• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Tag Archives: ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน

ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี

Posted on November 9, 2020 by piledriver
ภาพงานยู - ด้าปั้นจั่น

ภาพงานยู – ด้าปั้นจั่น

IMG_25621001_143748

IMG_25621001_143719

 

 

ก่อนตอกเข็ม

 


1. เช็ควันที่ผลิต (ถ้ามี)
2. ตรวจดูตรามอก.
3. ให้ดูว่ามีเข็มหักระหว่างขนส่งขนย้ายหรือไม่

หลังหัก
1. ตัดปลายเสาเข็มให้ได้ระดับใกล้เคียงกันประมาณ 15-20 ซม. จากการดูดซึมข้อเสนอ 2
2. ถอนขนผ่าน 5 ซม. ควรปรับระดับด้วยทรายขาวก่อน
3. ถ้ามีเหล็กเสริมอย่าหล่อด้วยเหล็กที่แข็งเกินไป

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: Add new tag, การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, งานหลังคา, งานเหล็ก, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม

Posted on October 12, 2020 by piledriver

โปรแกรมคำนวณการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
Hiley ‘ s Formula วิศวกร : เอกพล ฉิ้มพงษ์ สย.6751
Pile Type : I 0.18×0.18×18.00 โครงการ :
สูตร : Qu = [(WHZ)/(S+C/2)] x [(W+Pr^2)/(W+P) Factor of safety(F.S.) = 3
นน.ลูกตู้ม (W) = 4 Ton, นน.เสาเข็ม( P ) = 1.1 Ton, Equipment Loss Factor (Z) = 0.8
Temporary(C) = 1.1 , Coff. of resitution( r ) = 0.25
(S) ระยะยก ระยะยก ระยะยก ระยะยก
ระยะทรุดตัว 30 40 60 80
ซม. / ครั้ง Qu Qa Qu Qa Qu Qa Qu Qa
5.00 โปรแกรมคำนวณการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
Hiley ‘ s Formula วิศวกร : เอกพล ฉิ้มพงษ์ สย.6751
Pile Type : I 0.18×0.18×18.00 โครงการ :
สูตร : Qu = [(WHZ)/(S+C/2)] x [(W+Pr^2)/(W+P) Factor of safety(F.S.) = 3
นน.ลูกตู้ม (W) = 4 Ton, นน.เสาเข็ม( P ) = 1.1 Ton, Equipment Loss Factor (Z) = 0.8
Temporary(C) = 1.1 , Coff. of resitution( r ) = 0.25
(S) ระยะยก ระยะยก ระยะยก ระยะยก
ระยะทรุดตัว 30 40 60 80

ซม/ครั้ง Qu . Qa . QU . Qa . Qu . Qa . Qu . Qa
5.00 13.80 4.60 18.40 6.13 27.60 9.20 36.80 12.27

4.00 16.83 5.61 22.44 7.48 33.67 11.22 44.89 14.96

3.00 21.57 7.19 28.77 9.59 43.15 14.38 57.53 19.18

2.50 25.11 8.37 33.48 11.16 50.22 16.74 66.96 22.32

2.00 30.03 10.01 40.05 13.35 60.07 20.02 80.09 26.70

1.80 32.59 10.86 43.45 14.48 65.18 21.73 86.91 28.97

1.60 35.62 11.87 47.50 15.83 71.24 23.75 94.99 31.66

1.40 39.28 13.09 52.37 17.46 78.55 26.18 104.74 34.91

1.20 43.76 14.59 58.35 19.45 87.53 29.18 116.71 38.90

1.00 49.41 16.47 65.88 21.96 98.82 32.94 131.76 43.92

0.90 52.82 17.61 70.43 23.48 105.64 35.21 140.85 46.95

0.80 56.73 18.91 75.64 25.21 113.46 37.82 151.29 50.43

0.70 61.27 20.42 81.69 27.23 122.54 40.85 163.39 54.46

0.60 66.60 22.20 88.80 29.60 133.20 44.40 177.60 59.20

0.50 72.94 24.31 97.25 32.42 145.88 48.63 194.51 64.84

0.40 80.62 26.87 107.49 35.83 161.24 53.75 214.98 71.66

0.30 90.10 30.03 120.14 40.05 180.21 60.07 240.28 80.09

0.20 102.12 34.04 136.16 45.39 204.24 68.08 272.31 90.77

0.10 117.83 39.28 157.10 52.37 235.66 78.55 314.21 104.74

0.05 127.65 42.55 170.20 56.73 255.29 85.10 340.39 113.46

ตัวอย่างการอ่านค่าจากตาราง Qu = กำลังรับ นน. บรรทุกประลัยของเสาเข็ม ( ตัน )
เมื่อใช้ลูกตู้มหนัก 4 ตัน Qa = กำลังรับ นน. บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม ( ตัน )
ระยะยกลูกตู้ม 30 ซม. , ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 1 ครั้ง เฉลี่ยจากการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (ซม.) = 0.80
เสาเข็มจะรับน้ำหนักบรรทุกประลัย = 56.73 ตัน , Factor of safety ( F.S.) = 3
เสาเข็มจะรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย = 18.91 ตัน

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว

Posted on October 12, 2020 by piledriver

ภาพการปกครองตัวของอาคาร

อาคารที่เกิดการปกครองตัว

อาคารที่พักอาศัยที่มีการต่อเติมแล้วเกิดการทำงานของตัวเองมักจะมีสาเหตุมาจากการใช้เสาสัญญาณที่มีขนาดสั้นหรือยาวน้อยกว่าเสาของตัวอาคารซึ่งหากพบการทำงานไม่ควรควรปรึกษาวิศวะหรือผู้ ที่มีความรู้เพื่อให้ผู้ตรวจสอบและควรให้การวินิจฉัยโดยด่วน

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ก่อสร้าง, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

จัดวางตำแหน่งเสาเข็มตอก

Posted on January 30, 2020 by piledriver

dsc07011

dsc06416

dsc07004

ภาพจากการดำเนินงานของ ทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

การจัดตำแหน่งของเสาเข้มที่จะตอก

การจัดตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก ต้องให้อยู่ในตำแหน่งที่วิศวกรกำ หนด ให้ผิดพลาดได้ไม่เกิน 5-10 ซม. ถ้าตอกผิดมากกว่านี้ จะเกิดแรงหนีศูนย์ขึ้น และเสาเข็มจะรับแรงโมเมนต์ดัด จะเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นชนิดเข้มกลุ่มให้ตอกจากภายในมาสู่ภายนอก หรือถ้าตอกเข็มใกล้อาคารข้างเคียง ให้ตอกจากใกล้อาคารข้างเคียงก่อน แล้วค่อยตอกไล่ออกมาภายนอก เพราะปริมาตรดินที่เข็มแทนที่นั้น จะไปดันเข็มเดิม หรือเข็มที่ตอก ก็มีความสำคัญมาก การตอกเข็มต้องใช้หมอนรองรับ เช่น อาจใช้กระสอบหรือไม้ เพื่อลดแรงกระแทกจากลูกตุ้ม เมื่อตอกได้ความต้านทานที่ต้องการแล้ว ให้หยุดตอก เพราะถ้าทำการตอกต่อไป หัวเสาเข็มอาจเสียหายได้ เช่น ควรหยุดเมื่อผลการตอกเสาเข็มดังนี้
เสาเข็มคอนกรีต 6 – 8 ครั้ง / การจม 1 นิ้วระหว่างตอกเข็ม ต้องคอยแก้ทิศทางของเสาเข็ม ถ้าผิวหน้าไม่เรียบ เข็มอาจเปลี่ยนทิศทางได้ ถ้าระหว่างตอกเสาเข็มเปลี่ยนทิศทาง หรือตอกจมผิดปกติ เสาเข็มอาจจะหัก เสาเข็มต้นนั้นใช้ไม่ได้
การตอกเสาเข็มบริเวณดินเหนียว หรือดินตะกอน (Silt) คือดินพวกที่นํ้าหนีได้ช้า เมื่อเสาเข็มแทนที่ดินทำ ให้แรงดันของนํ้าในดิน (pore water pressure) เพิ่มขึ้น ทำ ให้มีกำ ลังดันเสาเข็มให้ลอยขึ้นมา หรือเรียกว่า เสาเข็มจะรับนํ้าหนักบรรทุกได้มากกว่าปกติในช่วงแรกของการตอก ไม่มีผลเท่าไรนัก ถ้าเข็มนั้นเราออกแบบให้รับนํ้าหนักแบบเสียดทาน แต่ถ้าเป็นเสาเข็มชนิดรับนํ้าหนักที่ปลายจะทรุดตัวเร็วในช่วงแรก และจะเป็นข้อผิดพลาดมากถ้าเราตอกเข็ม เพื่อทำ เป็นหมุดหลักฐาน ของการสำ รวจค่าระดับ เว้นแต่ได้ตอกเสาเข็มต้นใกล้เคียง เสร็จเรียบร้อยแล้ว การตอกเข็มในดินเหนียวบางชนิด ดินจะถูกรบกวนมาก ทำ ให้ดินรับนํ้าหนักได้น้อยลงอาจทิ้งไว้หลังจากตอกเสาเข้มเสร็จแล้ว หนึ่งถึงสองเดือนหรืออาจมากกว่า จึงทำ การก่อสร้างได้

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

เสาเข็มตอก กับ ลักษณะปัญหาที่เกิดกับ เสาเข็ม

Posted on January 2, 2020 by piledriver

2015-05-01-11-10-08_decoชนิดของเสาเข็ม (Types of Pile)  แบ่งชนิดของเสาเข็มตามระบบ CP 2004 : 1972 ที่แบ่งตามการเคลื่อนที่ของดินในระหว่างการติดตั้งเสาเข็ม มี 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. Very Large Displacement Pile เป็นชนิดของเสาเข็มที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของดินมากในระหว่างการติดตั้งเสาเข็ม เสาเข็มชนิดนี้ได้แก่
1.1 เสาเข็มหล่อในที่ (Driven and Cast n Place) โดยการตอกแบบลงไปในดินก่อนเทคอนกรีต
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 24-36 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 1,500 kn.
1.2 เสาเข็มตอก (Driven  precast concrete or Prestressed concrete pile) เป็นเสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 27 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 1,000 kn.
1.3 เสาเข็มไม้ (Timber Pile) เหมาะสมสำหรับสภาพดินที่อยู่ใต้ระดับน้ำใต้ดิน
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 20 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 600 kn.
2. Small Displacement Pile เป็นชนิดของเสาเข็มที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของดินเพียงเล็กน้อยในระหว่างการติดตั้ง เสาเข็มชนิดนี้ได้แก่
2.1 Rolled Steel Section Pile รูปหน้าตัดของเสาเข็มเป็น H-beam หรือ l-beam หรือ Pipe Pile
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 36 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 1,700 kn.
2.2 Screw Pile เหมาะสำหรับงานโครงสร้างชายทะเล เนื่องมาจากเป็นเสาเข็มที่รองรับได้ทั้ง Tension และ Compression
– ความยาวเสาเข็มประมาณ 24 เมตร
– ความสามารถในการรับน้ำหนักมากสุดประมาณ 2,500 kn.
3. No Displacement Pile เป็นเสาเข็มชนิดที่ไม่เกิดการเคลื่อนตัวของดินในระหว่างการติดตั้งเสาเข็มชนิดนี้ได้แก่ เสาเข็มเจาะ (Bored and Cast in Place Pile)
– เสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process) เหมาะกับสภาพดินที่ไม่มีน้ำ ความลึกประมาณชั้นทรายชั้นแรกหรือประมาณ 21-24 เมตร
– เสาเข็มเจาะระบบเปียก (Wet Process) เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกมาก

สาเหตุทั่วไปของปัญหาที่เกิดกับเสาเข็ม
1. การออกแบบไม่ถูกต้อง
2. การขนส่ง
3. การตอกเสาเข็ม
4. การควบคุมคุณภาพการผลิตและอายุของเสาเข็มไม่ได้ตามที่กำหนด
5. ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเสียขณะตอกเสาเข็มยังไม่เสร็จ

ลักษณะของปัญหาที่เกิดกับเสาเข็มตอก

– เสาเข็มที่จะนำมาใช้งานจะต้องมีคุณภาพและวิธีการทำงานถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดในแบบรูปรายการและสัญญาจ้าง หรือตามมาตรฐาน วสท. อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าผู้ควบคุมงานจะปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดแล้วมักจะมีปัญหาในการทำงานที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น

1. เสาเข็มแตกร้าว, หัวเสาเข็มแตกหรือหัวเสาเข็มบิ่น, เสาเข็มหัก
เสาเข็มแตกร้าว
1. สาเหตุ  คุณภาพคอนกรีตของเสาเข็ม
การป้องกันและแก้ไข  ตรวจสอบคุณภาพและอายุของคอนกรีต

2. สาเหตุ ความเค้นตามแนวแกน (Tensile Stress) มากเกินไปเนื่องจากการตอกเข็มที่มีขนาดยาวผ่านชั้นดินอ่อนหรือกรณีตอกไปยังชั้นดินแข็งมาก ๆ หรือหิน
การป้องกันและแก้ไข ลดระยะยกของตุ้มลง เพิ่มไม้เนื้ออ่อนเป็นวัสดุรองรับ (Cushion Material) ระหว่างหมวกเหล็กกับเสาเข็มและควบคุม Tensile Stress

3. สาเหตุ ความเค้นตามแนวแกนรวมกับแรงตึง (Tensile Stress and Tension Stress) อันเนื่องมาจากการจำกัดการเคลื่อนไหวระหว่างปั้นจั่นกับเสาเข็มหรือช่องว่างระหว่างหมวกกับตัวเสาเข็มแน่นและคับมาก
การป้องกันและแก้ไข ปรับเสาเข็มให้สามารถเคลื่อนตัวได้ขณะทำการตอกเสาเข็ม

หัวเสาเข็มแตกหรือบิ่น
1. สาเหตุ แรงอัด (Over Compressive Stress) จากแรงกระแทกของปั้นจั่นที่มากเกินไปหรือวัสดุรองรับหัวเสาเข็ม (Pile Cushion) ไม่เพียงพอ
การป้องกันและแก้ไข
– ตรวจสอบ
– การใช้น้ำหนัก, ขนาดของตุ้มและปั้นจั่นให้เหมาะสมกับน้ำหนักเสาเข็ม
– ควบคุมระยะยก (ใช้ตุ้มขนาดใหญ่ยกเตี้ย ๆ ดีกว่าตุ้มเล็กยกสูง)
– เพิ่มวัสดุรองรับหัวเสาเข็ม (Pile Cushion) ให้หนาขึ้น

2. สาเหตุ แรงตัด (Bending Stress) อันเนื่องมาจากพื้นที่หน้าตัดหัวเข็มไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตั้งฉาก แรงกระแทกจากปั้นจั่นจะไปยังจุดใดจุดหนึ่งของหัวเสาเข็มแทนที่จะทั่วทั้งพื้นที่ของหัวเสาเข็ม
การป้องกันและแก้ไข  จัดระนาบให้ตั้งฉากกับหน้าปั้นจั่นที่กระแทกลงมาที่หัวเสาเข็มอย่างเต็มระนาบ ตรวจดูแนวดิ่งเสาเข็มและปั้นจั่น (Alignment) และจุดกระทบของลูกตุ้ม (Drop Hammer)

3. สาเหตุ เหล็กเสริมรับแรงอัด (Prestressing Steel) ไม่ไปสุดที่ปลายเสาเข็มทำให้เกิดแรงเค้น (Stress) มากเกินไปที่บริเวณหัวเสาเข็ม
การป้องกันและแก้ไข  ควบคุมการผลิต

4. สาเหตุ  มีเหล็กเสริมปลอกเกลียว (spiral reinforcement) ไม่พอ
การป้องกันและแก้ไข เพิ่มเหล็กเสริมปลอกเกลียว (spiral) ส่วนที่ยังขาดโดยเฉพาะส่วนหัวของเสาเข็ม

เสาเข็มหัก
ข้อสังเกต
– ค่า Blow Count ลดลงอย่างกระทันหันและอย่างมากในทันที และไม่สูงขึ้นอีก หรือสูงขึ้นช้ามากหรือเสาเข็มเอียงผิดปกติมาก
1. สาเหตุ  แรงอัด (Over Compressive Stress) จากแรงกระแทกของปั้นจั่นที่มากเกินไป หรือวัสดุรองหัวเสาเข็ม (Pile Cushion) ไม่เพียงพอ
การป้องกันและแก้ไข ควบคุมการตอก โดยการตรวจสอบระยะยกของลูกตุ้ม ตรวจสอบดิ่งของเสาเข็ม และค่า Blow Count ขณะตอก
2. สาเหตุ  แรงอัด (Over Compressive Stress) จากการสั่นไหวของเสาเข็ม (Wave up/Wave down) ในการตอกเสาเข็มขนาดยาวผ่านชั้นดินอ่อน
การป้องกันและแก้ไข
– ควบคุมการตอกเสาเข็มในเข็มท่อนแรกที่ผ่านชั้นดินอ่อนให้ควบคุมระยะตอก (ยกตุ้มเตี้ย ๆ)
– ตรวจวัดแรงเค้นตามแนวแกน (Tensile Stress)
3. สาเหตุ  รอยเชื่อม รอยต่อขณะทำการตอก
การป้องกันและแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพของการต่อเชื่อมตามมาตรฐาน AWS (American Welding Society)

4. สาเหตุ  เสาเข็มหักที่ปลาย เนื่องมาจากการตอก เสาเข็มไปยังชั้นดินแข็งมาก ๆ หรือชั้นหิน
การป้องกันและแก้ไข  ใส่ครอบปลายเข็ม (pile Shoe)  หรือปลายเสาเข็ม (Pile Tip) หรือเพิ่มเหล็กเสริมตามปลายเสาเข็ม

2. เสาเข็มเอียง
สาเหตุ
1. แรงดันด้านข้างของดินอ่อนจากการขุดเพื่อเปิดหน้าดิน
2. รอยเชื่อมต่อระหว่างเข็ม 2 ท่อนเปิดออก
3. ตอกเสาเข็มบนดินถมบริเวณลาดดินถม (Embankment) ที่เพิ่งถม เช่น งานสะพาน ทำให้เกิดการบีบอัดของดินในภายหลัง (Lateral Squeeze) ทำให้เข็มเอียง
การป้องกันและแก้ไข
1. ระมัดระวังในการก่อสร้างที่มีน้ำหนักบรรทุกสมทบบนผิวดิน (Surcharge) ที่มีผลต่อเสาเข็มที่ตอกไปแล้ว
2. ตรวจสอบหาความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Pile Integrity) เพื่อหาสภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
3. รอดินถมให้เกิดการทรุดตัวคงที่ (Settlement) จนถึง 90% ของการยุบตัว (Consolidation) ก่อนการตอกเสาเข็ม

3. เสาเข็มหนีศูนย์
วสท.กล่าวถึงในภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้างหมวด 1 -เสาเข็ม โดยกำหนดดังนี้
– ให้เสาเข็มตอกผุดจากตำแหน่งที่กำหนดไม่เกิน 5 ซม.
– ระยะมากที่สุดที่ปลายเสาเข็มจะผิดจากสันดิ่งจากหัวเสาเข็มต้องไม่เกิน 0.1 % ของความยาวของเสาเข็ม
สาเหตุ
1. เนื่องจาก Pile Alignment กับแนวของปั้นจั่นขณะทำการตอกไม่ตรงกัน
2. ความผิดพลาดเนื่องจาก  Survey จาก Grid line
3. แรงดันดินด้านข้างของดินเนื่องจากมีการเคลื่อนตัวของเสาเข็มที่ตอก
4. แรงดันดินข้างซึ่งรับดินจากดินถมช่วงเปิดหน้าดิน
ผลกระทบ
1. เกิดโมเมนต์ที่ฐานราก
2. เสาเข็มรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจนเกินน้ำหนักปลอดภัย
การป้องกันและแก้ไข
1. ควบคุมคุณภาพการตอกเสาเข็ม
2. หาจุดอ้างอิง (Reference) หมุดหลักที่ถูกต้อง
3. จัดทำผังทางเดินปั้นจั่นและควบคุมการเคลื่อนที่ของดินไปในทิศทางเดียวกัน
4. หลีกเลี่ยง Surcharge บริเวณที่ตอกเข็ม
4. เสาเข็มไม่ได้ Blow Count
ข้อสังเกต
– อาจพบได้ในพื้นที่ที่ชั้นดินมีลักษณะเปลี่ยนแปลงมาก
สาเหตุ
1. ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด (Criteria) ที่ต่างกันส่วนใหญ่ที่มาจาก Dynamic Formula จากปั้นจั่นและอุปกรณ์ในการตอก ทำให้ได้ค่าการป้องกัน (Over Conservative) เช่น การใช้ Hiley Formula
2. ความผิดปกติของชั้นดินที่ไม่มี Soil Boring
3. เสาเข็มหัก
การป้องกันและแก้ไข
1. ใช้สมการในการวิเคราะห์การสั่นไหวของเสาเข็ม (Wave Equation Analysis of Pile) ในการวิเคราะห์หาจำนวนโดยอาจเปรียบเทียบกับสูตร Dynamic Formula หลาย ๆ สูตร
2. เจาะสำรวจดินบริเวณนั้น
3. ทดสอบโดยการหาความสมบูรณ์เสาเข็ม

5. เสาเข็มไม่ได้ Tip
สาเหตุ
1. ไม่มีข้อมูลการสำรวจโครงสร้างดิน (Structure Subsurface Investigation)
2. ความผิดพลาดจากวิศวกรผู้ออกแบบ คุมงานที่ใช้ระดับชั้นทรายจากค่า Soil Boring เป็นเกณฑ์ในการหาระดับปลายเสาเข็ม (Tip Elevation) เข็มจะเสียหายเนื่องจากพยายามเข่นเสาเข็มให้ลงไปถึง Tip ที่ต้องการทำให้เกิด Overstress
การป้องกันและแก้ไข
1. เจาะสำรวจดินทำ Soil Boring
2. ออกแบบใหม่หรือวิเคราะห์โดยการใช้ค่า Blow Count ประกอบ หาก Blow Count ได้ก่อนถึง Tip ที่ต้องการให้หยุดแล้วใช้การทดสอบโดย Static หรือ Dynamic Load Test

6. เสาเข็มสั้นหรือยาวเกินไป
1.  สาเหตุ
1. ไม่มี Soil Boring
2. เสาเข็มยังไม่ได้ Blow Count
การป้องกันและแก้ไข
1. เจาะสำรวจดินทำ Soil Boring
2. ให้ต่อความยาวของเสาเข็มและหาน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มโดยใช้ Dynamic Load Test
ผลการเจาะสำรวจชั้นดิน – ชั้นดินที่ระดับความลึก 13.50 ม. เท่ากับ 47 Blows (Hard>32 Blows : over 40 T/m 2)

2. สาเหตุ
1. Over Compressive Stress จากการใช้ Dynamic Formula ในการคำนวณหาน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม
การป้องกันและแก้ไข
1. หากขัดแย้งกับ Soil Boring ให้ใช้การทดสอบโดย Static หรือ Dynamic Load Test

บทความ : www.postengineer.com

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ตรวจรับงาน, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สมอ. | Leave a comment |

ที่ดิน เมืองชลบุรี ไร่ละ 6ล้าน ทำเลดีถูกจริงถูกจัง

Posted on October 2, 2019 by piledriver

IMG_25620913_094746

 

ขายที่ดิน  ด่วน  ถูกมาก  ต่ำกว่าครึ่งของราคาซื้อขายกัน

 

ที่ดินใจกลางชลบุรี ทำเลดี ติดถนนบ้านสวน-หนองข้างคอก ต.บ้านสวนอ.เมืองชลบุรี  จำนวน

10ไร่ 63ตาราวา  ไร่ละ6ล้าน เท่านั้น

 

สนใจซื้อ สายตรงเลยค่ะโทร.081-8333141

 

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

งานออกแบบฐานราก โดยใช้เสาเข็ม

Posted on July 28, 2019 by piledriver

copy-of-new-image

ภาพจาก การดำเนินงานของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

new-image2

ภาพจาก การดำเนินงานของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

งานออกแบบฐานรากในงานที่ใช้เสาเข็ม ก็เพื่อใช้เสาเข็มในการรับนํ้าหนักของตัวอาคาร ซึ่งเสาเข็มจะทำการรับนํ้าหนักจากฐานรากก่อน แล้วจึงค่อยถ่ายให้ดิน จะต่างจากฐานรากแบบแผ่ ที่ดินรับนํ้าหนักจากฐากรากโดยตรง การออกแบบฐานรากที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เสาเข็ม เป็นเพราะดินที่อยู่ตื้นรับนํ้าหนักได้น้อย จึงต้องใช้เสาเข็มเป็นตัวช่วยถ่ายนํ้าหนักจากข้างบนลงไปยังดินชั้นล่างที่แข็งกว่า ความสามารถในการรับนํ้าหนักของเสาเข็มขึ้นอยู่กับความแข็งแรงตัวเสาเข็ม และความสามารถในการรับนํ้าหนักของดิน รอบตัวและปลายเสาเข็ม

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

งานเสาเข็มตอก ปัญหา/การแก้ไข

Posted on June 2, 2019 by piledriver

ปัญหาและแนวทางแก้ไขในงานตอกเสาเข็ม

1 กรณีที่ไม่สามารถขนส่งเสาเข็มเข้าหน่วยงานได้เนื่องจากถนนคับแคบ อาจแก้ปัญหาโดยการใช้
เสาเข็มหลายท่อน หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะแทน หรือใช้เสาเข็มหล่อในที่หน่วยงาน
2 ระยะทางดิ่งและ/หรือทางราบไม่เพียงพอในการตอกเสาเข็ม อาจต้องหมุนปั้นจั่นเอาตุ้มเข้าหาสิ่งกีดขวาง หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะแทน
3 ความสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม อาจแก้ปัญหาโดยใช้ปั้นจั่นระบบดีเซลหรือไอน้า(Diesel or Steam Hammer) แทน หรือขุดคูน้าตามแนวที่จะป้องกันการสั่นสะเทือน หรือใช้เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง (Spun Pile) หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะ นอกจากนี้วิศวกรผู้ควบคุม
งานต้องสังเกตสภาพอาคารข้างเคียงอย่างสม่ำเสมอ
4 ดินเคลื่อนตัวจากการตอกเสาเข็ม แบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ
– ดินเคลื่อนตัวจากการตอกเสาเข็มต้นหลังไปดันเสาเข็มที่ตอกก่อนจนเสียหาย อาจแก้ไขโดยวางแผนตอกเสาจากบริเวณดินแข็งไปหาดินอ่อน หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะ
– อาคารข้างเคียงเสียหายเนื่องจากดินเคลื่อนตัวจากการตอกเสาเข็ม อาจแก้ไขโดยการวางแผนการตอกเสาเข็มไล่จากด้านที่อยู่ใกล้อาคารข้างเคียงออกไป หรือเปลี่ยนเสาเข็มเป็น
เสาเข็มที่แทนที่ดินน้อยกว่าเพื่อลดการแทนที่ของเสาเข็มในดิน หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะ
5 เสาเข็มหนีศูนย์ ปัญหานี้สามารถป้องกันได้โดยเอาใจใส่ในขั้นตอนของการตรวจสอบแนวดิ่งของเสาเข็มและปั้นจั่นก่อนตอก ในกรณีที่พบปัญหานี้หลังจากตอกแล้วอาจทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม หากเสาเข็มไม่สามารถรับ้ำหนักได้ตามที่ออกแบบ ต้องตอกเสาเข็มแซมและออกแบบครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cap) ใหม่
6 เสาเข็มหัก ปัญหานี้สามารถป้องกันได้โดยเอาใจใส่ในขั้นตอนของการตรวจสอบแนวดิ่งของเสาเข็มและปั้นจั่นก่อนตอก เลือกปลายเสาเข็มให้เหมาะสมกับสภาพดิน ใช้ลูกตุ้มที่ไม่
ใหญ่เกิน และไม่เข่นเสาเข็มระหว่างตอก หากพบว่าเสาเข็มหัก ต้องตอกเสาเข็มแซมและออกแบบครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cap) ใหม่
7 ตอกเสาเข็มจนจมลงในดินจนหมดความยาวแล้วยังไม่ได้จำนวนนับ (Blow Count) ตามกำหนด ปัญหานี้ป้องกันได้หากมีการเจาะสารวจชั้นดินที่มีคุณภาพ ในทางปฏิบัติ มัก
พยายามตอกต่อไปโดยใช้เหล็กส่งหัวเสาเข็มให้จมลงไปในดินซึ่งบางครั้งก็ทำให้ได้จำนวนนับที่ต้องการ แต่ไม่ควรส่งลึกเกินไปเพราะจะมีปัญหาในการขุดดินลงไปทาครอบหัวเข็ม
หากพบปัญหานี้ควรเจาะสารวจชั้นดินใหม่เพื่อทราบว่าความยาวเสาเข็มที่แท้จริงเป็นเท่าไร

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: blow count, thai pile driver, การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

ยู-ด้า ปั้นจั่น ตอกเสาเข็มชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา

Posted on February 15, 2019 by piledriver

งานตอกเสาเข็ม เราคือมืออาชีพ

-ประสบการณ์มากกว่า 20ปี

-มีผลงานมากมายเป็นประกัน

งานเล็ก งานใหญ่ งานตอกเสาเข็มต้นเดียวเราก็ไป วางใจมืออาชีพ ในราคาย่อมเยา

ยู – ด้า ปั้นจั่น

โทร.08-1833-3141, 08-1996-9040

ยู-ด้า ปั้นจั่น

 

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ยู ด้า ปั้นจั่น ชลบุรี

Posted on February 15, 2019 by piledriver

ต้องการตอกเสาเข็ม ซื้อเสาเข็ม ช่างตอกเสาเข็ม ชลบุรี เรียกใช้ ยูด้า-ปั้นจั่น บริษัทรับตอกเสาเข็ม รับจ้างตอกเสาเข็ม รับเหมางานตอกเสาเข็ม ชลบุรี ตอกเสาเข็มด้วยปั้นจั่น รถปั้นจั่นแบบล้อยางและตีนตะขาบ ผู้ให้บริการงานรับเหมาตอกเสาเข็ม ทั้งรับเหมาตรงกับเจ้าของโครงการ และรับเหมาช่วงจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ด้วยทีมงานมืออาชีพ มีความชำนาญงานตอกเสาเข็ม สร้างผลงานให้กับลูกค้าได้รับความพึงพอใจ เรียกใช้บริการอย่างต่อเนื่องเสมอมา เรียกได้ว่า ผลงานดี ราคาก็ตรงใจ ต้องการการทราบการทำงานของรถตอกเสาเข็ม หรือปั้นจั่นรถ ค่าแรงตอกเสาเข็ม ค่าจ้างตอกเสาเข็ม ชลบุรี โทร 081-833-3141, 081-996-9040

ตอกเสาเข็ม ชลบุรีon

 

Posted in Uncategorized | Tags: ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |
Next Page »

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver