• About U-DA
  • งานเสาเข็มตอกปั้นจั่นสาน-ปั้นจั่นรถ
  • รายชื่อบริษัท จำหน่าย เสาเข็ม
  • ลงทุน ที่ดิน เพื่อทำกำไร
    • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ควบคุมอาคาร2544)
    • ความรู้เรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง
    • สำนักมาตราฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
    • เตรียม-หลักฐานขอเลขที่บ้าน

U-DA Mobile Pile Driver

Tag Archives: สร้างบ้าน

ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี

Posted on November 9, 2020 by piledriver
ภาพงานยู - ด้าปั้นจั่น

ภาพงานยู – ด้าปั้นจั่น

IMG_25621001_143748

IMG_25621001_143719

 

 

ก่อนตอกเข็ม

 


1. เช็ควันที่ผลิต (ถ้ามี)
2. ตรวจดูตรามอก.
3. ให้ดูว่ามีเข็มหักระหว่างขนส่งขนย้ายหรือไม่

หลังหัก
1. ตัดปลายเสาเข็มให้ได้ระดับใกล้เคียงกันประมาณ 15-20 ซม. จากการดูดซึมข้อเสนอ 2
2. ถอนขนผ่าน 5 ซม. ควรปรับระดับด้วยทรายขาวก่อน
3. ถ้ามีเหล็กเสริมอย่าหล่อด้วยเหล็กที่แข็งเกินไป

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: Add new tag, การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, งานหลังคา, งานเหล็ก, ตอกเสาเข็ม, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม

Posted on October 12, 2020 by piledriver

โปรแกรมคำนวณการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
Hiley ‘ s Formula วิศวกร : เอกพล ฉิ้มพงษ์ สย.6751
Pile Type : I 0.18×0.18×18.00 โครงการ :
สูตร : Qu = [(WHZ)/(S+C/2)] x [(W+Pr^2)/(W+P) Factor of safety(F.S.) = 3
นน.ลูกตู้ม (W) = 4 Ton, นน.เสาเข็ม( P ) = 1.1 Ton, Equipment Loss Factor (Z) = 0.8
Temporary(C) = 1.1 , Coff. of resitution( r ) = 0.25
(S) ระยะยก ระยะยก ระยะยก ระยะยก
ระยะทรุดตัว 30 40 60 80
ซม. / ครั้ง Qu Qa Qu Qa Qu Qa Qu Qa
5.00 โปรแกรมคำนวณการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
Hiley ‘ s Formula วิศวกร : เอกพล ฉิ้มพงษ์ สย.6751
Pile Type : I 0.18×0.18×18.00 โครงการ :
สูตร : Qu = [(WHZ)/(S+C/2)] x [(W+Pr^2)/(W+P) Factor of safety(F.S.) = 3
นน.ลูกตู้ม (W) = 4 Ton, นน.เสาเข็ม( P ) = 1.1 Ton, Equipment Loss Factor (Z) = 0.8
Temporary(C) = 1.1 , Coff. of resitution( r ) = 0.25
(S) ระยะยก ระยะยก ระยะยก ระยะยก
ระยะทรุดตัว 30 40 60 80

ซม/ครั้ง Qu . Qa . QU . Qa . Qu . Qa . Qu . Qa
5.00 13.80 4.60 18.40 6.13 27.60 9.20 36.80 12.27

4.00 16.83 5.61 22.44 7.48 33.67 11.22 44.89 14.96

3.00 21.57 7.19 28.77 9.59 43.15 14.38 57.53 19.18

2.50 25.11 8.37 33.48 11.16 50.22 16.74 66.96 22.32

2.00 30.03 10.01 40.05 13.35 60.07 20.02 80.09 26.70

1.80 32.59 10.86 43.45 14.48 65.18 21.73 86.91 28.97

1.60 35.62 11.87 47.50 15.83 71.24 23.75 94.99 31.66

1.40 39.28 13.09 52.37 17.46 78.55 26.18 104.74 34.91

1.20 43.76 14.59 58.35 19.45 87.53 29.18 116.71 38.90

1.00 49.41 16.47 65.88 21.96 98.82 32.94 131.76 43.92

0.90 52.82 17.61 70.43 23.48 105.64 35.21 140.85 46.95

0.80 56.73 18.91 75.64 25.21 113.46 37.82 151.29 50.43

0.70 61.27 20.42 81.69 27.23 122.54 40.85 163.39 54.46

0.60 66.60 22.20 88.80 29.60 133.20 44.40 177.60 59.20

0.50 72.94 24.31 97.25 32.42 145.88 48.63 194.51 64.84

0.40 80.62 26.87 107.49 35.83 161.24 53.75 214.98 71.66

0.30 90.10 30.03 120.14 40.05 180.21 60.07 240.28 80.09

0.20 102.12 34.04 136.16 45.39 204.24 68.08 272.31 90.77

0.10 117.83 39.28 157.10 52.37 235.66 78.55 314.21 104.74

0.05 127.65 42.55 170.20 56.73 255.29 85.10 340.39 113.46

ตัวอย่างการอ่านค่าจากตาราง Qu = กำลังรับ นน. บรรทุกประลัยของเสาเข็ม ( ตัน )
เมื่อใช้ลูกตู้มหนัก 4 ตัน Qa = กำลังรับ นน. บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม ( ตัน )
ระยะยกลูกตู้ม 30 ซม. , ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 1 ครั้ง เฉลี่ยจากการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (ซม.) = 0.80
เสาเข็มจะรับน้ำหนักบรรทุกประลัย = 56.73 ตัน , Factor of safety ( F.S.) = 3
เสาเข็มจะรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย = 18.91 ตัน

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน

Posted on October 12, 2020 by piledriver

ปัญหาสร้างบ้าน ช่วงหน้าฝน

1. ปัญหาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ในการทำงาน เมื่อฝนตกจะทำให้สภาพพื้นที่มีความยากลำบากในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
ความยากลำบากในการขนส่ง อาจเกิดปัญหารถติดหล่มและเกิดความล่าช้าขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นต้องประเมินสภาพพื้นดินอยู่ตลอดเวลา ว่าสามารถรับน้ำหนักรถบรรทุกได้หรือไม่ หากฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่ที่พื้นดินค่อนข้างอ่อนตัว
เรื่องความสรกปกของถนน เมื่อรถขนส่งวัสดุวิ่งเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้างที่เปียกแฉะ ก็จะทำให้มีเศษดินติดล้อรถเป็นจำนวนมาก เราจะต้องเตรียมพื้นที่และน้ำสำหรับฉีดทำความสะอาดเศษดินเหล่านั้นออกให้หมด เพื่อไม่ให้พื้นผิวสัญจรหน้าสถานที่ก่อสร้างสรกปกจนถูกร้องเรียนเอาได้
การอุดตันของระบบการระบายน้ำ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากเศษดินหรือเศษวัสดุในระหว่างการก่อสร้างไหลไปอุดตัน เราควรต้องป้องกันไม่ให้เศษวัสดุไหลลงไปอุดตันอยู่ในระบบท่อระบายน้ำ เพราะมีเศษวัสดุลงไปอุดตันอยู่เป็นจำนวนมาก อาจเกิดปัญหาในการระบายน้ำ

2. ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน
ปัญหาเรื่องไฟฟ้าในบริเวณก่อสร้าง ควรเลือกพื้นที่ในการติดตั้งคัตเอาท์หรือแผงสวิทซ์ไฟ ให้อยู่ในบริเวณที่ฝนสาดไม่ถึง รวมทั้งไม่ควรวางสายไฟติดกับพื้นดิน ควรตั้งเสาขึ้นมาเพื่อรองรับสายไฟ เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าเมื่อมีฝนฟ้าคะนอง ไม่ควรทำงานในที่โล่งแจ้งเพราะอาจเสี่ยงอันตรายจากการเกิดฟ้าผ่าขึ้นได้

3. ปัญหาเรื่องการจัดเก็บวัสดุ
สำหรับปูนซีเมนต์ ห้ามโดนน้ำหรือความชื้นโดยเด็ดขาด ควรทำโรงเรือนชั่วคราว หรือยกพื้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตรและหาวัสดุอย่างเช่น แผ่นพลาสติก หรือผ้าใบคลุมเอาไว้ หากปูนซีเมนต์โดนความชื้นจับตัวเป็นก้อนแข็ง ก็ไม่ควรนำมาใช้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้คอนกรีตที่ผสมจากปูนซีเมนต์ที่จับตัวเป็นก้อนแข็งแล้วนั้นไม่แข็งแรงเท่าที่คสำหรับเหล็กเส้น หรือเหล็กรูปพรรณ ก็ควรทำโรงเรือนชั่วคราว หรือยกพื้นสูงเพื่อจัดเก็บเช่นเดียวกันกับปูนซีเมนต์ เพราะหากเหล็กถูกความชื้นก็จะเกิดสนิม แต่เมื่อเกิดสนิมขึ้นแล้วหากต้องการนำเหล็กไปใช้งานควรขัดเอาเนื้อสนิมออกให้หมดไม่เช่นนั้นก็อาจจะทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสเป็นสนิมเพิ่มมากขึ้น
สำหรับหิน และทราย ถึงแม้ว่าสามารถโดนน้ำฝนได้แต่ต้องระวังหินหรือทรายเปื้อนดิน เพราะหากหินหรือทรายเปื้อนดินก็ไม่ควรนำไปใช้ในการผสมคอนกรีตเช่นกัน ควรหาพลาสติกปูรองพื้นให้กับหินหรือทรายเหล่านั้นตั้งแต่ตอนที่เริ่มมีการขนส่งเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้าง

4. ปัญหาเรื่องการก่อสร้างใต้ดิน
การก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับงานขุดดิน อย่างเช่นการทำฐานราก การทำถังเก็บน้ำใต้ดิน การขุดดินต้องขุดดินเผื่อให้กว้างขึ้นอีกด้านละประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อรองรับดินที่อาจสไลด์ลงมาในหลุมขุด หากหลุมมีความลึกมากกว่า 2 เมตรควรทำคันกั้นดินเพื่อป้องกันดินถล่ม นอกจากนี้ควรทำบ่อซับน้ำเพื่อช่วยรองรับน้ำจากหลุมขุด แล้วใช้เครื่องสูบน้ำช่วยระบายน้ำออกเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง
สำหรับงานเดินระบบท่อในระดับดิน หากอยู่ระหว่างการดำเนินการ ควรหาพลาสติก หรือฝาครอบปลายท่อเพื่อป้องกันเศษดินไหลเข้าไปภายในท่อ

5. ปัญหาเรื่องงานทาสี
งานทาสีเป็นอีกงานหนึ่งที่ควรต้องเอาใจใส่กันเป็นพิเศษ เพราะถึงแม้ว่าหากเราจะสามารถหาวันที่มีอากาศดีๆ ได้ในฤดูฝนได้ แต่การทาสีผนังอาคารควรต้องตรวจสอบสภาพของผนังอาคารว่าเปียกหรือมีความชื้นสะสมอยู่ภายในเนื้อวัสดุหรือไม่ เพราะอาจเกิดปัญหาสีโป่งพองและลอกล่อนได้จากความชื้นที่อยู่ในเนื้อวัสดุระเหยตัวออกมา

สำหรับงานเคลือบสีไม้ หรือเคลือบสีเหล็กก็เช่นเดียวกัน หากเป็นไม้ก็ต้องดูให้แน่ใจว่าเนื้อไม้แห้งสนิท หรือหากเป็นเหล็กก็ต้องตรวจและขัดสนิมออกให้หมด ถึงจะสามารถเริ่มลงมือทาสีได้

6. ปัญหาเรื่องราคาค่าก่อสร้าง
ปัญหาเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างที่อาจเพิ่มขึ้นได้จากการขาดแคลนวัสดุ เนื่องจากการผลิตวัสดุอาจทำได้ยากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การผลิตอิฐมอญ ที่จะทำได้ลำบากขึ้นเนื่องจากฝนตก และในบางครั้งก็เป็นผลพวงมาจากความยากลำบากในการขนส่ง
ปัญหาเรื่องค่าแรงในการก่อสร้างที่อาจสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการทำงานที่มีความยากลำบากขึ้น ดังนั้นการวางแผนล่วงหน้าในการพูดคุยและตกลงทำสัญญากับผู้รับเหมาถึงเรื่องการทำงานในช่วงหน้าฝนก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมองล่วงหน้าเอาไว้ อาจขอปรึกษาจากสถาปนิกหรือวิศวกรในเรื่องระยะเวลาเพื่อประเมินระยะเวลาของงานที่อาจเกิดความล่าช้า เพื่อจะได้เตรียมงบประมาณสำรองเผื่อไว้

——————————————————————————–
http://www.baanlaesuan.com

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การสร้าง, ขั้นตอน, คอนกรีต, ค่าอิฐ, งาน, งานเหล็ก, ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน, พื้น, รถดินเสา, สร้างบ้าน, เครื่องตอกเสาเข็มไทย, เพิ่มแท็กใหม่ | Leave a comment |

เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว

Posted on October 12, 2020 by piledriver

ภาพการปกครองตัวของอาคาร

อาคารที่เกิดการปกครองตัว

อาคารที่พักอาศัยที่มีการต่อเติมแล้วเกิดการทำงานของตัวเองมักจะมีสาเหตุมาจากการใช้เสาสัญญาณที่มีขนาดสั้นหรือยาวน้อยกว่าเสาของตัวอาคารซึ่งหากพบการทำงานไม่ควรควรปรึกษาวิศวะหรือผู้ ที่มีความรู้เพื่อให้ผู้ตรวจสอบและควรให้การวินิจฉัยโดยด่วน

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ก่อสร้าง, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ฐานราก เสาเข็ม

Posted on May 26, 2020 by piledriver

ขั้นตอนการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่งานฐานรากจนเสร็จสิ้น ล้วนต้องใช้ทักษะ ความรู้ความสามารถ เงินทุน การประสานของทุกฝ่าย จนได้เนื้องานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามข้อกำหนด มีดังนี้

งานเสาเข็มฐานราก
construction-step-that-standardized11

construction-step-that-standardized3

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปตัว I ขนาด 22 ยาว 18.00 เมตร (2 ท่อน)ต่อกันด้วยวิธีการเชื่อมด้วยไฟฟ้าโดยรอบ เพื่อให้ได้มาตรฐานความมั่นคงแข็งแรงในการสร้างบ้าน ป้องกันข้อผิดพลาดในระหว่างทำการตอกเสาเข็มและเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ในขณะทำการตอกเสาเข็ม บริเวณปลายเสาเข็มจะถูกแรงกระแทกจากน้ำหนักลูกตุ้มเหล็ก ทำให้เนื้อคอนกรีตเสาเข็มบริเวณดังกล่าวอาจจะเสียหาย

ข้อพึงปฏิบัติ
1. ควรตัดปลายเสาเข็มออกความยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตร เนื่องจากบริเวณปลายเสาเข็มได้รับความกระทบกระเทือนจากตุ้มเหล็กในขณะที่ทำการตอก จึงทำให้ปลายเสาเข็มบริเวณนั้นเสียกำลังในการรับน้ำหนัก

2. ทำการปรับระดับก้นหลุมด้วยทรายหยาบ และเทคอนกรีตหยาบรองพื้น(1 : 3 : 5) ความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อให้เทคอนกรีตฐานรากได้ระดับเสมอกัน และป้องกันมิให้น้ำปูนไหลออกจากแบบหล่อคอนกรีต
3. เมื่อตัดเสาเข็มแล้วควรโผล่ปลายเสาเข็มไว้ สูงกว่าระดับคอนกรีตหยาบรองพื้น ประมาณ 15 – 20 เซ็นติเมตร เพื่อให้เสาเข็มฝังเข้าไปในคอนกรีตฐานรากที่เท ทำให้ยึดเหนี่ยวกันมั่นคงยิ่งขึ้น
4. เหล็กเสริมควรมีระยะห่างจากแบบหล่อคอนกรีต หรือผิวคอนกรีตอย่างน้อย 5 เซนติเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้นจากใต้ดินกับเนื้อคอนกรีตที่เทหุ้มเหล็กเสริมไว้

พื้นอาคารทั่วไปใช้พื้นสำเร็จรูปชนิดท้องเรียบ รับน้ำหนักปลอดภัยได้ 200 กิโลกรัม / ตารางเมตร ซึ่งโดยปกติกฎหมายกำหนดไว้ 150 กิโลกรัม / ตารางเมตร ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้พื้นสำเร็จรูปชนิด 3 ขา ของบริษัทผู้ผลิตแผ่นพื้น PCM แทนการใช้แผ่นพื้นชนิดท้องเรียบ(แบบเดิม) ทั้งนี้เพราะจุดเด่นของแผ่นพื้นชนิด 3 ขา คือเมื่อติดตั้งแผ่นพื้นไม่ต้องทำการค้ำยันกลาง เนื่องจากแผ่นพื้นถูกออกแบบมาเป็นคานรับน้ำหนักในตัวอยู่แล้ว ทำให้แผ่นพื้นไม่แอ่นกลางขณะติดตั้งและเทคอนกรีตทับหน้า
construction-step-that-standardized22

construction-step-that-standardized31

ข้อพึงปฏิบัติ
1. พื้นสำเร็จรูปควรใช้ชนิด 3 ขา เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการแอ่นตัวของพื้น ขณะที่ทำการเทคอนกรีตทับหน้า
2. การค้ำยันถ้าความยาวแผ่นพื้นเกินกว่า 4.00 เมตร ควรมีค้ำยันชั่วคราวตามแนวกึ่งกลางของความยาวแผ่นพื้น
3. หลีกเลี่ยงการสกัดหลังคาน ค.ส.ล. เพื่อปรับระดับการวางแผ่นพื้น
4. การเทคอนกรีตทับหน้า(Topping) ให้ใช้ตระแกรงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ระยะห่าง 20 เซ็นติเมตร ความหนาคอนกรีตทับหน้า 4 เซ็นติเมตร หรือตะแกรง Wire Mesh ขนาด 4 มม. @ 20 เซนติเมตร ควรหลีกเลี่ยงการเทคอนกรีตทับหน้าหนากว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักของพื้นและโครงสร้างอาคาร
5. คอนกรีตพื้นชั้นล่างควรผสมน้ำยากันซึม เพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดินที่อาจส่งผลกระทบต่อวัสดุปูผิวพื้น เช่น กระเบื้อง ไม้ปาร์เกต์ เป็นต้น โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร

งานคอนกรีต

ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารมีความสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้บ้านที่สร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับ คอนกรีต ในงานโครงสร้างอาคาร โดยการเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานในงานโครงสร้าง เสา, คาน, และพื้น เพราะสามารถควบคุมคุณภาพและส่วนผสมของ ปูนซิเมนต์ หิน ทราย และน้ำ ตามมาตรฐานวิศวกรรม ทำให้ได้คุณภาพที่แน่นอน กว่าการใช้โม่ผสมเอง ไม่เกิดความเสียหายแก่คอนกรีตโครงสร้าง และทำให้บ้านมีอายุการใช้งานยาวนาน

นอกจากนี้ในส่วนของโครงสร้างคานชั้นหลังคานั้น วิศวกรของบริษัทฯ ได้กำหนดเป็นมาตรฐาน โดยให้คานโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเท่านั้น(ไม่ใช้เหล็กรูปพรรณ) ทั้งนี้เพื่อให้โครงสร้างของบ้านมั่นคงแข็งแรง มีความคงทนและมีอายุการใช้งานของอาคารที่ยาวนานขึ้น

ข้อพึงปฏิบัติ
1. การเทคอนกรีตโครงสร้างแต่ละประเภท ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องจนแล้วเสร็จในคราวเดียว ถ้าต้องมีการหยุดเทคอนกรีตให้หยุดเทคอนกรีตได้ตามตำแหน่งที่วิศวกรกำหนด เช่น เสา หยุดเทที่ระดับท้องคานที่เสารองรับและต้องเป็นแนวระดับ , คาน หยุดเทได้ที่กึ่งกลางคานและแนวที่หยุดต้อเป็นแนวดิ่ง ฯลฯ เป็นต้น
2. ขณะเทคอนกรีต ควรให้มีผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรอยู่ประจำระหว่างเทคอนกรีต เพื่อคอยควบคุมการเทคอนกรีตให้เป็นไปตามข้อกำหนด

ที่มา:http://www.planban.net/construction-management/66.html

Posted in Uncategorized, ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, คอนกรีต, งานเหล็ก, ตรวจรับงาน, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

จัดวางตำแหน่งเสาเข็มตอก

Posted on January 30, 2020 by piledriver

dsc07011

dsc06416

dsc07004

ภาพจากการดำเนินงานของ ทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

การจัดตำแหน่งของเสาเข้มที่จะตอก

การจัดตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก ต้องให้อยู่ในตำแหน่งที่วิศวกรกำ หนด ให้ผิดพลาดได้ไม่เกิน 5-10 ซม. ถ้าตอกผิดมากกว่านี้ จะเกิดแรงหนีศูนย์ขึ้น และเสาเข็มจะรับแรงโมเมนต์ดัด จะเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นชนิดเข้มกลุ่มให้ตอกจากภายในมาสู่ภายนอก หรือถ้าตอกเข็มใกล้อาคารข้างเคียง ให้ตอกจากใกล้อาคารข้างเคียงก่อน แล้วค่อยตอกไล่ออกมาภายนอก เพราะปริมาตรดินที่เข็มแทนที่นั้น จะไปดันเข็มเดิม หรือเข็มที่ตอก ก็มีความสำคัญมาก การตอกเข็มต้องใช้หมอนรองรับ เช่น อาจใช้กระสอบหรือไม้ เพื่อลดแรงกระแทกจากลูกตุ้ม เมื่อตอกได้ความต้านทานที่ต้องการแล้ว ให้หยุดตอก เพราะถ้าทำการตอกต่อไป หัวเสาเข็มอาจเสียหายได้ เช่น ควรหยุดเมื่อผลการตอกเสาเข็มดังนี้
เสาเข็มคอนกรีต 6 – 8 ครั้ง / การจม 1 นิ้วระหว่างตอกเข็ม ต้องคอยแก้ทิศทางของเสาเข็ม ถ้าผิวหน้าไม่เรียบ เข็มอาจเปลี่ยนทิศทางได้ ถ้าระหว่างตอกเสาเข็มเปลี่ยนทิศทาง หรือตอกจมผิดปกติ เสาเข็มอาจจะหัก เสาเข็มต้นนั้นใช้ไม่ได้
การตอกเสาเข็มบริเวณดินเหนียว หรือดินตะกอน (Silt) คือดินพวกที่นํ้าหนีได้ช้า เมื่อเสาเข็มแทนที่ดินทำ ให้แรงดันของนํ้าในดิน (pore water pressure) เพิ่มขึ้น ทำ ให้มีกำ ลังดันเสาเข็มให้ลอยขึ้นมา หรือเรียกว่า เสาเข็มจะรับนํ้าหนักบรรทุกได้มากกว่าปกติในช่วงแรกของการตอก ไม่มีผลเท่าไรนัก ถ้าเข็มนั้นเราออกแบบให้รับนํ้าหนักแบบเสียดทาน แต่ถ้าเป็นเสาเข็มชนิดรับนํ้าหนักที่ปลายจะทรุดตัวเร็วในช่วงแรก และจะเป็นข้อผิดพลาดมากถ้าเราตอกเข็ม เพื่อทำ เป็นหมุดหลักฐาน ของการสำ รวจค่าระดับ เว้นแต่ได้ตอกเสาเข็มต้นใกล้เคียง เสร็จเรียบร้อยแล้ว การตอกเข็มในดินเหนียวบางชนิด ดินจะถูกรบกวนมาก ทำ ให้ดินรับนํ้าหนักได้น้อยลงอาจทิ้งไว้หลังจากตอกเสาเข้มเสร็จแล้ว หนึ่งถึงสองเดือนหรืออาจมากกว่า จึงทำ การก่อสร้างได้

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รถตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

ที่ดิน เมืองชลบุรี ไร่ละ 6ล้าน ทำเลดีถูกจริงถูกจัง

Posted on October 2, 2019 by piledriver

IMG_25620913_094746

 

ขายที่ดิน  ด่วน  ถูกมาก  ต่ำกว่าครึ่งของราคาซื้อขายกัน

 

ที่ดินใจกลางชลบุรี ทำเลดี ติดถนนบ้านสวน-หนองข้างคอก ต.บ้านสวนอ.เมืองชลบุรี  จำนวน

10ไร่ 63ตาราวา  ไร่ละ6ล้าน เท่านั้น

 

สนใจซื้อ สายตรงเลยค่ะโทร.081-8333141

 

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, คอนกรีต, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

งานออกแบบฐานราก โดยใช้เสาเข็ม

Posted on July 28, 2019 by piledriver

copy-of-new-image

ภาพจาก การดำเนินงานของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

new-image2

ภาพจาก การดำเนินงานของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น

งานออกแบบฐานรากในงานที่ใช้เสาเข็ม ก็เพื่อใช้เสาเข็มในการรับนํ้าหนักของตัวอาคาร ซึ่งเสาเข็มจะทำการรับนํ้าหนักจากฐานรากก่อน แล้วจึงค่อยถ่ายให้ดิน จะต่างจากฐานรากแบบแผ่ ที่ดินรับนํ้าหนักจากฐากรากโดยตรง การออกแบบฐานรากที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เสาเข็ม เป็นเพราะดินที่อยู่ตื้นรับนํ้าหนักได้น้อย จึงต้องใช้เสาเข็มเป็นตัวช่วยถ่ายนํ้าหนักจากข้างบนลงไปยังดินชั้นล่างที่แข็งกว่า ความสามารถในการรับนํ้าหนักของเสาเข็มขึ้นอยู่กับความแข็งแรงตัวเสาเข็ม และความสามารถในการรับนํ้าหนักของดิน รอบตัวและปลายเสาเข็ม

Posted in ความรู้ทั่วไป | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ตรวจรับงาน, ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน, รับตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน, เสาเข็ม | Leave a comment |

ปลูกสร้างบ้าน – ฐานราก (เสาเข็ม)

Posted on July 25, 2019 by piledriver


dsc05122

ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
นัยว่า สุภาษิตคำพังเพยนี้ ยังคงใช้ได้ อยู่ทุกยุคสมัย ถ้าไม่เคยได้อยู่บ้าน ที่ถูกใจเรา มันก็เหมือนยังหา “บ้าน” ของเราไม่เจอ กับการที่จะมีบ้านของตัวเองสักหลัง มีหลายเรื่องทีเดียว ที่เราสมควรต้องพิจารณา
1. แบบบ้าน บ้านมีหลายแบบ หลายสไตล์ เจ้าของชอบแบบไหน ต้องเลือกให้ได้เสียก่อน ถ้า ยังเลือกแบบไม่ได้ เรื่องอื่นเป็นอันไม่ต้องพูดถึง ในส่วนนี้ คุณอาจจะต้องเกี่ยวข้องกับ วิศวกร และ สถาปนิก ในการออกแบบ
2. คนสร้างบ้าน ถ้าคุณเป็นช่าง ข้อนี้ก็ผ่านไป แต่ถ้าใครไม่ได้เป็นช่าง ข้อนี้นับว่าสำคัญทีเดียว เราจะพบเห็นหลายกรณีทีเดียว ที่เจ้าของบ้านทะเลาะกับช่างรับเหมา ถ้าได้ช่างดี นับว่า เป็นบุญ แสดงว่าชาติก่อน ทำบุญมาดี แต่ได้ช่างที่แย่ ก็ทำให้ปวดหัวได้เหมือนกัน เพราะบางบ้าน กว่าบ้านจะเสร็จ ต้องเปลี่ยนช่างไปเป็นโหล
3. ผ่านจากสองข้อด้านบน ก็จะเป็นการ ติดต่อกับหน่วยงานราชการ ที่เราต้องยื่นแบบเพื่อน ขออนุญาต สร้างบ้าน เมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว ก็ลงมือได้
4. เริ่ม งานฐานราก โดยปกติแล้วส่วนนี้จะทำก่อน โดยมี งานเสาเข็ม เป็นพระเอก โดยถ้าให้ลึกลงไปอีก เราก็จะแยกเสาเข็มได้เป็น 2 ชนิดคือ
4.1 เสาเข็มเจาะ
4.2 เสาเข็มตอก
โดยเราสามารถดูจากแบบบ้านของเรา ในข้อ 1 ว่า บ้านเราใช้แบบไหน สำหรับหน้าที่ของ เสาเข็ม คือ เป็นตัวกลาง การรับถ่ายน้ำหนัก จากโครงสร้างลงสู่ฐานราก โดยที่ต้องใช้การคำนวณโดยวิศวกร ว่า จะต้องใช้เสาเข็ม แบบไหน และการกระจายน้ำหนัก จะเป็นเช่นไร ในขั้นตอน การตอกเสาเข็มนี้ เราจะเห็นช่าง ทำงานกันหลายอย่างมาก โดยทั่วไปแล้ว จะมีลำดับในการทำงานคือ
dsc03530

1.วางหมุดเสาเข็ม ขั้นตอนนี้ ทำเพื่อ หาตำแหน่งของการตอก ซึ่งเราต้องทำการวางผังของอาคาร หรือ สิ่งก่อสร้างก่อนเป็นอันดับแรก เราจะเห็นช่าง ตอกไม้ วางผัง ตอกเฟรมกันวุ่นไปหมด ในตอนนี้

2.ตอก-เจาะ เสาเข็ม เมื่อหาตำแหน่ง ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว เราจะเห็นการทำงานของเครื่องตอกเสาเข็ม เช่น ปั้นจั่น รถตอกเสาเข็ม ช่วงนี้ อาจมีการสั่นสะเทือนไปยังบ้านข้าง ๆ ได้ บางราย บ้านข้างๆ ร้าว หรือ ทรุด ก็ต้องตามไปชดใช้ บางที ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลก็มี นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ดีเสียเลย ที่สร้างศัตรูตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าอยู่เสียแล้ว

3.ทดสอบการชำรุด ขั้นตอนนี้ หากคิดว่า ไม่จำเป็น ก็ให้ผ่านเลยไป แต่ถ้าไม่มั่นใจว่า บ้านที่เราต้องอยู่ไปตราบชั่วลูกชั่วหลาน จะอยู่ได้นานหรือไม่ ควรทดสอบว่า เสาเข็ม ที่ตอกลงไป มีการชำรุดหรือไม่ ทั้งนี้ต้องใช้ผู้ชำนาญเฉพาะด้าน มาทำการตรวจสอบ ซึ่งก็มีค่าใช้จ่าย

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ค่าตอกเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |

งานตอกเสาเข็ม บางละมุง ชลบุรี

Posted on June 15, 2019 by piledriver

งานตอกเสาเข็ม บางละมุง ชลบุรี ยูด้าปั้นจั่น

2015-05-01-11-10-08_deco

Posted in Uncategorized | Tags: การก่อสร้าง, ตอกเสาเข็ม, รถตอกเสาเข็ม, ราคาเสาเข็ม, สร้างบ้าน | Leave a comment |
Next Page »

Recent Posts

  • ปั่นจั่น ตอกเสาเข็ม ชลบุรี
  • การรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
  • ปัญหาสร้างบ้าน ฤดูฝน
  • เสาเข็ม อาคาร ทรุดตัว
  • ขาย รถปั้นจั่น ล้อยาง 12 ล้อ มือสองขายถูกเหมาตามสภาพ

Archives

  • November 2020
  • October 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • October 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • January 2018
  • September 2017
  • August 2017
  • July 2017
  • June 2017
  • May 2017
  • March 2017
  • January 2017
  • December 2016
  • November 2016
  • August 2016
  • June 2016
  • May 2016
  • April 2016
  • January 2016
  • November 2015
  • September 2015
  • August 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • July 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • February 2014
  • January 2014
  • December 2013
  • October 2013
  • August 2013
  • May 2013
  • April 2013
  • February 2013
  • January 2013
  • December 2012
  • November 2012
  • October 2012
  • September 2012
  • August 2012
  • July 2012
  • May 2012
  • April 2012
  • March 2012
  • February 2012
  • January 2012
  • December 2011
  • November 2011
  • October 2011
  • September 2011
  • July 2011
  • June 2011
  • May 2011
  • April 2011
  • January 2011
  • December 2010
  • November 2010
  • October 2010
  • September 2010
  • August 2010
  • July 2010
  • June 2010
  • March 2010
  • February 2010
  • October 2009
  • April 2009

Categories

  • Uncategorized
  • ความรู้ทั่วไป
  • ติดต่อ-สอบถาม
  • รับตอกเสาเข็ม
  • สอบถาม งานเสาเข็ม

Tags

Add new tag blow count concrete floor reinforced concrete thai pile driver การก่อสร้าง การสร้าง ก่อสร้าง ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขั้นตอน คอนกรีต ค่าตอกเสาเข็ม ค่าอิฐ งาน งานหลังคา งานเหล็ก ตรวจรับงาน ตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นรถปั้นจั่นสาน ปั้นจั่นรถ ปั้นจั่นสาน พื้น มอก. มาตรา 21 รถดินเสา รถตอกเสาเข็ม รับตอกเสาเข็ม ราคาเสาเข็ม สมอ. สร้างบ้าน เครื่องตอกเสาเข็มไทย เพิ่มแท็กใหม่ เสาเข็ม

CyberChimps WordPress Themes

© U-DA Mobile Pile Driver