาด + ความยาว)
3. จำนวน เสาเข็ม
4. สถานที่ก่อสร้าง เอื้ออำนวย ต่อการจัดเก็บอุปกรณ์หรือไม่ หากไม่เอื้อ จะต้องนำค่าใช้จ่ายในการขนย้ายอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมมาคิดด้วย
5. ค่าใช้จ่ายในการทดสอบการรับน้ำหนักของ เสาเข็ม (ถ้ามี)
6. ค่าแรง ตอกเสาเข็ม พิจารณาจาก
6.1 ขนาด + ความยาว ของ เสาเข็ม
6.2 อุปกรณ์ในการ ตอกเสาเข็ม รวมถึง ค่าขนย้ายอุปกรณ์
6.3 ลักษณะการ ตอกเสาเข็ม ว่า เป็นกลุ่ม หรือ เดี่ยว

Posted in ความรู้ทั่วไป, รับตอกเสาเข็ม | Tags: ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, รับตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม | Leave a comment |

ตอกเสาเข็ม และจำหน่าย เสาเข็ม ชลบุรี ระยอง

Posted on October 29, 2018 by piledriver

dsc083251ยู-ด้า ปั้้นจั่น โทร.  081-8333141,

โทร 081-9969040

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ค่าตอกเสาเข็ม, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

เสาเข็ม งานก่อสร้าง

Posted on August 5, 2017 by piledriver

เสาเข็มเปนวัสดุที่ใชแพรหลายมากที่สุดในการรับน้ำหนักของอาคาร โดยเสาเข็มจะรับน้ำ หนักจากฐานรากกอน แลวจึงคอยถายใหดิน ซึ่งจะตางจากฐานรากแบบแผ ที่ดินรับน้ำหนักจากฐากรากโดย ตรง การออกแบบฐานโดยใชเสาเข็ม ก็เพราะดินที่อยูตื้นรับนํน้ำหนักไดนอย จึงตองใชเสาเข็มเปนตัวชวยถาย น้ำหนักขางบนลงไปยังดินชั้นลางที่แข็งกวา ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มขึ้นอยูกับตัวเสาเข็ม เอง (วัสดุที่ใชในการทําเสาเข็ม) และความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน รอบตัวเสาเข็ม (Skin friction) และปลายเสาเข็ม (End Bearing)

วัตถุประสงคในการนําเสาเข็มไปใชงานกอสราง

1. เพื่อถายนํ้าหนักผานนํ้า หรือชั้นดินออนไปยังชั้นดินแข็งที่เหมาะสม ไดแก เสาเข็มรับนํ้า หนักที่ปลาย (End – Bearing – Piles)

2. เพื่อถายน้ำหนักลึกลงไปในชั้นดินออนดวย แรงเสียดทาน (Skin Friction) ตลอดความ ยาวของเสาเข็ม ไดแก เสาเข็มเสียดทาน (Friction Piles)

3. เพื่ออัดใหดินประเภท Granular soils ใหแนนตัวเพื่อเพิ่ม Bearing Capacity ของมันได แก Compaction piles
กรอนหนีไป

4. เพื่อขยายความลึกของฐานรากใหผานบริเวณที่จะเกิด Scouring ปองกันไวเผื่อดินจะสึก

5. เพื่อเปนสมอรั้งโครงสรางตาง ๆ ที่รับแรงถอน (uplift) เนื่องจากแรงดันของนํ้าหรือ Overturning Moment ไดแก Tension piles หรือ Uplift piles
piles

6. เพื่อเปนสมอตานแรงฉุดในแนวนอนจากกําแพงกันดิน หรือแรงฉุดอื่น ๆ ไดแก Anchor

7. เพื่อปองกันเขื่อนเทียบเรือ จากการกระแทกของเรือ หรือวัตถุลอยนํ้าอื่น ๆ ไดแก Fender piles และ Dolphins

8. เพื่อตานทานแรงในแนวราบหรือแรงในแนวเอียงที่มีคามากตาง ๆ ไดแก Batter piles

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ค่าตอกเสาเข็ม, งานหลังคา, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, มาตรา 21, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สมอ., สร้างบ้าน | Leave a comment |

ตอกเสาเข็ม – วิธีดูโฉนดที่ดิน

Posted on March 30, 2017 by piledriver

กว่าจะได้เป็นเจ้าของที่ดินสักแปลงในทำเลที่ถูกใจ สิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม อันดับต้นๆ ก็คือ โฉนดที่ดิน

โฉนดที่ดิน ดูยังไง บอกอะไรเราบ้าง ?

โฉนดที่ดิน ดูยังไง ? ทุกวันนี้ มีมิจฉาชีพมากมาย ที่หากินโดยไม่สุจริต เรื่องการซื้อขายบ้าน ก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่มีมิจฉาชีพแฝงตัวอยู่มากมาย เพราะฉะนั้นเนี่ยก่อนที่เราจะทำการซื้อขายบ้าน หรือที่ดินกัน ควรจะตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนเลยในขั้นแรกว่า คนที่เอาบ้าน หรือที่ดินมาขายเราเนี่ย เขาเป็นเจ้าขอจริงๆ หรือเปล่า พื่นที่ตรงกับที่เจ้าของที่ดินโฆษณาไว้หรือเปล่า ซึ่งสิ่งที่จะยืนยันได้ดีที่สุดนั่นก็คือ “โฉนดที่ดิน” ครับ

ทีนี้หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ ถ้าไม่ใช่เจ้าของที่ดินจริงๆ แล้วปลอมโฉนดมาแอบอ้างเนี่ย ถึงเวลาไปโอนที่ ณ กรมที่ดินเนี่ย ยังไงก็ไม่น่ารอดสายตาเจ้าหน้าที่อยู่แล้วไม่ใช่หรอ คำตอบคือใช่ครับ แต่กรณีที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คือ อาณาเขตที่ดิน หรือพื้นที่ ไม่ตรงกับที่คุยกันไว้ ซึ่งก่อนซื้อเราก็ควรตรวจสอบจาก โฉนด นี่แหละ ว่าใช่ขอบเขต บริเวณที่เราต้องการหรือเปล่า

Step 1 : ดูประเภทของโฉนด

โฉนดที่ดิน ดูยังไง ? ในข้อแรกก็ตามหัวข้อเลยครับ ก่อนจะตัดสินซื้อเนี่ย ให้ดูก่อนเลยว่า ที่ดินแปลงนี้มันมีโฉนดเป็นประเภทไหน เพราะมันสามารถบอกเราได้ว่าซื้อขายกันได้หรือเปล่า ติดสัญญาอะไรอยู่มั้ย โดยดูได้จากตัวอักษรบริเวณขวาบน และสีของครุฑครับ

โฉนดที่ดิน นส.4 (สัญลักษณ์เป็นครุฑแดง) – ถ้าเจอโฉนดประเภทนี้สบายใจไปเปราะนึงครับ เป็นประเภทที่มักพบได้เป็นส่วนใหญ่ในเขตเมืองทั่วไป คือ บ่งบอกว่าสามารถซื้อขายได้ โอนกรรมสิทธิ์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย และอาจจะมีการแยกประเภทย่อยไปอีก เช่น น.ส. ๔ (ก-จ) เป็นการบอกความเก่าใหม่ของเวอร์ชั่นโฉนด ซึ่งปัจจุบันใหม่ล่าสุด(พ.ศ.2560) คือ จ. แต่…..ยังไม่จบแค่นั้นครับ! จากนั้นให้พลิกไปที่ด้านหลัง ว่าเป็น “โฉนดหลังแดง” รึเปล่า โฉนดหลังแดง  (แบบเดียวกับโฉนดที่ดิน นส.4) – คือโฉนดที่ดิน นส.4 ตามที่ว่าไว้ที่ข้อแรกแหละครับ แต่พอพลิกดูข้างหลังก็จะพบว่ามีเงื่อนไขบางอย่างเขียนไว้ เช่น ห้ามโอนภายในสิบปี นับตั้งแต่วันที่……. ซึ่งความหมายก็ คือ ห้ามโอนจนกว่าจะครบเวลาที่สัญญาได้กล่าวไว้นั่นแหละครับ เพราะฉะนั้นการจะซื้อ ขายถ้ายังไม่พ้นช่วงย่อมทำไม่ได้นะครับ และมีเงื่อนไขที่ควรรู้เพิ่มเติม ดังนี้ครับสามารถทำสัญญา จำนองได้ตามปกติ แต่ไม่สามารถฟ้องบังคับคดี เพื่อขายทอดได้ ถ้ายังไม่พ้นระยะเวลาไม่สามารถนำมาทำสัญญา ของฝากได้ถ้าต้องการจะซื้อขายกันล่วงหน้าก่อนหมดสัญญาจริงๆ มักใช้การ โอนลอย

 

เอกสาร นส.3 ก. (สัญลักษณ์เป็นครุฑเขียว) – เป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าเราได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ มีการระวางรูปถ่ายทางอากาศเป็นหลักแหล่ง  คุณสมบัติใกล้เคียงกับโฉนด ซื้อขาย จำนองแบ๊งค์ได้ และสามารถไปยื่นเรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินได้ในอนาคตเอกสาร นส.3 และ น.ส.3 ข. (สัญลักษณ์เป็นครุฑดำ) – เป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือรับรองจะแสดงถึงสิทธิ์การครอบครองของเจ้าของ แต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศที่แน่ชัด จะซื้อขายต้องรอประกาศจากราชการ 30 วัน 

สรุปในหัวข้อแรกเลยนะครับ ที่ดินที่ทำการซื้อขายแล้วอุ่นใจที่สุดคือ โฉนดที่ดิน นส.4 แบบไม่หลังแดง นอกเหนือจากนั้นควรศึกษาเพิ่มเติมให้ดีก่อนนะครับ

Step 2 : ดูรายละเอียดในโฉนด

หลังจากที่เราดูแล้วว่าโฉนดที่ดินนี้สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้แล้ว เราจะมาดูในส่วนของรายละเอียดที่ดิน ซึ่งสามารถบอก ทำเลที่ตั้ง, ขนาดพื้นที่, รายละเอียดของเจ้าของที่ดิน และประวัติการเปลี่ยนมือเจ้าของ รวมถึงสถานะของที่ดิน ณ ปัจจุบัน ซึ่งเราจะดูเป็นส่วนๆ ที่ควรรู้ แบ่งได้ ดังนี้

ส่วนระบุตำแหน่งที่ดิน

 

ส่วนตำแหน่งที่ดิน – จะประกอบไปด้วยข้อมูล ดังนี้เลขระวาง คือ เลขรหัสที่ใช้บ่งบอก บริเวณตำแหน่งที่ดิน ว่าอยู่แถวไหนเลขที่ดิน คือ เลขที่แสดงตำแหน่งของที่ดินที่อยู่ในระวางเดียวกัน (เจาะลึกลงจากเลขระวาง)หน้าสำรวจ คือ เลขแสดงแปลงที่ดิน (เจาะลึกลงจากเลขที่ดิน)ตำบลส่วนโฉนดที่ดิน – จะประกอบไปด้วยข้อมูล ดังนี้เลขที่โฉนดเล่ม และหน้าอำเภอจังหวัด

สำหรับข้อมูล ตำแหน่งที่ดิน และโฉนดที่ดินเหล่านี้เราสามารถนำมาใช้ค้นหางตำแหน่ง และรูปแบบแปลงที่ดินได้จาก dolwms.dol.go.th/ ซึ่งสามารถดูวิธีการตรวจสอบได้ ตาม Link นี้ ค้นหา แปลงที่ดิน ง่ายๆผ่าน Website , ค้นหา แปลงที่ดิน ง่ายๆผ่าน App มือถือ

และนอกจากนี้ยังสามารถใช้ หาราคาประเมิณจากกรมที่ดิน ได้จาก https://www.tgis-pv.treasury.go.th/index.php/view?lang=thai  ซึ่งสามารถดูวิธีการตรวจสอบได้ ตาม Link นี้ ค้นหา ราคา ประเมิน ที่ดิน แบบออนไลน์

ส่วนที่ระบุตัวตนเจ้าของโฉนด

ส่วนนี้จะเป็นชื่อ ที่อยู่ ของผู้ที่ครอบครองโฉนดนี้เป็นคนแรกครับ ส่วนถ้ามีการเปลี่ยนเจ้าของที่ดิน ก็จะถูกบันทึกอยู่ในโฉนดด้านหลังแทนครับ สำหรับบางคนที่รู้สึกแปลกๆ ทั้งๆที่เราเป็นเจ้าของโฉนดแท้ๆในปัจจุบัน แต่ชื่อในโฉนดหน้าแรกกลับไม่ใช่ชื่อของเรา ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ ตรงนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้ท่านจะไปแจ้งหาย หรือขอเปลี่ยนใบใหม่ก็ตาม แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนจริงๆ แนะนำเป็นว่าต้องไปแจ้งขอแบ่งแยกที่ดิน ซึ่งยุ่งยาก แล้วเสียเงิน เสียทองเปล่าๆครับ

ส่วนรูปแปลงที่ดิน

ส่วนนี้จะมีการบอก เนื้อที่โดยประมาณ, อัตราส่วนของแปลงที่ดิน และรูปแปลงที่ดิน

ส่วนบอกประวัตินิติกรรมที่เคยทำ

ส่วนนี้จะคือด้านหลังโฉนดครับ จะบอกถึงประวัติการทำนิติกรรมทั้งหมด เช่น เคยมีใครครอบครองไว้บ้าง เป็นระยะเวลาเท่าไหร่, เคยนำไปจำนอง หรือติดจำนองอยู่หรือเปล่า รวมทั้งสามารถบอกได้ว่าติดเงื่อนไข ว่าเป็นโฉนดหลังแดง(ห้ามมีการโอน) หรืแเปล่า เป็นต้น

Step 3 : ตรวจสอบโฉนด ว่าเป็นของจริงหรือไม่

สำหรับขั้นตอนนี้ ข้อมูลที่เราได้จากโฉนดที่ทางผู้ขายบ้านนำมาให้เราดูนั้น สามารถมีการปลอมแปลงได้ หากเกิดเหตุนี้จริงอาจจะทำให้เราได้รับความเสียหายได้ เพราะฉะนั้น ถ้ารู้สึกว่ามีอะไรไม่ชอบพากล ควรตรวจสอบดูว่า โฉนดที่ได้รับมานั้นเป็นของจริงหรือไม่ ซึ่งวิธีการก็มีหลายแบบ หลายขึ้นตอน สามารถติดตามได้ที่ ตรวจสอบ โฉนด ปลอม หรือจริง ดูยังไง

Step 4 : นำข้อมูลที่ได้จาก โฉนด เปรียบเทียบกับพื้นที่จริง

เมื่อเราได้รับข้อมูลมาจากโฉนดแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องตรวจสอบพื้นที่จริง ก่อนซื้อขาย หรือทำนิติกรรมใดๆ สำคัญมากนะครับ อย่าไว้ใจ เป็นอันขาด ยังไงๆ ก็ต้องไปลงดูพื้นที่จริงให้ได้ จากนั้นก็ดูคร่าวๆว่าที่นั้น ตรงกับข้อมูลในโฉนดหรือไม่ ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดี ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าการซื้อ ขาย หรือทำนิติกรรมใดๆ ของเรานั้นจะเป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่ถูกหลอก ถูกโกงแน่นอนครับ
ขอบคุณบทความดีๆ จากบ้านเฮงๆ.com
(www.baan-hengheng.com)

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

ปั้นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี

Posted on June 1, 2016 by piledriver

ภาพผลการดำเนินงาน ของ ทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

copy-of-dsc05139-225x300

งานปั้นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
dsc06350-300x225

ติดต่อโทร 081-8333141 , 081-9969040

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, คอนกรีต, ค่าตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, มอก., รถตอกเสาเข็ม, รับตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

เสาเข็มตอก ชลบุรี ระยอง และจังหวัดใกล้เคียง

Posted on November 3, 2015 by piledriver

ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก (ปั่นจั่นรถ, ปั้นจั่นสาน)
งานเล็ก งานใหญ่ วางใจมืออาชีพ ในราคาย่อมเยา
ต้อง ยู-ด้า ปั้นจั่น เท่านั้น
ติดต่อโทร. 081-8333141 ,081-9969040

dsc08782

ภาพจาก การดำเนินงานของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

dsc08793

ภาพจากการดำเนินงาน ของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |
Next Page »

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver