• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Tag Archives: รถตอกเสาเข็ม

การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม

Posted on October 12, 2020 by piledriver

โปรแกรมคำนวณการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
Hiley ‘ s Formula วิศวกร : เอกพล ฉิ้มพงษ์ สย.6751
Pile Type : I 0.18×0.18×18.00 โครงการ :
สูตร : Qu = [(WHZ)/(S+C/2)] x [(W+Pr^2)/(W+P) Factor of safety(F.S.) = 3
นน.ลูกตู้ม (W) = 4 Ton, นน.เสาเข็ม( P ) = 1.1 Ton, Equipment Loss Factor (Z) = 0.8
Temporary(C) = 1.1 , Coff. of resitution( r ) = 0.25
(S) ระยะยก ระยะยก ระยะยก ระยะยก
ระยะทรุดตัว 30 40 60 80
ซม. / ครั้ง Qu Qa Qu Qa Qu Qa Qu Qa
5.00 โปรแกรมคำนวณการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
Hiley ‘ s Formula วิศวกร : เอกพล ฉิ้มพงษ์ สย.6751
Pile Type : I 0.18×0.18×18.00 โครงการ :
สูตร : Qu = [(WHZ)/(S+C/2)] x [(W+Pr^2)/(W+P) Factor of safety(F.S.) = 3
นน.ลูกตู้ม (W) = 4 Ton, นน.เสาเข็ม( P ) = 1.1 Ton, Equipment Loss Factor (Z) = 0.8
Temporary(C) = 1.1 , Coff. of resitution( r ) = 0.25
(S) ระยะยก ระยะยก ระยะยก ระยะยก
ระยะทรุดตัว 30 40 60 80

ซม/ครั้ง Qu . Qa . QU . Qa . Qu . Qa . Qu . Qa
5.00 13.80 4.60 18.40 6.13 27.60 9.20 36.80 12.27

4.00 16.83 5.61 22.44 7.48 33.67 11.22 44.89 14.96

3.00 21.57 7.19 28.77 9.59 43.15 14.38 57.53 19.18

2.50 25.11 8.37 33.48 11.16 50.22 16.74 66.96 22.32

2.00 30.03 10.01 40.05 13.35 60.07 20.02 80.09 26.70

1.80 32.59 10.86 43.45 14.48 65.18 21.73 86.91 28.97

1.60 35.62 11.87 47.50 15.83 71.24 23.75 94.99 31.66

1.40 39.28 13.09 52.37 17.46 78.55 26.18 104.74 34.91

1.20 43.76 14.59 58.35 19.45 87.53 29.18 116.71 38.90

1.00 49.41 16.47 65.88 21.96 98.82 32.94 131.76 43.92

0.90 52.82 17.61 70.43 23.48 105.64 35.21 140.85 46.95

0.80 56.73 18.91 75.64 25.21 113.46 37.82 151.29 50.43

0.70 61.27 20.42 81.69 27.23 122.54 40.85 163.39 54.46

0.60 66.60 22.20 88.80 29.60 133.20 44.40 177.60 59.20

0.50 72.94 24.31 97.25 32.42 145.88 48.63 194.51 64.84

0.40 80.62 26.87 107.49 35.83 161.24 53.75 214.98 71.66

0.30 90.10 30.03 120.14 40.05 180.21 60.07 240.28 80.09

0.20 102.12 34.04 136.16 45.39 204.24 68.08 272.31 90.77

0.10 117.83 39.28 157.10 52.37 235.66 78.55 314.21 104.74

0.05 127.65 42.55 170.20 56.73 255.29 85.10 340.39 113.46

ตัวอย่างการอ่านค่าจากตาราง Qu = กำลังรับ นน. บรรทุกประลัยของเสาเข็ม ( ตัน )
เมื่อใช้ลูกตู้มหนัก 4 ตัน Qa = กำลังรับ นน. บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม ( ตัน )
ระยะยกลูกตู้ม 30 ซม. , ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 1 ครั้ง เฉลี่ยจากการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (ซม.) = 0.80
เสาเข็มจะรับน้ำหนักบรรทุกประลัย = 56.73 ตัน , Factor of safety ( F.S.) = 3
เสาเข็มจะรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย = 18.91 ตัน

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

จัดวางตำแหน่งเสาเข็มตอก

Posted on January 30, 2020 by piledriver

dsc07011

dsc06416

dsc07004

ภาพจากการดำเนินงานของ ทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

การจัดตำแหน่งของเสาเข้มที่จะตอก

การจัดตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก ต้องให้อยู่ในตำแหน่งที่วิศวกรกำ หนด ให้ผิดพลาดได้ไม่เกิน 5-10 ซม. ถ้าตอกผิดมากกว่านี้ จะเกิดแรงหนีศูนย์ขึ้น และเสาเข็มจะรับแรงโมเมนต์ดัด จะเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นชนิดเข้มกลุ่มให้ตอกจากภายในมาสู่ภายนอก หรือถ้าตอกเข็มใกล้อาคารข้างเคียง ให้ตอกจากใกล้อาคารข้างเคียงก่อน แล้วค่อยตอกไล่ออกมาภายนอก เพราะปริมาตรดินที่เข็มแทนที่นั้น จะไปดันเข็มเดิม หรือเข็มที่ตอก ก็มีความสำคัญมาก การตอกเข็มต้องใช้หมอนรองรับ เช่น อาจใช้กระสอบหรือไม้ เพื่อลดแรงกระแทกจากลูกตุ้ม เมื่อตอกได้ความต้านทานที่ต้องการแล้ว ให้หยุดตอก เพราะถ้าทำการตอกต่อไป หัวเสาเข็มอาจเสียหายได้ เช่น ควรหยุดเมื่อผลการตอกเสาเข็มดังนี้
เสาเข็มคอนกรีต 6 – 8 ครั้ง / การจม 1 นิ้วระหว่างตอกเข็ม ต้องคอยแก้ทิศทางของเสาเข็ม ถ้าผิวหน้าไม่เรียบ เข็มอาจเปลี่ยนทิศทางได้ ถ้าระหว่างตอกเสาเข็มเปลี่ยนทิศทาง หรือตอกจมผิดปกติ เสาเข็มอาจจะหัก เสาเข็มต้นนั้นใช้ไม่ได้
การตอกเสาเข็มบริเวณดินเหนียว หรือดินตะกอน (Silt) คือดินพวกที่นํ้าหนีได้ช้า เมื่อเสาเข็มแทนที่ดินทำ ให้แรงดันของนํ้าในดิน (pore water pressure) เพิ่มขึ้น ทำ ให้มีกำ ลังดันเสาเข็มให้ลอยขึ้นมา หรือเรียกว่า เสาเข็มจะรับนํ้าหนักบรรทุกได้มากกว่าปกติในช่วงแรกของการตอก ไม่มีผลเท่าไรนัก ถ้าเข็มนั้นเราออกแบบให้รับนํ้าหนักแบบเสียดทาน แต่ถ้าเป็นเสาเข็มชนิดรับนํ้าหนักที่ปลายจะทรุดตัวเร็วในช่วงแรก และจะเป็นข้อผิดพลาดมากถ้าเราตอกเข็ม เพื่อทำ เป็นหมุดหลักฐาน ของการสำ รวจค่าระดับ เว้นแต่ได้ตอกเสาเข็มต้นใกล้เคียง เสร็จเรียบร้อยแล้ว การตอกเข็มในดินเหนียวบางชนิด ดินจะถูกรบกวนมาก ทำ ให้ดินรับนํ้าหนักได้น้อยลงอาจทิ้งไว้หลังจากตอกเสาเข้มเสร็จแล้ว หนึ่งถึงสองเดือนหรืออาจมากกว่า จึงทำ การก่อสร้างได้

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

งานตอกเสาเข็ม บางละมุง ชลบุรี

Posted on June 15, 2019 by piledriver

งานตอกเสาเข็ม บางละมุง ชลบุรี ยูด้าปั้นจั่น

2015-05-01-11-10-08_deco

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ตอกเสาเข็ม, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

งานเสาเข็มตอก ปัญหา/การแก้ไข

Posted on June 2, 2019 by piledriver

ปัญหาและแนวทางแก้ไขในงานตอกเสาเข็ม

1 กรณีที่ไม่สามารถขนส่งเสาเข็มเข้าหน่วยงานได้เนื่องจากถนนคับแคบ อาจแก้ปัญหาโดยการใช้
เสาเข็มหลายท่อน หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะแทน หรือใช้เสาเข็มหล่อในที่หน่วยงาน
2 ระยะทางดิ่งและ/หรือทางราบไม่เพียงพอในการตอกเสาเข็ม อาจต้องหมุนปั้นจั่นเอาตุ้มเข้าหาสิ่งกีดขวาง หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะแทน
3 ความสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม อาจแก้ปัญหาโดยใช้ปั้นจั่นระบบดีเซลหรือไอน้า(Diesel or Steam Hammer) แทน หรือขุดคูน้าตามแนวที่จะป้องกันการสั่นสะเทือน หรือใช้เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง (Spun Pile) หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะ นอกจากนี้วิศวกรผู้ควบคุม
งานต้องสังเกตสภาพอาคารข้างเคียงอย่างสม่ำเสมอ
4 ดินเคลื่อนตัวจากการตอกเสาเข็ม แบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ
– ดินเคลื่อนตัวจากการตอกเสาเข็มต้นหลังไปดันเสาเข็มที่ตอกก่อนจนเสียหาย อาจแก้ไขโดยวางแผนตอกเสาจากบริเวณดินแข็งไปหาดินอ่อน หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะ
– อาคารข้างเคียงเสียหายเนื่องจากดินเคลื่อนตัวจากการตอกเสาเข็ม อาจแก้ไขโดยการวางแผนการตอกเสาเข็มไล่จากด้านที่อยู่ใกล้อาคารข้างเคียงออกไป หรือเปลี่ยนเสาเข็มเป็น
เสาเข็มที่แทนที่ดินน้อยกว่าเพื่อลดการแทนที่ของเสาเข็มในดิน หรือเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะ
5 เสาเข็มหนีศูนย์ ปัญหานี้สามารถป้องกันได้โดยเอาใจใส่ในขั้นตอนของการตรวจสอบแนวดิ่งของเสาเข็มและปั้นจั่นก่อนตอก ในกรณีที่พบปัญหานี้หลังจากตอกแล้วอาจทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม หากเสาเข็มไม่สามารถรับ้ำหนักได้ตามที่ออกแบบ ต้องตอกเสาเข็มแซมและออกแบบครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cap) ใหม่
6 เสาเข็มหัก ปัญหานี้สามารถป้องกันได้โดยเอาใจใส่ในขั้นตอนของการตรวจสอบแนวดิ่งของเสาเข็มและปั้นจั่นก่อนตอก เลือกปลายเสาเข็มให้เหมาะสมกับสภาพดิน ใช้ลูกตุ้มที่ไม่
ใหญ่เกิน และไม่เข่นเสาเข็มระหว่างตอก หากพบว่าเสาเข็มหัก ต้องตอกเสาเข็มแซมและออกแบบครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cap) ใหม่
7 ตอกเสาเข็มจนจมลงในดินจนหมดความยาวแล้วยังไม่ได้จำนวนนับ (Blow Count) ตามกำหนด ปัญหานี้ป้องกันได้หากมีการเจาะสารวจชั้นดินที่มีคุณภาพ ในทางปฏิบัติ มัก
พยายามตอกต่อไปโดยใช้เหล็กส่งหัวเสาเข็มให้จมลงไปในดินซึ่งบางครั้งก็ทำให้ได้จำนวนนับที่ต้องการ แต่ไม่ควรส่งลึกเกินไปเพราะจะมีปัญหาในการขุดดินลงไปทาครอบหัวเข็ม
หากพบปัญหานี้ควรเจาะสารวจชั้นดินใหม่เพื่อทราบว่าความยาวเสาเข็มที่แท้จริงเป็นเท่าไร

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: blow count, thai pile driver, การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

ตอกเสาเข็ม ราคาคิดกันอย่างไร

Posted on January 18, 2019 by piledriver

ภาพการดำเนินงาน ของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

dsc06320

ภาพการดำเนินงาน ของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น ฝ่ายปั้นจั่นสาน (ในช่วงฤดูฝน)

ภาพการดำเนินงาน ทีมงานยู-ด้า ปั้นจั่น (ช่วงฤดูฝน)

ภาพการดำเนินงาน ทีมงานยู-ด้า ปั้นจั่น ฝ่ายปั้นจั่นรถ (ช่วงฤดูฝน)

การคิดงาน ตอกเสาเข็ม

ใครที่อยากรู้ว่า เราสร้างบ้าน ต้อง ตอกเสาเข็ม ต้องเสียเงินเท่าไหร่ เขาคิดราคากันอย่างไร วันนี้ จะมาเล่าให้ฟัง ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา ในการคิดงาน ตอก เสาเข็ม มีดังนี้
1.ชนิดของเสาเข็ม เช่น
1.1 เสาเข็มเจาะ
1.2 เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา
1.3 เสาเข็ม คอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง
1.4 เสาเข็มไม้
2. มิติ ของเสาเข็ม (ขนาด + ความยาว)
3. จำนวน เสาเข็ม
4. สถานที่ก่อสร้าง เอื้ออำนวย ต่อการจัดเก็บอุปกรณ์หรือไม่ หากไม่เอื้อ จะต้องนำค่าใช้จ่ายในการขนย้ายอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมมาคิดด้วย
5. ค่าใช้จ่ายในการทดสอบการรับน้ำหนักของ เสาเข็ม (ถ้ามี)
6. ค่าแรง ตอกเสาเข็ม พิจารณาจาก
6.1 ขนาด + ความยาว ของ เสาเข็ม
6.2 อุปกรณ์ในการ ตอกเสาเข็ม รวมถึง ค่าขนย้ายอุปกรณ์
6.3 ลักษณะการ ตอกเสาเข็ม ว่า เป็นกลุ่ม หรือ เดี่ยว

Posted in ความรู้ทั่วไป, รับตอกเสาเข็ม | Tags: ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, รับตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม | Leave a comment |

เสาเข็ม ตอก ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ

Posted on December 13, 2018 by piledriver
เสาเข็มตอก งาน ชลบุรี

เสาเข็มตอก งาน ชลบุรี

วางใจมืออาชีพ ในราคาย่อมเยา

ผลงานเป็นประกัน
ยูด้า ปั่นจั่น

โทร. 0818333141 ,0819969040

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

เสาเข็ม งานก่อสร้าง

Posted on August 5, 2017 by piledriver

เสาเข็มเปนวัสดุที่ใชแพรหลายมากที่สุดในการรับน้ำหนักของอาคาร โดยเสาเข็มจะรับน้ำ หนักจากฐานรากกอน แลวจึงคอยถายใหดิน ซึ่งจะตางจากฐานรากแบบแผ ที่ดินรับน้ำหนักจากฐากรากโดย ตรง การออกแบบฐานโดยใชเสาเข็ม ก็เพราะดินที่อยูตื้นรับนํน้ำหนักไดนอย จึงตองใชเสาเข็มเปนตัวชวยถาย น้ำหนักขางบนลงไปยังดินชั้นลางที่แข็งกวา ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มขึ้นอยูกับตัวเสาเข็ม เอง (วัสดุที่ใชในการทําเสาเข็ม) และความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน รอบตัวเสาเข็ม (Skin friction) และปลายเสาเข็ม (End Bearing)

วัตถุประสงคในการนําเสาเข็มไปใชงานกอสราง

1. เพื่อถายนํ้าหนักผานนํ้า หรือชั้นดินออนไปยังชั้นดินแข็งที่เหมาะสม ไดแก เสาเข็มรับนํ้า หนักที่ปลาย (End – Bearing – Piles)

2. เพื่อถายน้ำหนักลึกลงไปในชั้นดินออนดวย แรงเสียดทาน (Skin Friction) ตลอดความ ยาวของเสาเข็ม ไดแก เสาเข็มเสียดทาน (Friction Piles)

3. เพื่ออัดใหดินประเภท Granular soils ใหแนนตัวเพื่อเพิ่ม Bearing Capacity ของมันได แก Compaction piles
กรอนหนีไป

4. เพื่อขยายความลึกของฐานรากใหผานบริเวณที่จะเกิด Scouring ปองกันไวเผื่อดินจะสึก

5. เพื่อเปนสมอรั้งโครงสรางตาง ๆ ที่รับแรงถอน (uplift) เนื่องจากแรงดันของนํ้าหรือ Overturning Moment ไดแก Tension piles หรือ Uplift piles
piles

6. เพื่อเปนสมอตานแรงฉุดในแนวนอนจากกําแพงกันดิน หรือแรงฉุดอื่น ๆ ไดแก Anchor

7. เพื่อปองกันเขื่อนเทียบเรือ จากการกระแทกของเรือ หรือวัตถุลอยนํ้าอื่น ๆ ไดแก Fender piles และ Dolphins

8. เพื่อตานทานแรงในแนวราบหรือแรงในแนวเอียงที่มีคามากตาง ๆ ไดแก Batter piles

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ค่าตอกเสาเข็ม, งานหลังคา, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, มาตรา 21, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สมอ., สร้างบ้าน | Leave a comment |

เสาเข็มตอก งานฐานราก

Posted on June 13, 2017 by piledriver

โครงสร้างฐานราก Footing Building
ฐานรากของบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นคง และแข็งแรงแก่ตัวบ้านเป็นอันดับแรก ถ้าจะเปรียบเทียบกับต้นไม้ใหญ่ก็เปรียบเสมือนรากแก้วของต้นไม้เลยทีเดียว ต้นไม้ที่มีรากแก้วใหญ่และหยั่งรากลึกลงไปใน ดิน ยิ่งมากเท่าไหร่ก็ย่อมก่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง แก่ต้นไม้นั้นมากขึ้นเท่านั้น บ้านก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีฐานรากที่ไม่แข็งแรงนั่นเองผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสนใจหรือให้ความสำคัญกับเสาเข็มชนิดใด ขนาดใด เป็นจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาคำนวณ และกำหนดลงไป ซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้างที่จะดำเนินขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ซื้อบ้านหรือ ผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มิได้มีพื้นความรู้ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะเป็นภาระ ที่จะต้องมากังวลหรือสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ความคิดเช่นนี้จะว่าถูกหรือผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่ในการออกแบบหรือควบคุมการปลูกสร้างบ้านแต่ละหลัง บางครั้งก็มิใช่ ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ประสบการณ์และความชำนาญของผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง แต่ละรายด้วย การที่ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านบ้างก็ย่อมจะเป็นการได้เปรียบอย่างน้อยก็เพื่อเป็นข้อคิดหรือข้อสังเกต เมื่อพบสิ่งที่ผิดสังเกตหรือข้อสงสัยจะได้สามารถสอบถามเพื่อขอคำชี้แจงได้ ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านสามารถป้องกันหรือแก้ ปัญหาต่าง ๆ ได้ตั้งแต่แรก เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิต และการใช้งาน ได้แก่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete pile)
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพาณิชย์ และบ้านพักอาศัยทั่วไป เป็นเสาเข็มคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว และโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทก ลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และประหยัดค่าใช้จ่าย เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง สามารถแบ่งแยกย่อย ออกไปได้อีก ตามรูปร่างลักษณะของตัวเสาเข็ม ที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่1. เสาเข็มรูปตัวไอ2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง4. เสาเข็มรูปตัวทีชนิดของเสาเข็ม ส่วนขนาดและความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวงหรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่า หรือต้องการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานรากของรั้วเสาเข็มเจาะ (bored pile)เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้งาน กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะเสาเข็มเจาะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (small diameter bored pile)เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตรขึ้นไป (ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซ็นติเมตร) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นระบบแห้ง (dry process) ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (large diameter bored pile)เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป (ส่วนใหญ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซ็นติเมตร) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก (wet process) ซึ่งแตกต่างจากระบบแห้ง คือ จะต้องเพิ่มขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite slurry ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ หลุมที่มีความลึกมาก ๆ ถึงชั้นทราย หรือหลุมที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะและยึดประสานผิวดินในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมาการใช้เสาเข็มเจาะจะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง
เพราะไม่มีการตอกกระแทกของปั้นจั่นดังเช่นที่ใช้กับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะ นั้นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ใช้กันทั่วไปมีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น อีกทั้งความลึกของเสาเข็มเจาะก็สามารถเจาะได้ลึกกว่าความยาวของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ฉะนั้นเสาเข็มเจาะจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารสูงซึ่งต้องรับน้ำหนักมาก และอาคารที่สร้างใกล้ชิดกันเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งจะเป็น อันตรายต่ออาคารข้างเคียง ในทางปฏิบัติแล้ว ขั้นตอนในการทำเสาเข็มเจาะจะมีรายละเอียดที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่กล่าวไว้มาก ที่กล่าวมาข้างต้นก็แค่เพียวต้องการให้มองเห็นภาพ และขั้นตอนของการทำเสาเข็มเจาะเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น การปลูกบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เพราะมีขั้นตอนที่ง่ายและราคาถูกว่าเสาเข็มเจาะเสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (prestressed concrete spun pile)เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาเชนิด นี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด
เสาเข็มสปัน มีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-100 เซนติเมตร มีความหนา ของเนื้อคอนกรึตอยู่นช่วง 6-14 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 6-18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้ โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจาก เสาเข็มสปัน มีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้มีความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำ และลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสาซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่อ อาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง สูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรง และการเกิด แผ่นดินไหวข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเสาเข็มที่ใช้และกรรมวิธีในการตอกข้อสังเกตในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป1. เสาเข็มที่ใช้ควรอยู่ในสภาพที่ดีไม่มีการแตกหักหรือชำรุดมาก่อน ถ้าเป็นไปได้ควรได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ประทับอยู่ และมีการระบุถึงวัน/เดือน/ปี ที่ทำการผลิตว่าผลิตออกมาเมื่อใด ถ้าเป็นไปได้เสาเข็มที่ใช้ควรจะมีอายุการผลิต 4 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะ เสาเข็มที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่คอนกรีต ที่ใช้ทำเสาเข็มยังบ่มตัวไม่เข้าที่ ความแข็งแกร่งยัง มีน้อยอาจเกิดการชำรุดหรือแตกหักระหว่างการตอกได้2. เสาเข็มที่มีขนาดยาวอาจใช้เสาเข็มขนาดสั้น 2 ท่อนมาเชื่อมต่อกันได้เพื่อความสะดวกในการตอกหรือความสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเหมือนกัน กรรมวิธีในการตอกคือจะทำการตอกเสาท่อนแรกลงไปใน ดินจนเกือบมิดก่อนแล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาท่อนที่สองขึ้นมาจรดกับเสาท่อนแรกในแนวตรง แล้วทำการเชื่อมเหล็กที่ขอบเสาตรงรอยต่อให้ติดกัน การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาทั้ง 2 ท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ3. การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับ การจะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปใน ดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (blow count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็ม จมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดิน ที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้าม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัด และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ
ที่มา :www.pr-thai.com

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, คอนกรีต, งานเหล็ก, ตอกเสาเข็ม, รถตอกเสาเข็ม, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

เสาเข็มคอนกรีต T.0818333141

Posted on May 12, 2017 by piledriver

งานตอก เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง โดยผู้ชำนาญงานมากด้วยด้วยประสบการณ์
“วางใจมืออาชีพ ในราคาย่อมเยา”
โทร.081-8333241 , 081-9969040

2015-05-01-11-10-08_deco2015-05-01-11-09-03_deco

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ตอกเสาเข็ม, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

ตอกเสาเข็ม คำนวณดินที่ถม

Posted on January 8, 2017 by piledriver

มาตราวัดพื้นที่ไทย

1 ไร่ = 4 งาน

1 งาน = 100 ตารางวา

ดังนั้น 1 ไร่ = 400 ตารางวา

1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร = 2 เมตร x 2 เมตร

1 ตารางเมตร = 1 เมตร x 1 เมตร

ดังนั้น ที่ดิน 1 ไร่ จะเท่ากับ 1,600 ตารางเมตร

 

ตัวอย่าง (การคำนวณขนาดพื้นที่)

พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา

1 ไร่ = 4 งาน = 400 ตารางวา

2 งาน = 200 ตารางวา

1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา = 400 + 200 + 95 = 695 ตารางวา (หรือเท่ากับ 695 x 4 = 2,780 ตารางเมตร)

 

ตัวอย่าง (การคำนวณปริมาณดินที่ต้องใช้)

ถ้าต้องการถมดิน พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา ถมสูงจากดินเดิม 1.2 เมตร

จะใช้ดิน 2,780 x 1.2 เมตร = 3,336 คิว

นำจำนวนคิวที่ได้มา คูณกับราคาที่ตกลงไว้ ขึ้นอยู่กับการตกลง

 

ขั้นตอนเสนอราคา เรามีวิธีการตรวจสอบราคา ก่อนตัดสินใจดังนี้

หาข้อมูลกลับไปว่า ถ้าว่าจ้างแบบเป็นคิว หรือ เป็นคันรถ ราคาในการถมพร้อมบดอัด ตกคิวละเท่าไรเมื่อได้ราคาต่อคิวแล้ว เรามีวิธีการตรวจสอบปริมาณในการถมดินในที่ดินของเรา ดังนี้แปลงที่ดินของเรา จากตารางวา เป็นตารางเมตร โดยการ เอา 4 คูณจำนวนตารางวา เช่นที่ดิน 100 ตารางวา คูณ 4 จะได้ 400 ตารางเมตรถ้าถมสูง 1 เมตร เอาความสูง คูณ จำนวนตารางเมตร ในที่นี้ คือ เอา 1 x 400 = 400 คิว เผื่อบดอัดด้วยรถแทรกเตอร์ ประมาณ 20 % (80 คิว) ดังนั้นจำนวนดินที่จะใช้จริง คือ 480 คิวถ้าถมสูง 1.5 เมตร เอาความสูง คูณ จำนวนตารางเมตร ในที่นี้ คือ เอา 1.5 x 400 = 600 คิว เผื่อบดอัดด้วยรถแทรกเตอร์ ประมาณ 20 % (120 คิว) ดังนั้นจำนวนดินที่จะใช้จริง คือ 720 คิวดินที่เหมาะที่จะนำมาใช้ถม ควรจะ เป็นดินท้องนา ในกรณีที่ที่ดินที่จะถม มีบ่อ หรือหลุมลึก ควรใช้ทราย เพื่อป้องกันการทรุดตัว เพราะเนื้อทรายละเอียดกว่าระดับที่จะถมตกลงให้ชัดเจน โดยอาจจะทำเครื่องหมายไว้ที่ที่ดินของเรา ส่วนการบดอัดเป็นอย่างไร บดอัดแน่นแค่ไหนหลีกเลี่ยงการถมดินหน้าฝน เพราะช่วงหน้าฝนจะทำงานลำบาก และหาดินที่มาถมยาก

ที่มาแหล่งข้อมูล http://www.selectcon.com

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, รับตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |
Next Page »

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver